ลูกโกหก

ลูกโกหก แค่เพียง 3 ขวบก็โกหกได้แล้วจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกโกหก
ลูกโกหก

คุณพ่อ คุณแม่หลายคนอาจเข้าใจว่า ลูกวัย 2 – 3 ขวบ ยังไม่เข้าใจหรอกว่า ลูกโกหก เป็นเรื่องที่ผิด เช่นเดียวกับที่พวกเขาไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างความจริงกับความฝัน จินตนาการของพวกเขากำลังบรรเจิด และไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน ระหว่างสิ่งที่อยากได้ และสิ่งที่มีได้ นั่นอาจเป็นสาเหตุเมื่อ ลูกโกหก

ลูกโกหก เพราะอะไร?

มีคุณพ่อท่านหนึ่ง มาปรึกษากับทีมงานว่า “เพิ่งสังเกตว่าว่าลูกสาววัย 3 ขวบของเรานี่แหละ “พูดโกหก” ผมแปลกใจมาก และอยากทราบว่าเด็กวัยนี้โกหกเป็นแล้วหรือครับ แล้วมันจะกลายเป็นนิสัยแย่ๆ ของเขาไปจนโตเป็นผู้ใหญ่หรือเปล่า?”

เด็กๆ ในขวบวัยนี้มักจะมีจินตนาการ อาจจะพูดว่าตัวเองเลี้ยงไดโนเสาร์ หรือบอกว่าแม่เป็นเจ้าหญิง แต่นั่นก็เป็นเพราะพวกเขาอยากให้มันเกิดขึ้นจริง สาเหตุอีกข้อหนึ่งของการพูดโกหกคือการกลัวถูกลงโทษ ถ้าเป็นเช่นนั้น คำแนะนำง่ายๆ ก็คือคุณพ่อ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงคำขู่ที่จะทำให้ลูกกลัวจนต้องโยนความผิดให้คนอื่น หรือแม้แต่โยนความผิดให้ตุ๊กตาของลูกเอง

แม้ว่าการโกหกของลูกน้อยจะเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่รับไม่ได้ แต่ถ้าเมื่อเห็นว่าลูกโกหก คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาก่อนว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยของลูกหรือไม่ ถ้าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นในเด็กช่วงวัย 2 -3 ขวบ ลูกน้อยอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือแยกแยะความจริงกับจินตนาการได้ อาจจะพูดในสิ่งที่ตัวเองนึกขึ้นมา นั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติตามพัฒนาการ และควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “เด็กโกหก”

ลูกโกหกเก่ง
เพิ่งสังเกตว่าว่าลูกสาววัย 3 ขวบของเรานี่แหละ “พูดโกหก”

แต่ถ้าพฤติกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นในเด็กโต ตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป ที่สามารถแยกแยะความจริงกับจินตนาการได้แล้ว นั่นก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมโกหก การทำความเข้าใจสาเหตุว่าทำไมลูกน้อยถึงโกหกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้

1.เด็กบางคนโกหกเพื่อเอาตัวรอด หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษเมื่อตนเองทำอะไรผิดพลาด เช่น ไม่ได้ทำการบ้าน หรือทำของเสียหาย

2.เด็กบางคนต้องการได้รับความสนใจจากพ่อแม่ นั่นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกน้อยสร้างเรื่องเล่าให้เหนือคนอื่น ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น

3.เด็กบางคนโกหกเพื่อหวังผลประโยชน์อะไรบางอย่าง หรือเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น ซึ่งถือว่าเป็นความรุนแรงกว่ากรณีอื่นๆ คุณพ่อ คุณแม่ต้องประเมินแล้วว่าลูกมีพฤติกรรมเกเรอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ชอบขโมยของ ก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น ละเมิดกฎของสังคม ซึ่งบ่งชี้ว่า เด็กอาจมีปัญหาสุขภาพทางจิตร่วมด้วย

อ่าน “ลูกโกหกกับอาการป่วยทางจิต” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up