คุมกำเนิด ที่ดีที่สุด ไม่มีในโลก จึงมีทารกน้อยเกิดมาพร้อม “ที่คุมกำเนิด” โอกาสเกิดขึ้น เพียงแค่ 0.01%

event

คุมกำเนิด ที่ดีที่สุด

ข้อควรระวัง สำหรับคุณผู้หญิงที่สวมใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

  1. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในระยะเวลาที่กำหนดไว้: ผู้หญิงห้ามมีเพศสัมพันธ์ ก่อนสวมใส่ห่วงอนามัย 3 วัน และหลังสวมใส่ 2 สัปดาห์
  2. ถึงแม้จะใส่ห่วงอนามัยแล้ว ก็ต้องคอยให้แพทย์ตรวจตามเวลาที่กำหนด: ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสอบห่วงอนามัยอีกครั้งในเดือนที่ 1, 3, 6 แรกหลังจากที่ใส่ห่วงอนามัยแล้ว และหลังจากนั้นให้ตรวจสอบเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  3. หมั่นตรวจสอบว่าห่วงอนามัยได้หลุดออกหรือไม่: สำหรับบางคนที่มีเลือดออกมากในช่วงเป็นประจำเดือน อาจทำให้ห่วงอนามัยหลุดออกได้ หากเกิดการหลุดขึ้นมักมีอาหารปวดบวมตรงบริเวณท้องน้อย ดังนั้นในช่วงประจำเดือนควรหมั่นตรวจสอบอย่างละเอียดว่าห่วงอนามัยได้หลุดออกมาพร้อมกับเลือดประจำเดือนหรือไม่ ห่วงอนามัยที่หลุดแล้วสามารถนำกลับมาใส่ได้อีกครั้ง แต่ถ้าหลุดบ่อยเกินไปก็ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีคุมกำเนิดรูปแบบอื่นแทน
  4. ระมัดระวังเสมอว่าประจำเดือนมาตรงเวลาหรือไม่: ถ้าหากประจำเดือนไม่มาเป็นระยะเวลา 1-2 เดือน ก็อาจหมายความว่าตั้งครรภ์ ให้พบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อทำการตรวจสอบ
  5. หากพบว่าตั้งครรภ์ในช่วงใส่ห่วงอนามัย ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน: หากเกิดการตั้งครรภ์ในช่วงที่สวมใส่ห่วงอนามัย ควรพบแพทย์โดยด่วนที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของสุขภาพแม่ได้ดีที่สุด
-ขอบคุณข้อมูลจาก : newsupdate.sayhibeauty.com

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เพราะในบรรดาวิธีคุมกำเนิดที่โลกยอมรับ ไม่มีวิธีไหนปลอดภัย 100 % ซึ่งทุกวิธีก็ล้วนแล้วมีข้อดี ข้อด้อย และข้อควรระวัง แตกต่างกันออกไปการตัดสินใจว่าวิธีไหนดีที่สุดนั้น เพราะสุดท้ายแล้วในการคุมกำเนิดก็ต้องใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบรอบด้าน เพื่อเลือกวิธีการที่ยอมรับได้ร่วมกันของทั้งฝ่ายหญิงและชาย

ข้อพิจารณาว่าจะเลือกวิธีไหนดี มีหลายปัจจัย ตั้งแต่รูปแบบความสัมพันธ์ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความสะดวกในการซื้อหา สนนราคา ทุนทรัพย์ ตลอดจนผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เพราะบางวิธีก็ไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง บางวิธีใช้ได้เอง บางวิธีต้องไปหาหมอ จะเลือกแบบถาวร หรือกึ่งถาวรดี เป็นต้น ดังนั้น การตัดสินใจจึงเป็นเรื่องของการหาข้อมูลการคุมกำเนิดแต่ละแบบ เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกับเงื่อนไขในชีวิตของสองฝ่าย

ที่สำคัญยิ่งกว่าอีก คือ อย่าอาย ที่จะพูดคุยสื่อสารเรื่องนี้ ..ถึงอายก็ต้องอดทน พูดแล้วก็จะชินไปเอง บอกตัวเองว่านี่เป็นเรื่องจำเป็น อย่าปล่อยให้ความอายกลายเป็นอุปสรรคต่อสวัสดิภาพและความสุขในชีวิตทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า แล้ววิธีการคุมกำเนิดที่สามารถเลือกทำได้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันคะ

วิธีการคุมกำเนิดแบบต่างๆ

ยาเม็ดคุมกำเนิด

สำหรับคุณแม่ท่านใดที่ต้องการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก็ควรปรึกษาหรือสอบถามแพทย์ หรือทางเภสัชกรให้จัดยาที่ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือมีปริมาณฮอร์โมนดังกล่าวน้อยที่สุด เพราะฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้การสร้างน้ำนมลดน้อยลงนั่นเองค่ะ การกินยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ใช้กันมาก มีความปลอดภัยสูง มีภาวะแทรกซ้อนต่ำ หาซื้อง่าย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดี หากกินอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ มี 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 : โปรเจสเตอโรนอย่างเดียว (Exluton, Cerazette) เหมาะสำหรับการใช้ใน 6 เดือนแรก เพราะไม่มีฤทธิ์กดการหลั่งน้ำนม และไม่ทำให้คุณภาพของน้ำนมเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งนี้คุณแม่จะต้องให้นมลูกเต็มที่ด้วย

ข้อพึงระวัง ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว ทำให้เชื้ออสุจิว่ายเข้าไปในโพรงมดลูกไม่ได้ ไม่กดการตกไข่ จึงต้องกินยาทุกวันและตรงเวลา หากผิดเวลาเกิน 3 ชั่วโมง จะต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยจึงได้ผล

แบบที่ 2 : ฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจน+โปรเจสเตอโรน) ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ควรเริ่มกินเมื่อน้ำนมแม่สร้างเต็มที่แล้ว คือ หลังคลอด 6 สัปดาห์ แต่บางรายพบว่า การสร้างน้ำนมลดลง หากมีอาการเช่นนี้ควรหยุดใช้ยาทันที และปรึกษาคุณหมอเพื่อเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด จึงแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้หลังคลอด 6 เดือนไปแล้ว

ข้อพึงระวัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เลือดออกกะปริบกะปรอย คุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น ไมเกรน โรคตับ เนื้องอกของเต้านม เนื้องอกของระบบสืบพันธุ์ ก็ไม่ควรกินยาคุม เพราะฮอร์โมนจากยาอาจทำให้เนื้องอกโตขึ้นได้

สิ่งสำคัญคือ หากคุณแม่ที่กินยาคุมอาจมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ ซึ่งมักเกิดจากลืมกินยาบ้าง กิน ๆ หยุด ๆ บ้าง กินไม่ตรงเวลาบ้าง

♥ Must read : คุมกำเนิดหลังคลอด ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ให้นม

อ่านต่อ >> “วิธีการคุมกำเนิดแบบต่างๆ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up