สฟิงโกไมอีลิน

สร้างลูกสมองไวในขวบปีแรก ด้วยสฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารในนมแม่

Alternative Textaccount_circle
event
สฟิงโกไมอีลิน
สฟิงโกไมอีลิน

โลกที่หมุนเปลี่ยนไปเร็ว ยิ่งต้องพัฒนาสมองลูกให้มีศักยภาพ โดยเฉพาะในขวบปีแรกคือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดต้องส่งเสริมลูกให้มีการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ไว ซึ่งหน้าที่แม่อย่างเราต้องเตรียมความพร้อมลูกให้เร็ว ด้วยการเสริมสร้างโภชนาการสำคัญให้ลูกน้อย พร้อมเปิดทุกโอกาสการเรียนรู้ ที่จะช่วยเพิ่มพัฒนาการสมอง และศักยภาพการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ขวบปีแรกของชีวิต

เด็ก ๆ ที่ได้รับการดูแลมาเป็นอย่างดีตั้งแต่เริ่มต้นชีวิต จะทำให้มีช่วงขวบปีแรกที่สมบูรณ์พร้อมทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการสมองการเรียนรู้ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อไปในระยะยาวช่วยให้ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่เติบโตอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ

ในช่วงขวบปีแรกของลูกน้อย ถือเป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมอง และการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาทนับล้านโครงข่ายเป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้ลูกมีความสามารถในการเรียนรู้ จดจำ รวมทั้งทางด้านร่างกายก็จะมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกันค่ะ

ในทางการแพทย์จะสนับสนุนให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลให้ความสำคัญกับลูกน้อยกันตั้งแต่ 1000 วันแรกที่ถือเป็นช่วงเวลาทอง เป็นเวลาสำคัญในการพัฒนาสมองของลูกน้อย ด้วยการส่งเสริมให้ลูกได้ทานนมแม่กันตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเด็กที่ทานนมแม่ จะมีการสร้างปลอกไมอีลินในสมองที่เพิ่มขึ้น และมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับความสามารถในการเรียนรู้5

 

สฟิงโกไมอีลินในนมแม่

นมแม่ ช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการ และสมองไว

มหัศจรรย์น้ำนมแม่ คำนี้ไม่เกินจริงค่ะ นมแม่ถูกยกให้เป็นสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกแนะนำสนับสนุนให้คุณแม่ทุกคนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันตั้งแต่แรกคลอด ในน้ำนมแม่มีสารอาหารสำคัญกว่า 200 ชนิด อาทิเช่น ไขมัน น้ำตาลแลคโตส โปรตีน แคลเซียม วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น

นมแม่เป็นโภชนาการแรกที่ลูกควรได้รับตั้งแต่แรกเกิด เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ในการพัฒนาสมองและร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันกลุ่มฟอสโฟไลปิดที่ชื่อว่า “สฟิงโกไมอีลิน” ที่ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง ให้คิดเร็ว เรียนรู้ไว4

สฟิงโกไมอีลินสารอาหารในนมแม่

สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารในนมแม่ ช่วยให้ลูกสมองไว

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในอีกหลาย ๆ ครอบครัวอาจยังไม่รู้ว่าสารอาหารในนมแม่ที่เรียกว่า สฟิงโกไมอีลิน มีความสำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร ขออธิบายสั้น ๆ เพื่อให้เข้าใจกันได้ไม่ยากตามนี้ค่ะ  สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารอาหารสำคัญในการสร้างปลอกไมอีลินของวงจรประสาทในสมอง ซึ่งไมอีลินช่วยให้สมองสามารถส่งสัญญาณประสาทได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด สมองจึงสามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ จดจำ คิดวิเคราะห์ และการพัฒนาสมองอย่างรวดเร็วเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ไมอีลินยังมีบทบาทในการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาท (brain connectivity) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันของสมองที่รวดเร็ว ทั้งนี้นักวิจัยพบว่าแขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินห่อหุ้มจะส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าที่ไม่มีถึง 100 เท่า6

พอจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมเราจึงต้องดูแลเสริมสมองไวให้ลูกน้อยกัน โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรกของชีวิต เด็กที่มีพัฒนาการสมองการเรียนรู้ที่ดี เรียนรู้ได้ไว จะช่วยให้มีความคิดที่ก้าวกระโดด รู้จักคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ สามารถเติบโตเรียนรู้ก้าวได้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไม่ยากค่ะ

มีการศึกษาในกลุ่มเด็กที่ผ่าคลอด พบว่าพัฒนาการสมองของเด็กที่ผ่าคลอด ส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองซีกซ้าย และซีกขวา พบว่าเด็กผ่าคลอดมีการสร้างไมอีลินในสมองน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่อายุ 3 เดือนจนถึง 3 ปี3

ยิ่งรู้แบบนี้แล้วในคุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด แนะนำว่าให้ดูแลเสริมสมองไวให้กับลูกน้อยด้วยการให้ลูกได้ทานนมแม่กันนะคะ ในนมแม่จะมีสารอาหารอย่างสฟิงโกไมอีลีน จะช่วยสร้างไมอีลินในสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีนี้ไม่ว่าจะผ่าคลอดก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของลูกน้อยแล้วค่ะ

เพื่อให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการร่างกายเติบโตสมวัย มีพัฒนาการสมองการเรียนรู้ที่ไว และมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงกันอย่างต่อเนื่อง กับลูก ๆ วัย 1 ขวบขึ้นไป แนะนำให้กินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยอาหารที่มีสารสำคัญอย่างสฟิงโกไมอีลิน ที่พบได้ใน ไข่ ชีส และนม

 

 

 

อ้างอิง
3Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169–177.
4Chevalier et al. PLos ONE 2015.
5Deoni S, et al. Neuroimage. 2018 Sep;178: 649-659.
6Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up