5 วิธี ส่งเสริมความ “อยากรู้อยากเห็น” ของลูกน้อย

Alternative Textaccount_circle
event

เด็กวัยเรียนมักสนใจเรื่องแปลกๆ หรือมีคำถามใหม่ๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่หาคำตอบอยู่ทุกวัน คำถามเหล่านี้อาจทำให้ผู้ใหญ่ปวดหัว แต่ช่วยพัฒนาสมองของเด็กๆ “ความอยากรู้อยากเห็นเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่สติปัญญาค่ะ” แพม ชิลเลอร์ ผู้เขียน “Seven Skills for School Success” ให้ความเห็น

พ่อหนูแม่หนูทั้งหลายเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านประสบการณ์และกิจกรรมใหม่ๆ ลองนำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ดู

1. เปลี่ยนกิจวัตร

เปลี่ยนสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลองเสิร์ฟก๋วยเตี๋ยวหรือพิซซ่าเป็นอาหารเช้า เอาขนมปังฝรั่งเศสมาทำแซนด์วิช หรือเปิบข้าวด้วยมือ (ที่ล้างสะอาดแล้ว) ดูบ้าง นอกจากลูกจะได้ลองอะไรใหม่ๆ คุณยังสร้างบทสนทนาคุณภาพ พูดคุยกันเรื่องอาหารของคนชาติต่างๆ อีกต่างหาก

2. เปลี่ยนมุมมอง

ช่วยกันจัดห้องนอนของลูกใหม่ หรือเรียงหนังสือและดีวีดีบนชั้นตามระบบที่ลูกคิดขึ้น เด็กๆ อาจเรียงหนังสือตามตัวอักษร จัดหมวดหมู่เหมือนในร้านขายดีวีดี หรือแม้แต่เรียงตามความนิยมของเขาเอง พอจัดเสร็จแล้วก็มานั่งคุยกันว่า ระบบนี้ใช้ได้หรือไม่ ห้องเป็นระเบียบมากขึ้นหรือดูรกมากขึ้นกันแน่นะ

3. เปลี่ยนเรื่องใหม่

จับตัวละครใหม่ๆ มาใส่ในนิทานเรื่องเดิม เช่น เพิ่มมังกรเข้าไปในเรื่อง “แจ็คผู้ฆ่ายักษ์” (จะเป็นมังกรตัวร้ายคอยเฝ้าสมบัติยักษ์ หรือมังกรใจดีที่คอยช่วยพระเอกก็ได้) ชวนลูกเล่นเกม “จะเป็นอย่างไรนะ ถ้า…” ช่วยกันเปลี่ยนตอนจบของนิทานเรื่องต่างๆ เช่น “จะเป็นอย่างไรนะ ถ้าหนูน้อยหมวกแดงเกิดรู้ตัวว่าหมาป่าปลอมตัวเป็นคุณยาย เธอจะหนีรอดออกมาได้ไหม”

4. ลองเป็นฝ่ายถามบ้างสิ

คุณจะได้รู้ว่าลูกมีมุมมองต่อสิ่งต่างๆ อย่างไร เช่น “ระหว่างสโนไวท์กับเงือกน้อย หนูชอบใครมากกว่ากัน แล้วทำไมถึงชอบคนนี้มากกว่าล่ะ”

5. อย่าลืมใส่ใจกับสิ่งที่ลูกสนใจด้วย

คราวหน้าถ้าลูกเอาซากแมลงเต่าทองมาอวด ก็ตื่นเต้นไปกับเขาด้วยละ

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up