กรมสุขภาพจิตพบ! เด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เพราะพ่อแม่ให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ

event

ลูกติดโทรศัพท์

อาการ ลูกติดโทรศัพท์ – แท็บเล็ต เป็นอย่างไร?

ในเด็กที่ติดสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเข้าครอบงำจิตใจ ทำให้ขาดความสุขและขาดการเจริญเติบโตตามวัยอันควร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองควรสังเกต ว่าลูกมีอาการติดโทรศัพท์ – แท็บเล็ต หรือกำลังเข้าสู่การพัฒนาการในภาวะติดสิ่งเหล่านี้

1.สิ่งแรกเมื่อตื่นขึ้นมักถามถึง โทรศัพท์ – แท็บเล็ต ก่อนหรือถามถึงอยู่บ่อย ๆ ในระหว่างวัน
2.ใช้เวลาเล่น โทรศัพท์ – แท็บเล็ต เป็นเวลานานหากไม่ควบคุม
3.เมื่อคุณพ่อคุณแม่กลับถึงบ้าน ลูกไม่มาทักทายเพราะมัวสนใจแต่จะเล่น โทรศัพท์ – แท็บเล็ต เท่านั้น
4.เลิกทำกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ อยากแต่จะเล่น โทรศัพท์ – แท็บเล็ต เท่านั้น
5.พัฒนาตัวเองสู่พฤติกรรมการแยกตัวจากสังคม ในขณะที่เล่น โทรศัพท์ – แท็บเล็ต
6.แยกตัวและกระวนกระวายใจหลังถูกควบคุมไม่ให้เล่น โทรศัพท์ – แท็บเล็ต
7.มีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่ชอบใจหากถูกควบคุมไม่ให้เล่น โทรศัพท์ – แท็บเล็ต
หากสังเกตว่าลูกมีอาการเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจ แต่จะมีวิธีการช่วยเหลือ ที่ควรแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ในการจำกัดการเล่นโทรศัพท์ – แท็บเล็ต ไม่ให้ลูกติดได้ ดังนี้

หากเป็นเด็กเล็ก มี 2 แง่คิด ดังนี้

  1. คุณพ่อคุณแม่บางท่านเชื่อว่า การนำเอาเทคโนโลยีทุกสิ่ง ออกให้ห่างจากเด็กมากที่สุดเป็นเรื่องจำเป็น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง เชื่อว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ ยังคงพอมีประโยชน์อยู่บ้าง กลุ่มหลังนี้ให้การสนับสนุนต่อสื่อ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และควรไว้ใจเด็กๆ ควรช่วยให้ลูกเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด แต่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จัดให้ อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่
  2. การจำกัดเวลาเล่นเป็นสิ่งที่ช่วยได้มาก เพราะจะสร้างให้เด็กมีความสมดุลในการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกติดโทรศัพท์ – แท็บเล็ต ตั้งแต่อายุยังน้อย สนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามวัย จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้สายตาจ้องจอภาพของโทรศัพท์ และแท็บเล็ตเป็นเวลานาน

สำหรับเด็กโต สิ่งที่ทำได้ คือ

1.สอนให้ลูกมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ ตั้งข้อตกลง กฎการเล่นให้ชัดเจน และสร้างความปลอดภัยต่อการเข้าเล่น ดาวน์โหลดข้อมูลไว้ล่วงหน้าก่อน การปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างให้ลูกเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการแก้ไขพฤติกรรมการติด

2.กำจัดเวลาในการเล่นในแต่ละสัปดาห์ ไม่ควรเกิน 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงต่อครั้ง ตามอายุของเด็ก

3.ช่วยส่งเสริม และให้กำลังใจแก่ลูกในการทำงานอดิเรกใหม่ ๆ อย่างอื่น เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและไม่มีเวลาคิดถึงเกมในโทรศัพท์ หรือ แท็บเล็ต

4.คุณพ่อและคุณแม่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูก สร้างปฏิสัมพันธ์ พูดคุย เล่น และทำกิจกรรมกับลูก อย่าเล่น หรือติดเกมต่างๆ ให้ลูกเห็น เพราะลูกจะทำตาม

นอกจากนี้แล้ว ยังมีงานวิจัยที่กล่าวถึงการแผ่รังสีจากโทรศัพท์และแท็บเล็ต อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งสมองได้หากใช้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี ขอให้คุณพ่อคุณแม่ ตระหนักไว้เสมอว่า สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือทีวี ไม่ใช่พี่เลี้ยงสำหรับเด็กๆ เพราะของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกคือตัวคุณพ่อคุณแม่เอง ขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอนะคะ

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up