เมื่อลูกเตาะแตะวีนเวลาทำอะไรไม่ได้ดังใจ ทำไงดี!

Alternative Textaccount_circle
event

เวลาวาดรูปหรือต่อบล็อกแล้วไม่ได้อย่างใจคิด เด็กวัยนี้มักหงุดหงิด จนถึงขั้นร้องบ้านแตก จะป้องกันสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์แบบนี้อย่างไรดี

ความหงุดหงิดกับลูกวัยเตาะแตะเป็นของคู่กันตามธรรมชาติของเด็กเอง เพราะความต้องการมักเกินขีดความสามารถที่มีอยู่ แต่ความหงุดหงิดในระดับที่เหมาะสมก็จำเป็น เพราะช่วยกระตุ้นให้ลูกทำจนสำเร็จและมีพัฒนาการก้าวหน้าไปตามวัย ทั้งยังได้เตรียมพร้อมสำหรับโลกของผู้ใหญ่ในชีวิตจริงซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องที่จะทำให้หงุดหงิด คิดเสียว่าความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นทำให้ลูกมีโอกาสได้เรียนรู้ที่จะรับมืออย่างเหมาะสม แต่ความหงุดหงิดในระดับที่มากเกินรับมือไหวŽ ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการและความพยายามของลูกได้ สิ่งที่คุณช่วยลูกได้ก็คือ

1. เลือกของเล่นให้เหมาะกับวัยของลูก

คือควรเป็นของเล่นที่ท้าทายความสามารถ แต่ก็ไม่ยากเย็นเข็ญใจจนเกินความพยายามของลูกด้วย

2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความสำเร็จ

เช่น เตรียมบันไดเตี้ยไว้ใกล้ๆ อ่างล้างหน้าหาหวีสำหรับเด็กไว้ให้ลูกหวีผมเอง และซื้อรองเท้าแบบแปะด้วยตีนตุ๊กแก

3. ฝึกทักษะให้ลูก

เช่น สอนวิธีเก็บของเล่นให้เรียบร้อย วิธีใช้อุปกรณ์ศิลปะต่างๆ วิธีต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่างๆ และวิธีสวมเสื้อผ้า ควรอดทนสอนลูกให้ทำเอง ไม่ใช่ทำให้เขาซะเองหมดทุกอย่าง ลูกจะได้รู้จักพึ่งพาตัวเองเมื่อโตขึ้น

4. อย่าเพิ่มความหงุดหงิดให้ลูก

ด้วยการบ่นว่าบ่อยๆ และคาดหวังในตัวลูกมากเกินไป แค่หงุดหงิดเพราะไม่ได้อย่างใจของเขาเองก็เครียดพออยู่แล้ว

5. ช่วยให้พอเหมาะ

ถ้าลูกอยากแก้ปัญหาด้วย “ตัวเอง” คุณก็ไม่ต้องยื่นมือเข้าไปช่วย แต่ถ้าเขาต้องการให้คุณช่วย คุณก็ช่วยด้วยการแนะวิธีที่ถูกต้อง แต่ไม่ทำให้ทั้งหมด เพื่อให้ลูกภูมิใจที่ได้ทำจนสำเร็จ (แม้ที่จริงคุณจะเป็นฝ่ายลงมือทำเกือบทั้งหมดก็เถอะ!)

6. สนับสนุนลูก

เมื่อเขาอยากพยายามต่อไป ด้วยการกล่าวชมเชยที่เขาไม่ละความพยายามไปง่ายๆ

 

แต่ถ้าลูกอยากเลิกล้มความพยายามก็ต้องปล่อยเขา อย่ากดดันให้เขาพยายามต่ออีกสักครั้ง เพราะการล้มเลิกความพยายามเป็นวิธีรับมือที่ยอมรับได้สำหรับเด็กวัยนี้และการรู้ว่าเมื่อไรควร “ละมือŽ” ก็เป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กทุกวัย ให้บอกลูกว่าคุณภูมิใจในความพยายามของเขานะ แต่การเลิกล้มความพยายามก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลย ไว้วันหลังค่อยลองใหม่ก็ยังได้

สังเกตท่าทีของลูกด้วย อย่าปล่อยให้หงุดหงิดจนอาละวาดหนัก เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ไปกันใหญ่ค่ะ

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up