เมื่อลูกอยากทดสอบ ” ขนาด “

Alternative Textaccount_circle
event

แต่มันใหญ่เกินตัวหนูน้อยไปมากๆ สูงเลยหัวเข่าของเขาขึ้นมาอีก ถัดจากวันนั้น หนุ่มน้อยหันมาพยายามจะบีบตัวเข้าไปในของที่เล็กกว่า อย่างเช่น เก้าอี้เด็ก (ที่เล็กพอดู) และพับตัวลงไปนั่งในถังของเล่น (ที่เล็กเกินไปมากๆ) เห็นแล้วคุณแม่ก็ได้แต่ขำ แล้วก็นึกฉงนในใจว่าเจ้าตัวน้อยพยายามจะทำอะไรกันแน่

 
ก็ใครจะอดไม่ขำได้ล่ะ ถึงแม้ว่าลูกไม่ได้ตั้งใจจะทำให้เราขำก็เถอะ วัยราว 1 ขวบครึ่ง ที่เด็กสามารถเดินได้คล่องและสามารถจดจำเงาสะท้อนของตัวเองในกระจกได้ เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้เกี่ยวกับ “ที่ทาง” อันเหมาะเจาะของตัวเองในโลกใบนี้ ทุกๆ ครั้งที่เขาลากเกือกคู่ยักษ์ของคุณมาสวมหรือปีนลงไปในกล่องนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัยอธิบายว่า เขากำลังเรียนรู้เรื่องของการวัดระยะหรือมิติสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างกับวัตถุจากสิ่งของรอบๆ ตัว

 
เด็กจะยังไม่รู้ขนาดของร่างกายตัวเองจนกระทั่งถึงวัย 2 ขวบครึ่ง ฉะนั้นเตรียมพบกับภาพฮาๆ เหนือความคาดหมายอีกเยอะ ในระหว่างที่ลูกกำลัง “ปฏิบัติการทดสอบขนาด” อย่างขะมักเขม้น และระหว่างนี้คุณสามารถช่วยลูกเรียนรู้ได้

 
เล่นแต่งตัวกัน คุณก็เตรียมชุดของคุณ ลูกน้อย และน้องตุ๊กตาก็มีชุดพอดีขนาดของตัวเอง อย่าลืมเตรียมกล้องไว้ใกล้ๆ ด้วยนะ!

 
เลือกของเล่นต่อๆ ซ้อนๆ ของเล่นประเภทตัวต่อ หอคอยต่างๆ ชามหรือถ้วยพลาสติกหลายๆ ใบ นำมาเล่นซ้อนกัน ก็เป็นภาคปฏิบัติเรื่องการเรียนรู้ขนาดที่ดี

 
ให้รื้อค้นตู้ แต่อย่าลืมว่า คุณต้องสำรวจอย่างละเอียดแล้วว่าไม่มีของที่จะแตกหัก มีน้ำหนักมาก (อาจหล่นทับร่างกาย) หรือของแหลมคมใดๆ รวมถึงอุปกรณ์เล็กๆน้อยๆ ที่คุณไม่อยากให้เขาเล่น อย่าลืมระวัง “ชุดคอมโบ้” ที่จับคู่กันแล้วดูจะไม่ปลอดภัย อย่างรองเท้าส้นสูงกับบันได

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up