ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้

Alternative Textaccount_circle
event

ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็ บริหารจัดการนมแม่ ได้ เมื่อถึงคราวคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หลายคนคงสงสัยว่าแล้วจะให้นมลูกต่อได้อย่างไรดีล่ะ เรามีเทคนิคแบบ Step-by-step บอกเล่าแต่ละขั้นตอนมาให้ได้เตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ เพื่อการให้นมแม่ จะได้ไม่ต้องสะดุดล้มกลางคัน

 

ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้

  1. เตรียมตัว หาข้อมูลเกี่ยวกับที่ทำงาน การลาคลอด คนดูแลลูก สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานที่บีบน้ำนม รวมไปถึงตู้เย็นในที่ทำงาน

2. เตรียมบริหารน้ำนม เมื่อลูกอายุครบ 6 สัปดาห์ ทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง ขอแนะนำให้คุณแม่ เวิร์คกิ้งมัม เริ่มเก็บสะสมน้ำนมไว้เลย เช่น หากลูกดูดนมข้างขวา ก็ให้บีบนมข้างซ้ายเก็บไว้พร้อมๆ กัน ไม่ก็หลังจากลูกดูดนมจนอิ่มแล้วให้บีบออกจนเกลี้ยงทั้งสองเต้า เพื่อเก็บไว้เป็นทุน จะได้ไม่ต้องมาเร่งเก็บเมื่อใกล้ถึงวันจะกลับไปทำงาน การทำแบบนั้นยิ่งไม่มีน้ำนมสะสมเอาไว้เลย ทีนี้ละความเครียดทบเท่าทวีคูณ

3. มองหาผู้ช่วย ลองตัดสินใจดูว่าจะให้ลูกเราอยู่กับใคร คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย พี่เลี้ยง หรือ จะฝากไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก เรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลาคิดอย่างรอบคอบว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง คนใกล้ตัวเราถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้าไม่มีต้องส่งให้คนอื่นดูแล ก็ต้องพิจารณากันให้ดี

4. ให้ความรู้แก่ผู้ช่วย บอกถึงเหตุผล และความสำคัญของการให้นมแม่อย่างละเอียด เน้นเรื่องความสะอาด ถูกสุขอนามัย รวมถึงฝึกฝนวิธีให้นมแม่ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ พยายามฝึกล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนคุณแม่ไปทำงาน โดยในระยะแรกคุณแม่ต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงค่อยๆ ถอนตัวออกมาให้คำแนะนำอยู่ห่างๆ อย่าลืมชื่นชมและให้กำลังใจผู้ช่วยคนเก่งของเราด้วยนะคะ เพราะชีวิตลูกเราฝากไว้ในมือพวกเขา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

5. วิธีการให้นมแม่โดยใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ

– แก้ว ให้ใช้แก้วยาใบเล็ก และเติมน้ำนมทีละน้อย โดยจัดท่านั่งของผู้ป้อนให้สบาย จับเด็กอยู่ในท่านั่งพิงตัวไว้กับอกของผู้ป้อน หรือ วางเด็กลงบนตัก ยกศีรษะให้สูงขึ้นนำปากแก้วไปแตะที่ริมฝีปากล่าง ปล่อยให้เด็กค่อยๆ ใช้ลิ้นไล้นมเข้าปากเอง อย่าใช้วิธีกระดกแก้วให้เด็กกลืน อาจเกิดการสำลักนมได้

– ช้อน ใช้ช้อนชา ตักน้ำนมแม่ทีละน้อย หรือใช้หลอดป้อนยา ค่อยๆ ฉีดเข้าตรงมุมปากอย่างเบามือ โดยระหว่างป้อนยกศีรษะเด็กทารกให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการสำลัก

– ขวดนม หาขวดและจุกนมที่เหมาะสมกับความชอบของเด็ก วิธีนี้ง่ายและสบาย แต่หากเลี่ยงได้ควรเลี่ยง เพราะอาจเกิดปัญหาในภายหลัง เด็กบางคนอาจสับสนระหว่างหัวนมแม่ กับจุกนมขวด บางคนถืงกับไม่อยากไปดูดนมจากอกแม่ก็มี จนเกิดอาการติดจุกนมไปจนโต ส่งผลให้เกิดฟันผุ และปัญหาในการเลิกนมขวดตามมา

ติดตาม ถึงเป็นเวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้ คลิกต่อหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up