ลูกเรียนรู้ช้า

วิจัยชี้! ลูกเรียนรู้ช้า แก้ด้วยการนอนกลางวัน สร้างทักษะความจำที่ดีได้

event
ลูกเรียนรู้ช้า
ลูกเรียนรู้ช้า

ลูกเรียนรู้ช้า

ลูก 2-3 ขวบควรนอนกลางวันอยู่ไหม?

คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าลูกยังต้องนอนกลางวันทุกๆ วัน และรู้ดีว่าตัวเองชื่นชอบช่วงเวลาที่จะได้พักหรือนั่งทำสิ่งที่ชอบอย่างเงียบๆ นี้เพียงไร แต่เจ้าตัวแสบกลับไม่เห็นด้วยเอาซะเลย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กวัย 2 หรือ 3 ขวบจะเริ่มต่อต้านการนอนกลางวัน เพราะเด็กวัยนี้ชอบสำรวจสิ่งรอบตัว และการนอนหลับก็ไม่ใช่เรื่อง

ทั้งนี้เพราะเมื่อเข้าวัยเตาะแตะ ลูกจะต้องการเวลานอนน้อยลง บางคนถึงกับไม่ยอมนอนกลางวันเอาเสียเลย ทำเอาคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกเราจะพักผ่อนพอหรือเปล่า?

ไฮดี อี เมอร์คอฟฟ์ ผู้เขียน “What to Expect the Toddler Years” อธิบายว่า เด็กวัย 2 ขวบปลายๆ เกือบ 3 ขวบแต่ละคนต้องการเวลานอนต่างกัน ตั้งแต่ 10 – 14 ชั่วโมงต่อวัน คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเรายังต้องนอนกลางวันอยู่ เรามีข้อสังเกตมาฝาก

ขั้นหงุดหงิด

  • ลูกบ่นไม่ยอมนอน แต่พอเอนหลังปุ๊บก็หลับปั๊บ และหลับยาวเป็นชั่วโมงๆ
  • ลูกเพ่งสมาธิกับกิจกรรมต่างๆ ได้น้อยลง แม้แต่เรื่องที่ถนัด หรือทำเป็นแล้วอย่างการใส่กางเกงก็ทำไม่ได้
  • ลูกตื่นนอนตอนเช้าแบบหงุดหงิดฉุนเฉียว และมีอาการงัวเงียตลอดวัน
  • ลูกงอแงผิดปกติในช่วงหัวค่ำก่อนถึงเวลาเข้านอนตามปกติ

ขั้นงัวเงีย

  • ลูกหาว ขยี้ตา เบลอ หรือดูเลื่อนลอย
  • ลูกโกรธ อาละวาด หรือร้องไห้ง่ายกว่าปกติ
  • ลูกทรงตัวยาก เดินหกล้มบ่อยๆ

ขั้นหงุดหงิดและงัวเงีย แปลว่าร่างกายของลูกต้องการพักผ่อน แต่ยังห่วงเล่นอยู่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดสภาวะแวดล้อมให้ลูกพร้อมจะเข้านอน เช่น ปิดม่าน เปิดเพลงเบาๆ หรือกันผู้ใหญ่คนอื่นและพวกพี่โตออกไป

ขั้นโงกหงุบ

  • ลูกบ่นง่วงนอนหรือยอมนอนหลับโดยไม่อิดออด ถ้าลูกทำกิริยานี้ แปลว่าหนูๆ ต้องไปงีบได้แล้วละ

โดยจากอาการข้างต้นที่สังเกตเห็นแล้วสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกมานอนกลางวันได้คือ

  • ทำกิจวัตรช่วงก่อนนอนให้สม่ำเสมอ

เช่น อ่านนิทานหรือร้องเพลงกล่อม แล้วพาไปนอนในห้องที่เงียบๆ มืดๆ หน่อย ถ้ายังไม่หลับก็ให้เขานั่งทำกิจกรรมเงียบๆ บนเตียง เช่น อ่านนิทาน หรือต่อจิ๊กซอว์ (ไม่ใช่เปิดทีวีให้ดูหรือให้ ดูแท็บเล็ตเล่นเกมคอมพิวเตอร์) จนกว่าจะหลับ…แต่ถ้าไม่หลับก็ถือเป็นช่วงเวลาพักผ่อนก็แล้วกัน

  • ยืดหยุ่นให้ลูกบ้าง

ลูกอาจไม่นอนกลางวันสัก 2 – 3 วัน แล้ววันต่อไปก็น็อกและกลับมานอนต่อไปอีก คอยสังเกตรูปแบบการนอนของลูกสักระยะ และมีความสุขกับการ ”พักยก” ช่วงสั้นๆ ในยามบ่ายไปจนกว่าเขาจะไม่ต้องการการนอนกลางวันแล้ว

อ่านต่อ >> 3 กลเม็ดเด็ดในการพาลูกเตาะแตะนอนกลางวัน ได้ผล 100% คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up