เมื่อเงื่อนไขและรางวัล…ให้โทษ

Alternative Textaccount_circle
event

คุณแม่แบลล์เริ่มทำสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนกับโบกี้ ลูกชายตัวน้อยของเธอตั้งแต่เขาอายุได้ 2 ขวบ เราชอบบอกโบกี้ว่า ถ้าหนูทำตัวดีๆ เวลาแม่พาไปซื้อของด้วยวันนี้ กลับบ้านแล้วแม่จะให้คุกกี้หนึ่งชิ้นŽ คุณแม่คนสวยเล่าพลางยืนยันว่าวิธีนี้ได้ผลเสียด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่คิด เมื่อน้องโบกี้ซึ่งตอนนี้อายุ 5 ขวบ กลายเป็นเด็กที่จะไม่ยอมทำอะไรหากปราศจากรางวัลหรือเงื่อนไขแลกเปลี่ยนที่โดนใจ ถ้าเขาไม่สนของที่พ่อแม่เอามาเสนอ เราก็ต้องหาของอย่างอื่นมาล่อเขาต่อŽ คุณแม่แบลล์บ่นอย่างชักรู้สึกไม่ค่อยสนุก

แอลฟี่ โคท์น ผู้เขียน Unconditional Parenting ให้คำอธิบายว่า รางวัลและข้อเสนอต่างๆ จะช่วยให้ลูกของคุณทำตัวดีขึ้นแค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้นแหละค่ะŽ พอเข้าวัยก่อนเรียน เด็กๆ จะเริ่มรู้จักชั่งน้ำหนักระหว่างสิ่งที่ต้องทำกับรางวัลที่รออยู่ และมีแนวโน้มที่จะยอมรับเงื่อนไขน้อยลง ดังนั้นแทนที่จะยื่นข้อเสนอ ลองปรับเปลี่ยนแผนกันดีกว่า

1. ความเหมาะสมของคำพูดพ่อแม่

คำสั่งหรือคำขอร้องของคุณเหมาะสมและจำเป็นสำหรับวัยของลูกหรือเปล่า เด็กๆ วัยนี้อาจไม่จำเป็นต้องจัดห้องให้เป็นระเบียบเนี้ยบอยู่ตลอดเวลา เพียงแค่เก็บข้าวของให้เรียบร้อยก็น่าจะพอแล้ว ถ้าแม่สั่งหรือขอร้องอย่างเหมาะสม ก็ไม่ต้องเปลืองแรงจ้ำจี้จ้ำไชหรือหาของมาล่อ

2. อธิบายความจำเป็นของพ่อแม่

อธิบายว่า ทำไมคำสั่งของคุณถึงจำเป็น แทนที่จะดุเขาว่า เก็บของได้แล้ว ไม่ได้ยินที่แม่บอกหรือไง! Žให้อธิบายอย่างใจเย็นถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าวางของเล่นไว้ตรงนี้ เดี๋ยวป๊ะป๋าเดินมาลื่นล้ม เจ็บแย่เลยนะŽ เด็กๆ จะได้เรียนรู้เหตุผลว่าทำไมเขาถึงต้องเก็บของ โดยไม่ต้องเอาขนม (หรือของอื่นใด) มาเป็นเงื่อนไข

3. ทำให้ภาระกลายเป็นความบันเทิง

ชวนกันเล่นแข่งเก็บของใส่ตะกร้า หรือหานาฬิกาจับเวลามาใช้ วันนี้หนูเก็บของได้ไวกว่าเมื่อวานตั้ง 2 วินาทีแน่ะ สถิติใหม่ออกแล้ว!Ž

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up