ลูกเดินเขย่ง

6 สัญญาณความผิดปกติ เมื่อลูกชอบเดินเขย่งปลายเท้า

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเดินเขย่ง
ลูกเดินเขย่ง

ลูกเดินเขย่ง

ลูกเดินเขย่ง แก้ไขตามสาเหตุดังนี้

  • ถ้าเกิดจากสาเหตุข้อ 1,2,3 ส่วนใหญ่จะเดินเป็นปกติได้เอง หากอายุ 3 ปีแล้วเด็กยังเดินเขย่งเท้า จะต้องปรึกษาศัลยแพทย์กระดูก
  • ถ้าเกิดจากสาเหตุข้อ 4,5 ในระยะแรกอาการอาจยังไม่ชัดเจนยังบอกสาเหตุไม่ได้ ต้องอาศัยการติดตามดูอาการ ซึ่งมักจะชัดเจน
    และบอกสาเหตุได้ในเวลาต่อมา

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้

สิ่งที่สำคัญที่พ่อแม่ควรรู้ คือ “การเดินเขย่งในเด็กทั่วไปไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างร้ายแรง” กุมารแพทย์ประสาทวิทยา Jonathan Strober ที่ โรงพยาบาทเด็ก UCSF Benioff in San Francisco กล่าว เพราะไม่ใช่เด็กทุกคนที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่งจะมีแนวโน้มเป็นออทิสซึม

ทั้งนี้เด็กๆ ที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่งจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นไปอย่างปกติ ฉะนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ การคอยสังเกตลูก

สำหรับเด็กที่เดินเขย่งเป็นเวลาที่นานเกิน อาจจะก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้า ตึง และอาการปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย ซึ่งสามารถคลายเส้นได้ด้วยออกกำลังกายยึดหยุ่น

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกทำกิจกรรมยืดหยุ่นร่างกายขณะอ่านหนังสือหรือดูทีวี ซึ่งสามารถช่วยเอ็นร้อยหวายให้โค้งงอได้ง่ายและยึดหยุ่นมากขึ้น

การบำบัดสำหรับการเดินเขย่งไม่ได้จำเป็นมากนักสำหรับเด็กที่อายุ 6 ขวบหรือน้อยกว่า นอกเสียจากว่าอาการของเด็กทำให้เอ็นร้อยหวายหดหรือกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งอาจจะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงและอาจจะมีการทำการผ่าตัด แต่ก็มีการบำบัดหลายแบบ พิจารณาจากอาการหนัก เบาของเด็ก

อ่านต่อ >> “6 สัญญาณผิดปกติที่พ่อแม่ต้องสังเกตหากลูกชอบเดินเขย่งขา” คลิกหน้า 3


ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ. เครียวพันธ์  บุญศิริ กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up