พฤติกรรมเด็กวัยอนุบาล 4-6 ขวบ

สอนเด็กๆ ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

Alternative Textaccount_circle
event
พฤติกรรมเด็กวัยอนุบาล 4-6 ขวบ
พฤติกรรมเด็กวัยอนุบาล 4-6 ขวบ

“พ่อแม่ของหนูจะชมเวลาที่หนูทำคะแนนได้ดี แต่ไม่เคยชมตอนที่หนูช่วยเพื่อนๆทำงานเลย” นี่คือตัวอย่างความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาเรื่องความคาดหวังของพ่อแม่ผู้ปกครอง……. พบว่า 80% ของผู้ปกครองในยุคปัจจุบันจะให้ความสำคัญเรื่องความสุขและความสำเร็จส่วนตัวมากกว่าการปลูกฝังความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นให้แก่ลูก

 
ผลการศึกษานำมาซึ่งคำถามท้าทายว่า ความสุขส่วนตัวและความสำเร็จในชีวิตจะนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริงหรือ หากขาดการเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

 
แม้กว่าลูกจะเข้าใจเรื่องความคิดเชิงนามธรรมได้จริงก็เมื่อเข้าวัยรุ่นแล้ว แต่การสอนคุณธรรมความดีเป็นเรื่องที่เริ่มสอนได้ตั้งแต่วันนี้ แล้วเราจะสอนลูกให้เห็นอกเห็นใจคนอื่นอย่างไรได้บ้าง

 

 

 
1. ให้โอกาสได้ดูแลและตอบแทนน้ำใจผู้อื่น

 
จากการศึกษาพบว่าคนที่แสดงความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นและให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเสมอมีแนวโน้มที่จะมีความสุขและสุขภาพดี จะมีน้ำใจกับคนอื่นได้ก็ต้องให้โอกาสฝึกฝน ทำเป็นประจำเช่น ให้ช่วยงานบ้านพ่อแม่ สอนการบ้านเพื่อน หรือได้ดูแลผู้มีพระคุณ เช่น ช่วยอ่านหนังสือให้ปู่ย่าตายายฟัง หรือช่วยงานคุณครูในชั้นเรียน

 
เมื่อลูกช่วยเหลือใคร ก็ไม่จำเป็นต้องให้รางวัลเป็นการตอบแทน เพียงคำขอบคุณก็เพียงพอแล้ว

 
2. สอนมองมุมกว้าง

 
ส่วนใหญ่เด็กๆมักจะนึกถึงแค่สังคมเล็กๆของตัวเอง นั่นก็คือครอบครัวและเพื่อนสนิท ความท้าทายของคุณพ่อคุณแม่ก็คือคุณต้องทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะใส่ใจคนอื่นๆที่อยู่นอกสังคมของเขาด้วย เช่น เพื่อนใหม่ที่เพิ่งย้ายโรงเรียน พ่อค้าแม่ค้าในตลาด คนขับรถ พนักงานในร้านอาหาร คนแปลกหน้าที่เจอกันตามถนน (แต่อย่าลืมสอนเรื่องความปลอดภัยด้วยล่ะ) มั่นใจว่าลูกของคุณปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความสุภาพและเป็นมิตรกับทุกคนจริงๆ

 
3. เป็นแม่แบบและคอยให้คำปรึกษา

 
การเรียนรู้ของเด็กๆมักเกิดขึ้นจากการเฝ้าดูพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ดังนั้นควรระลึกไว้เสมอว่าการกระทำใดๆของคุณอยู่ในสายตาของลูกตลอด อยากให้ลูกเป็นเช่นไร เราต้องทำตัวเองให้เป็นเช่นนั้นให้ได้ก่อน ถึงจะยังไม่สมบูรณ์แบบแต่ก็ต้องยอมรับความผิดพลาดและข้อบกพร่องของเราให้ได้ เพื่อหาทางแก้ไขและพัฒนาตัวเองต่อไป นอกจากนี้คุณยังต้องเคารพความคิดของเด็กและรับฟังมุมมองของพวกเขาด้วย

 
4. สอนให้จัดการความรู้สึกเชิงลบ

 
บ่อยครั้งที่ความโกรธ ความอิจฉาริษยา หรือความรู้สึกเชิงลบอื่นๆ บั่นทอนกำลังใจของเราจนไม่มีเวลานึกถึงคนรอบข้าง สำหรับเด็กๆคุณต้องสอนให้พวกเขารู้จักอารมณ์เหล่านี้ สอนให้รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองและเรียนรู้ที่จะรับมือหาวิธีจัดการกับความรู้สึกเชิงลบได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อเกิดอารมณ์โกรธสอนให้ลูกหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆแล้วนับหนึ่งถึงสิบ เมื่อลูกสงบลง คุณค่อยนั่งคุยกับลูกช่วยกันหาทางออกในการแก้ปัญหา เพราะการใช้อารมณ์ไม่ได้ทำให้ปัญหาคลี่คลายได้

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียล พาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up