สปสช. จัดสิทธิประโยชน์ “บัตรทอง” ดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็กไทย!

event

บัตรทองเด็ก

การทำบัตรทอง

ผู้ถือบัตรทองจะได้รับการบริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ การสาธารณสุข และการอนามัยอันจำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค

การป้องกันโรค การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล การป้องกันความพิการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการอื่นใดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่หน่วยบริการจัดขึ้น โดยไปรับบริการได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

ผู้มีสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่

  • ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่  สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน
  • กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้านหรือที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ ชั้น M  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร 1330

ใช้หลักฐานดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีรูปถ่ายติดอยู่
  2. สำเนาสูติบัตร ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
  4. กรณีที่พักอาศัยไม่รงกับทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆดังนี้
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ผู้ขอลงทะเบียนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
  6. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียน พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ พร้อมสำเนาบัตรผู้นำชุมชนของผู้รับรอง
  7. ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำหรือค่าไฟหรือค่าโทรศัพท์)หรือใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก หรือสัญญาค่าเช่าที่พัก ที่ระบุชื่อของผู้ขอลงทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดิม(กรณีที่ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ)
  8. หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่สามารถยื่นคำร้องขอลงทะเบียนด้วยตนเองพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

ทั้งนี้ การเลือกหน่วยบริการประจำหลักๆจะยึดตามพื้นที่อยู่อาศัยจริงค่ะ เนื่องจากโครงการฯยึดหลักการ ใกล้บ้านใกล้ใจ ทำให้หน่วยบริการสามารถดูแลผู้มีสิทธิได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้มีสิทธิเองด้วยค่ะ เมื่อมีการเจ็บป่วยจะสามารถรับบริการจากหน่วยบริการใกล้บ้านได้และจะได้รับการดูแลกรณีส่งเสริมสุขภาพด้วยนะคะ

“ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทองคือประชาชนคนไทยทุกคนที่ยังไม่มีสิทธิใดๆจากหลักประกันอื่น “

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ผู้ยกเว้นการใช้สิทธิ์บัตรทอง

  1. ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
  2. ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
  3. ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ

วิธีการใช้สิทธิ์เมื่อเจ็บป่วย

  • เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่ระบุในบัตรทอง
  • แสดงความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง
  • แสดงบัตรทองพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร หรือใบเกิด)
  • ควรไปรักษาในเวลาทำการ หรือเวลาที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลกำหนด

กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

  • เข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง หรือโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
  • กรณีฉุกเฉินไปรักษาโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ได้ระบุในบัตรทองได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี

บริการที่ได้รับความคุ้มครอง

  • การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการควบคุมโรค
  • การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
  • การดูแลสุขภาพเด็ก พัฒนาการและภาวะโภชนาการ รวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามแผนงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
  • การตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง
  • การวางแผนครอบครัว (ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด และการทำหมันถาวร)
  • ยาต้านไวรัสเอดส์
  • การเยี่ยมบ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
  • การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว
  • การให้คำปรึกษา (counseling) และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ
  • การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำ ด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ รวมทั้งการเคลือบหลุมร่องฟัน

บริการด้านการตรวจวินิจฉัย

  1. การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ทั้งนี้ รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการ
  2. การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง กรณีที่บุตรมีชิวิตอยู่ (กรณีบุตรคลอดแล้วรอดออกมามีชีวิต)โดยนับตั้งแต่ใช้ สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพ
  3. ค่าอาหาร และค่าห้องสามัญ
  4. การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
  5. ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
  6. การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th , www.urnurse.net , www.gotoknow.org

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up