“ลูกควบคุมตัวเอง” ได้ ต้องฝึกให้สมองได้ “คิด”

Alternative Textaccount_circle
event

2. ตัวเล็กก็รับผิดชอบงานเล็กๆ

การจะทำให้ลูกเล็กๆ เข้าว่าความรับผิดชอบคืออะไร ก็ต้องตั้งเป้าหมาย คือ มอบหมายงานเล็กๆ น้อยๆ ให้เขา

ฝึกลูกทำอย่างนี้ :  “เช่น เขาต้องกรอกน้ำวันละ 1 ขวด คอยดูว่าน้ำพร่องไปก็กรอกนะ ถ้าเขาไม่ทำ ก็เตือนลูกได้ว่า ‘อ้าว น้ำในขวดไม่มีแล้วเป็นความรับผิดชอบของใครเอ่ย’

“ขอให้สังเกตว่าลูกจะรู้ เข้าใจและจะทำ แน่นอนว่าเริ่มต้นต้องหก ต้องล้น ต้องเลอะ ควรเริ่มจากปากขวดใหญ่ๆ และขวดที่ไม่หนักมากก่อน และช่วยให้เขาทำให้เสร็จ สำเร็จได้  การช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ทำให้สมองเกิดกระบวนการ ต้องวางแผน ต้องใช้สมาธิ ต้องยั้งมือ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีอย่างไร ให้น้ำไม่หก และลงขวด หกก็ต้องเช็ด จนเกิดการเรียนรู้ที่จะทำให้ดีขึ้นๆ ในครั้งต่อๆ ไป”

shutterstock_226262290

3. ตัวเล็กก็หัดช่วยเหลือแบบเล็กๆ  

เด็กเล็กๆ ถ้าเห็นเราถือของมา มักจะอยากช่วยถือ คุณจะให้เขาช่วยหรือไม่

ฝึกลูกทำอย่างนี้ :  “ก็ต้องให้ช่วย และจะเห็นว่าเขาลากของ เพราะเขายังถือไม่ไหว คุณบอกลูกได้ว่า นี่หนักใช่มั้ย เขาจะได้คำศัพท์ว่า ‘หนัก’ เป็นอย่างไร จากนั้นค่อยๆ เอาของออก ลูกรู้ได้ว่า ‘เบา’ เป็นอย่างไร และหนักแค่ไหนที่เขาจะถือได้ เขาจะจดจำไว้ (เป็น working memory) ครั้งต่อไป เขาจะรู้ว่า ถุงแบบนี้ หนักขนาดไหนที่เขาถือได้ สมองเขาจะคิดวางแผน (planning) และ จัดการ (organization) จะไม่ถือถุงแบบไหน (Inhibit)  จะต้องถือถุงหนักแค่ไหน ถืออย่างไร (Shifting) ถึงจะสำเร็จ และพอเขาช่วย คุณก็ขอบใจเขา ทำให้เด็กรู้จักว่ามีน้ำใจเป็นอย่างนี้ เหล่านี้เป็นกระบวนการในสมองส่วนบริหารขั้นสูง เกิดการเรียนรู้ (Learning) เก็บไปเป็นกระบวนการ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ฉันควรจะตัดสินใจและทำแบบไหน หรือแก้ไข จัดการอย่างไร”

“การบอกเด็กว่า ‘ลูกต้องมีความรับผิดชอบ มีวินัยนะ’ วิธีนี้ไม่ได้ผล ถ้าเราไม่ให้สมองลูกได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ว่า เขาต้องรับผิดชอบอะไร มีวินัยเรื่องไหน”

 

ขอขอบคุณ  ดร.วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ อาจารย์ประจำและผู้เชี่ยวชาญการส่งเสริมการพัฒนาสมองและกระบวนการรู้คิดใน เด็ก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่อง : กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

ภาพ : Shutterstock

banner300x250-1

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up