วินัยเชิงบวก

[สร้างวินัยเชิงบวก] ชวนพ่อแม่สำรวจ เรา “สั่ง” หรือ “สอน” ลูกอยู่นะ

Alternative Textaccount_circle
event
วินัยเชิงบวก
วินัยเชิงบวก

ชวนพ่อแม่สำรวจ เรา “สั่ง” หรือ “สอน” ลูกอยู่นะ

สั่งแบบนี้ ไม่ดีแน่ สอนแบบนี้สิ ใช่เลย!

ใช้คำพูด ห้าม” “ไม่ได้” “อย่า” “หยุดเช่น

  • ห้ามเอามือเข้าปากนะ
  • เล่นต่อไม่ได้นะ เราจะกลับบ้านกันแล้ว
  • อย่าอมข้าว
  • หยุดร้องไห้
ใช้คำขอบคุณ ตามด้วยพฤติกรรมที่เราต้องการให้ลูกทำ เช่น

  • แม่ขอบคุณที่หนูจับช้อน แล้วตักข้าวเข้าปากเอง
  • ขอบคุณที่หนูเลิกเล่น แล้วกลับบ้านกับแม่
  • แม่ขอบคุณที่หนูเคี้ยวข้าว
  • ขอบคุณที่หนูใช้คำพูดดีๆ กับแม่
สั่งให้ทำกิจวัตรประจำวัน “เดี๋ยวนี้!” เช่น

  • “ตื่นเดี๋ยวนี้!
  • “ไปอาบน้ำเดี๋ยวนี้!
  • “เก็บของเล่นเดี๋ยวนี้!
ให้ทางเลือกและให้ลูกตัดสินใจ เช่น

  • “หนูจะตื่นเลยหรือจะนอนต่ออีก 5 นาที”
  • “หนูจะเอาของเล่นพี่เป็ด หรือพี่ปลาโลมาไปอาบน้ำด้วย”
  • “หนูจะให้แม่ช่วยเก็บของเล่นหรือหนูจะเก็บคนเดียว”
สั่งให้ทำกิจวัตรประจำวัน “ดีๆ” เช่น

  • “นั่งดีๆ!
  • “พูดดีๆ!
บอกพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น

  • “นั่งหลังตรง ก้นติดเบาะ เท้าติดพื้นค่ะลูก”
  • “หนูกลืนข้าว แล้วค่อยพูดครับ”
ขู่ให้ทำ เช่น

  • ถ้าทานข้าวไม่เสร็จ ไม่ต้องไปเล่น จะปล่อยให้อยู่คนเดียวเลย”
บอกพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กทำ ตามด้วยสิ่งที่เขาอยากทำ เช่น

  • เมื่อกินข้าวหมดแล้ว ไปเล่นได้เลยค่ะ”
เลี้ยงลูกอย่างไร สร้างวินัยเชิงบวก
สร้างวินัยเชิงบวกให้ลูกใช้การ “สอน” แทนการ “สั่ง”

จะเห็นว่า “การสั่ง” ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของลูกได้ เนื่องจากในขณะที่ลูกอยากทำสิ่งหนึ่ง แล้วถูกห้ามหรือสั่งลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่ขัดใจ ทำให้เขาไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ และเกิดความรู้สึกไม่ดี ความไม่มั่นคงทางจิตใจที่เกิดขึ้นจะทำให้ลูกไม่พร้อมรับฟังสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พูด และจะใช้พลังงานทั้งหมดในการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือต่อต้าน เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ

ในทางตรงกันข้ามหากคุณพ่อคุณแม่ใช้เทคนิคเชิงบวกด้วย  “การสอน” เช่น การขอบคุณ การให้ทางเลือก และการบอกพฤติกรรมที่เหมาะสม จะสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของลูกน้อย เพราะลูกจะไม่รู้สึกว่าพ่อแม่ห้ามในสิ่งที่เขาอยากทำและไม่รู้สึกถูกต่อว่าจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำให้เขาอยู่ในอารมณ์ที่พร้อมจะรับฟัง เรียนรู้สิ่งที่พ่อแม่บอก และอยากจะทำตามด้วยตัวเอง เมื่อใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกในการสื่อสารเป็นประจำแล้ว เด็กๆ ก็จะมีโอกาสได้ฝึกฝนพฤติกรรมที่เหมาะสมจนติดเป็นนิสัยและกลายเป็นวินัยในตนเองได้นั่นเอง

การสร้างวินัยเชิงบวกจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ควรนำมาใช้ “สอน” แทนการ “สั่ง”เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีหัวใจสวย ปัญญาเลิศเชิดชูคุณธรรมและอารมณ์ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านต่อบทความอื่นเพิ่มเติม : 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up