โรคเด็กขนแปลง ใช้หมากแล้วจะหายจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event

เด็กขนแปลง

โรคขนคุด (Keratosis pilaris หรือย่อว่า KP) พบได้สองลักษณะคือ

  • แบบที่ 1 เริ่มเป็นในเด็กเล็กคือ ก่อนอายุ 2 ขวบและอาการดีขึ้นก่อนเข้าสู่วัยรุ่น
  • และแบบที่ 2 เริ่มเป็นในวัยรุ่นและอาการดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางคนในโรคนี้ อาการจะหายไปเองเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ แต่มีส่วนหนึ่งที่อาการยังเป็นต่อไป

โรคขนคุด เป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณ 50-80% ในเด็กและวัยรุ่นทั่วโลก และประ มาณ 40% ในผู้ใหญ่ทั่วโลกเช่นกัน ทั้งนี้พบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชาย

กลไกและสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคขนคุด

โรคขนคุด เกิดจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง (Keratiniza tion) ที่ส่งผลให้บริเวณรูขุมขน มีการอุดตันของรูขุมขนด้วยสารเคอราติน ที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า Keratin plug ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง

เนื่องจากกระบวนการทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเองโดยพื้นฐานความผิดปกติทางพันธุกรรมของการสร้างเซลล์ผิว โรคขนคุดจึงไม่ใช่โรคติดต่อ

อาการของโรคขนคุด

จากการสะสมของโปรตีนเคอราติน อุดตันรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกพ้นผิวหนังออกมาได้ตามปกติ จึงเกิดเป็นตุ่มตามรูขุมขนมากมาย ทำให้ผิวหนังดูสากคล้ายกระดาษทราย หรือหนังไก่ บริเวณที่พบได้ คือ ต้นแขนด้านนอก ต้นขาด้านนอก บริเวณใบหน้าก็สามารถเกิดได้เช่นกันซึ่งมักพบในเด็ก และอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสิว ตุ่มจากโรคขนคุดเหล่านี้ มักไม่มีอาการอื่น (เช่น คัน เจ็บ) และมีสีออกสีเนื้อ พบได้บ้างที่มีการอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีรอยแดงรอบรูขุมขน และมีอาการคันร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของอาการ/ลักษณะตุ่มในแต่ละคนค่อนข้างมาก ตั้งแต่ตุ่มแดงอักเสบชัดเจน จนถึงมีอาการเล็กน้อย มีตุ่มไม่มาก และในเรื่องความสากของผิวหนัง

การดูแลรักษา เมื่อเป็นโรคขนคุด

เนื่องจากสาเหตุการเกิดโรคขนคุด มีพื้นฐานมาจากพันธุกรรม ดังนั้นจึงไม่สามารถป้อง กันโรคนี้ได้ แต่การรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังจะช่วยลดการเกิดของอาการได้หลักในการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคขนคุด คือ การรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยการทาโลชันให้ความชุ่มชื้น, การใช้สบู่อ่อนๆ (เช่น สบู่เด็กอ่อน), และงดอาบน้ำอุ่น ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเกิดผิวแห้ง จึงลดการกำเริบของอาการ

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็น โรคเด็กคนแปลง หรือโรคขนคุด หากคุณพ่อคุณแม่ สังเกตเห็นลูกน้อยมีลักษณะขนที่ขึ้นแบบแลกๆ ในทารกแรกเกิด ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง พร้อมรักษาอาการให้ลูกน้อยหายได้โดยเร็ว เพื่อไม่ให้กลายเป็นร้ายแรงไปในที่สุด

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล แพทย์ผิวหนังโรคขนคุด (Keratosis pilaris) haamor.com

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up