นิทานไทย

นิทานไทย นิทานพื้นบ้านไทย พร้อมคติสอนใจ

Alternative Textaccount_circle
event
นิทานไทย
นิทานไทย

นิทาน นิทานกล่อมนอน เล่านิทาน อ่านนิทาน นิทานพื้นบ้าน นิทานไทย กิจกรรมครอบครัว กิจกรรมเสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัว ส่งเสริมพัฒนาการ

นิทานไทย นิทานพื้นบ้านไทย พร้อมคติสอนใจ

การอ่านนิทาน ให้ลูกฟังก่อนนอน นอกจากทำให้ลูก ๆ สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับเนื้อเรื่องแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา ความคิด และจินตนาการ ทีมกองบรรณาธิการ ABK จึงขอนำเสนอ นิทานไทย นิทานพื้นบ้าน ที่มีข้อคิดสอนใจดี ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ในวันนี้ค่ะ

นิทานไทย นิทานพื้นบ้านไทย พร้อมคติสอนใจ

เรื่อง พิกุลทอง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีหญิงสาวสวย คนหนึ่งชื่อว่า “พิกุล” …กล่าวกันว่าเธอมีความสวยทั้งหน้าตาและ กิริยามรรยาท มารดาของเธอตายตั้งแต่เธอยังเล็กมาก ดังนั้นเธอจึงได้รับการเลี้ยงดูจากแม่เลี้ยงซึ่งเธอเองก็มีลูกสาวคนหนึ่ง ชื่อว่า “มะลิ” …แต่ก็โชคร้ายที่ว่าทั้งแม่เลี้ยงและลูกสาวของเธอนั้นเป็นคนใจร้าย ทั้งคู่จะบังคับให้พิกุลทำงานหนักทุกวัน

อยู่มาวันหนึ่ง หลังจากตำข้าวเสร็จแล้ว …พิกุลก็ออกไปตักน้ำที่ลำธารซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก ในขณะเดินทางกลับ …ทันใดนั้นก็มีหญิงชราคนหนึ่งปรากฏอยู่เบื้องหน้าของพิกุลและขอน้ำเธอดื่ม พิกุลดีใจมากที่ได้ช่วยหญิงชราคนนั้น …เธอเอาน้ำให้หญิงชราและบอกให้เธอเอาน้ำไปอีกเพื่อจะได้ล้างหน้า และล้างตัวให้สดชื่น พิกุลบอกหญิงชราว่าไม้ต้องห่วงเพราะถ้าน้ำไม่พอเธอจะไปตักมาอีก …หญิงชรายิ้มและกล่าวว่า “เธอนี่นอกจากจะสวยแล้วยังใจดีอีกถึงแม้ว่าฉันจะดูยากจน และมอมแมมเธอก็ปฏิบัติกับฉันเป็นอย่างดี”

หลังจากกล่าวชื่นชมพิกุลแล้ว …หญิงชราก็ให้พรวิเศษกับเธอ และด้วยอำนาจของพรวิเศษนี้จะทำให้ดอกพิกุลทองคำร่วงออกมาจากปากของเธอ …เมื่อใดก็ตามที่เธอรู้สึกสงสารใครหรือสิ่งใด …หลังจากหญิงชราให้พรวิเศษแก่พิกุลแล้ว ก็หายวับไปต่อหน้าต่อตาของเธอ …พิกุลก็รู้ทันทีว่าแท้ที่จริงแล้วหญิงผู้นั้นเป็นนางฟ้าจำแลงมาให้พรวิเศษแก่ตน …ทันทีที่กลับถึงบ้านช้า เธอก็ถูกแม่เลี้ยงดุด่าว่าไปเถลไถลเพื่อหนีงาน ดังนั้นพิกุลจึงเล่าเรื่องทั้งหมด ให้ผู้เป็นแม่เลี้ยงฟังพร้อมกับเกิดความรู้สึกสงสารใน …ขณะเล่าจึงทำให้ดอกพิกุลทองคำร่วงออกมาจากปากของเธอด้วย …แม่เลี้ยงจอมละโมบก็เปลี่ยนอารมณ์จากโกรธเป็นละโมบในทันทีพร้อมกับตะครุบดอกพิกุลทองทั้ง หมดไว้ในขณะที่ปากก็สั่งให้พิกุลพูดต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อสนองความละโมบของเธอนั่นเอง

นับจากวันนั้นเป็นต้นมา แม่เลี้ยงของพิกุลก็เก็บรวบรวมดอกพิกุลทองคำไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อนำไปขายและได้เงินมามากมาย ชีวิตทุกคนตอนนี้ก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พิกุลเองก็ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนแต่ก่อน แต่ก็ถูกบังคับให้พูดทั้งวันเพื่อให้ดอกพิกุลทองคำออกมาจากปากของเธอมากๆ นั่นเอง …พิกุลทองอ่อนล้าไปกับการตอบสนองความละโมบของแม่เลี้ยง ตอนนี้พิกุลเองเกิดเจ็บคอและกลายเป็นคน เสียงแหบเสียงแห้งไปเลย เธอพูดไม่ได้ไประยะหนึ่ง …อาการเช่นนี้ทำให้แม่เลี้ยงโมโหมากขึ้นจนถึงขั้นตบตี พิกุลเพื่อพยายามยังคับให้เธอพูดแต่พิกุลก็พูดไม่ได้แม้แต่คำเดียว

