รับมือแบบวิน-วิน เตาะแตะหัวฟัดหัวเหวี่ยง

Alternative Textaccount_circle
event

5 วิธีไม่เวิร์ค หยุดฤทธิ์เตาะแตะ

1. ถามยาว และมากมาย

คุณหมอกรีนอธิบายว่า “เด็กวัยสองขวบยังไม่มีความรู้ และไม่สามารถใช้ภาษาบรรยายความรู้สึกได้” ดังนั้น การระดมคำถามไปยังลูกที่กำลังแผลงฤทธิ์อยู่ เช่น “ทำไมถึงทำอย่างนั้นกับน้องล่ะลูก?” หรือ “อยากได้อะไรล่ะลูก?” จะยิ่งเป็นการยืดระยะเวลาการงอแงของลูกออกไปอีก เพราะจะยิ่งทำให้เขาสับสนกับระบบการพูด และการคิดมากขึ้น

2. ร่ายเหตุผล

“ลูกไม่ต้องเอากล้วยมาปอก เพราะแม่ปอกไปให้แล้ว” ยิ่งอธิบายเหตุผลกับลูกน้อยที่กำลังร้องไห้ ยิ่งเสียเวลา คุณหมอโกลด์อธิบายว่า “ขณะกำลังโกรธ ร้องโวยวาย สมองส่วนลิมบิคซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์กำลังทำงาน สมองระดับสูงซึ่งควบคุมการมีเหตุผลจึงยังทำงานไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้เหตุผลกับเด็กที่กำลังงอแง”

3. ตะคอก

เด็กวัยเตาะแตะพร้อมเก็บทุกภาพการแสดงออกทุกอย่างของพ่อแม่ รวมถึงการแสดงออกที่ไม่ดีทางอารมณ์ด้วย ดังนั้น อย่าไปแพ้ทางลูก ให้สูดลมหายใจลึกๆ และเตือนตัวเองว่า “เราเป็นผู้ใหญ่แล้ว พ่อแม่ที่น็อตหลุดโวยวายให้ลูกเห็น จะส่งผลกระทบได้ในระยะยาว” นักวิจัยจากมหาวิทยาลับโอเรกอนสเตทพบว่า พ่อแม่ที่โกรธง่ายและเอะอะตึงตังจนเกินพอดีมักจะมีลูกที่มีพฤติกรรมในแบบเดียวกันด้วย

4. เอาแต่ขู่

ถ้าคุณบอกลูกที่กำลังกรี๊ดอยู่ว่าคุณจะปิดโทรทัศน์แล้วนะ แต่ไม่ปิด หรือถ้าบอกไม่ให้ของที่เขาต้องการ แต่ในที่สุดก็ทนกับความโกรธเกรี้ยวของเขาไม่ได้และต้องยอมให้ไป คุณก็เป็นเพียงเสือกระดาษ

หากจะลงโทษลูกให้ทำบัดเดี๋ยวนั้น ด้วยท่าทีที่สงบและไม่ใช้อารมณ์ พูดจริงทำจริงอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าลูกรู้ว่าทำผิดแล้ว จะถูกทำโทษจริงๆ ลูกก็จะคิดก่อนทำมากขึ้น

5. หมางเมิน

เด็กๆ มักจะทำอะไรไม่ถูก หาทางลงไม่เป็น ไม่รู้จะทำไงดีในเวลาที่งอแงอาละวาด ดังนั้นการหมางเมินทำเฉยใส่ลูกก็คือการทอดทิ้งลูกในช่วงเวลาที่ลูกอ่อนแอ คุณหมอโกลด์แนะนำว่า ให้บอกลูกด้วยน้ำเสียงปกติ ท่าทีที่สงบว่า “แม่จะอยู่ตรงนี่แหละ จนกว่าลูกจะหาย” จะช่วยยับยั้งความกราดเกรี้ยวของลูกให้ลดลง ซึ่งแตกต่างจากการพูดประชด ซึ่งจะทำให้ลูกยิ่งอาละวาดหนักขึ้นไปอีก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up