ลูกติดเต้า

5 วิธีเด็ด! ลูกติดเต้า เรามีทางแก้

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกติดเต้า
ลูกติดเต้า

แก้ปัญหาลูกติดเต้า

ลูกติดเต้า เรามีทางแก้

คุณแม่ที่กำลังเครียดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดเต้าจนเกินไป โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน และใกล้หมดเวลาของวันลาคลอดแล้ว วันนี้เรามีทางออกดี ๆ ให้คุณแม่ฝึกลูกที่ติดเต้ามาก ๆ  ให้สามารถกินนมได้ทั้งจากเต้า และขวดไปพร้อม ๆ กันมาฝากค่ะ

  1. เริ่มฝึกขวดเมื่อถึงเวลา

มีคุณแม่บางคนใจร้อน และกลัวว่าลูกจะติดเต้า ไม่สามารถฝากฝังให้ใครอุ้มหรือดูแลได้เลย จึงตัดสินใจปั๊มนมใส่ขวดให้ลูกกินตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาล หรือบางคนก็ให้ลูกเริ่มดูดขวดตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรก ซึ่งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่หลายท่านให้ความเห็นว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะในระยะเดือนแรก เป็นช่วงที่คุณแม่ควรให้ลูกเข้าเต้าบ่อยที่สุด เพื่อกระตุ้นการเกิดน้ำนม ซึ่งถึงแม้จะใช้เครื่องปั๊มนมมาเป็นตัวช่วย ก็ไม่ได้ประสิทธิภาพดีเท่ากับการให้ลูกดูดเอง อีกทั้งเป็นช่วงเวลาที่แม่กับลูกควรสร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่นที่ดีต่อกัน ให้ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านจิตใจที่ลูกต้องออกมาเผชิญโลกภายนอก ส่วนระยะเวลาที่เหมาะสมที่คุณแม่จะฝึกลูกดูดนมจากขวด ควรอยู่ในช่วงอายุ 1-2 เดือน โดยฝึกทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง สลับกับการเข้าเต้า1 เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ลูกรู้จักทั้งการดูดเต้าและดูดขวดไปพร้อม ๆ กัน

  1. ลองป้อนด้วยวิธีอื่น

เด็กบางคนก็ปฏิเสธการดูดนมจากขวดเช่นกัน แม้จะเปลี่ยนเป็นขวดราคาแพง หรือจุกเสมือนหัวนมแม่หลายยี่ห้อแล้วก็ตาม หากคุณแม่ประสบปัญหานี้อย่าเพิ่งท้อใจนะคะ แพทย์ให้ความเห็นว่า ลูกคงไม่ชอบการดูดขวด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ไม่ต้องมาเลิกขวดอีกทีในภายหลัง แต่ให้คุณแม่เปลี่ยนมาฝึกให้ลูกจิบนมจากถ้วยหรือช้อน หรือหากเป็นเด็กที่โตหน่อยก็สามารถฝึกให้ดูดจากหลอดได้เลย สำหรับกรณีที่ลูกไม่ยอมกินนมสต็อกเพราะรสชาติไม่ดีเท่านมจากเต้า ให้คุณแม่ผสมนมเก่ากับนมใหม่ในปริมาณ 10:90 แล้วค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนไปเรื่อย ๆ2 ค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

  1. จุกนมก็มีส่วนสำคัญ

จะเห็นว่าในท้องตลาดมีจุกนมให้เลือกมากมาย ทั้งรูปแบบปกติ และแบบที่เสมือนนมแม่ สำหรับเด็กที่ติดเต้ามาก ๆ คุณแม่ลองพยายามหาจุกนมที่มีรูปร่างคล้ายลักษณะนมของคุณแม่มากที่สุด โดยเลือกจุกที่ทำจากยางธรรมชาติ เพราะจะนิ่มกว่าซิลิโคน และควรมีรูขนาดเล็ก พร้อมกับบิดฝาเกลียวขวดนมให้แน่น เพื่อให้ลูกออกแรงดูดมาก เป็นการสร้างความเคยชินเสมือนว่าลูกยังดูดนมจากเต้าอยู่ เพราะเด็กที่กินนมแม่จะคุ้นเคยกับการต้องออกแรงดูดเพื่อให้น้ำนมไหล ทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกติดขวด เพราะการได้ดูดขวด น้ำนมจะไหลง่าย และไหลแรงกว่าดูดเต้า ซึ่งอาจเป็นปัญหาให้ลูกไม่ยอมเข้าเต้าแม่อีกเลย

 

อ่านต่อ วิธีแก้ลูกติดเต้า คลิกหน้า 3

Summary
Review Date
Reviewed Item
ลูกติดเต้า
Author Rating
51star1star1star1star1star

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up