… เพื่อตอบสนองความละโมบของตน ตัวแม่เลี้ยงเองจึงตัดสินใจส่งลูกสาวของตนนามว่ามะลิไปทำตามอย่างพิกุลบ้าง … มะลิถูกส่งไปยังสถานที่เดียวกับที่พิกุลบอกไว้แต่ว่าแทนที่จะได้พบกับหญิง ชราก็กลับเป็น พบหญิงสาวสวยสวมเสื้อผ้างดงามยืนอยู่ใต้ร่มใหญ่ หญิงสาวผู้นั้นขอน้ำมะลิดื่มแต่ด้วยความริษยามะลิแสดงอาการโกรธและคิดว่า หญิงผู้นั้นไม่ใช่นางฟ้า เธอจึงปฏิเสธและใช้วาจาหยาบคายด่าทอนางฟ้าจำแลง …ดังนั้น นางฟ้าจึงสาปแช่งมะลิว่า เมื่อใดก็ตามที่เธอโกรธและพูดออกมาแล้วไซร้ ก็จะมีหนอนร่วงออกมาจากปากของเธอ เมื่อกลับมาถึงบ้านมะลิก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ผู้เป็นแม่ฟังและด้วยความโกรธ ในขณะ เล่าเรื่องนั้นก็ทำให้บ้านทั้งหลังเต็มไปด้วยตัวหนอน ผู้เป็นแม่คิดว่าพิกุลอิจฉาลูกสาวของตน ดังนั้นจึงแกล้งบิดเบือนเรื่องที่เล่าจึงเป็นเหตุให้ลูกสาวของตนไม่ได้พบกับ หญิงชราแม่เลี้ยงจึงทุบตีพิกุลและไล่เธอออกจากบ้านไป

ด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้งพิกุลจึงท่องเที่ยวไปในป่า แต่เพียงลำพัง โชคดีที่ว่าเธอเดินไปในทิศทางที่ เจ้าชายหนุ่มกำลังเพลิดเพลินอยู่กับการขี่ม้าประพาสป่ากับข้าราชบริพารผ่าน มาพอดีเมื่อทอดพระเนตรเห็นสาวนั่งร้องไห้อยู่ทรงถามเรื่องราวความเป็นมาทั้ง หมด ทันทีที่พูดจบที่บริเวณนั้นก็เต็มไปด้วยดอกพิกุลทองคำ …เจ้าชายดีพระทัยยิ่งนัก จึงขอนางอภิเษกสมรสด้วยและหลังจากการอภิเษกสมรสทั้งสองพระองค์ก็ได้ ขึ้นครองราชย์และปกครองเมืองของพระองค์ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
1. จากเค้าเรื่องนิทานนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของสำนวนไทยเปรียบเปรยคนที่ไม่ค่อยพูดหรือมักพูดอุบอิบอยู่แต่ในปากว่า “กลัวดอกพิกุลจะร่วง”
2. “การคิดดีทำดี …ย่อมได้รับสิ่งที่ดีตอบสนองเสมอ” …อย่างเช่น พิกุล

 

นิทานไทย
นิทานไทย

 

 

เรื่อง นางแตงอ่อน

ที่เมืองนครศรี เจ้าเมืองนามว่าพระยาโกศรี มเหสีนามว่า ทองแดง มีโอรสนามว่า มหาวงศ์ ท้าวมหาวงศ์ชอบกีฬาชนไก่ วันหนึ่งไปต่อไก่ในป่ากับขุนสี่คน คือ ขุนเครือ ขุนคาน ขุนเค่ง และขุนทุ่มภู่ ได้ธิดาจระเข้ชื่อนางแตงอ่อน ผู้มีรูปกายเป็นมนุษย์มาเป็นมเหสี นางแตงอ่อนประสูติโอรส เมื่อท้าวมหาวงศ์ไปคล้องช้างในป่า นางจึงถูกหมู่มเหสีทั้งหลายเปลี่ยนโอรสของนางเป็นจรเข้ และโอรสจริงเอาไปลอยน้ำ เทพธิดาจึงนำไปเลี้ยงไว้บนสวรรค์ และตั้งชื่อว่า”สุริยง

ส่วนนางแตงอ่อนถูกสามีขับไล่ออกจากเมืองเพราะประสูติโอรสเป็นจระเข้ …นางแตงอ่อนกลับไปเมืองนาค …พบกุมภาพี่ชายของตนปกครองเมืองนาคสืบต่อจากบิดา …พี่ชายกุมภารู้ข่าวด้วยความสงสาร ได้มอบเมืองให้กอระกันผู้เป็นน้องชายปกครองต่อ …ส่วนตนกับแตงอ่อน ได้บวชเป็นฤาษี …เพื่อเรียนวิชาไว้แก้แค้นมหาวงศ์ ซึ่งขับไล่น้องสาวตน

สุริยงได้ศึกษาวิชาการต่างๆ และได้ลงมาพบว่า…มารดาตนถูกยักษ์ลักพาตัวไป…จึงได้ตามมารดาคืน และรบกับยักษ์จนได้ชัยชนะ…สุริยงได้นางปทุมมา นางอินทะวงศ์ นางหยาดคำ และนางคำไหล เป็นภริยา ซึ่งยักษ์นั้นได้ลักพาตัวมาไว้…และสุริยงก็ได้พามารดากลับบ้านเมือง…มหาวงษ์ได้ทราบความจริงว่านางแตงอ่อนถูกใส่ร้ายและสุริยงคือลูกของตน…พ่อแม่ลูกได้พบกันแล้วเข้าใจกัน …ทั้งสามคนจึงได้อยู่ด้วยกันอย่างสุขสันต์ในบั้นปลายชีวิต และครองคู่เมืองนครศรีสืบมา

 

 อ่านต่อ…นิทานไทย นิทานพื้นบ้านไทย พร้อมคติสอนใจ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up