ไข้ หรือ ตัวร้อน

ไข้ หรือ ตัวร้อน เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ และดูอาการลูกให้เป็น!!

Alternative Textaccount_circle
event
ไข้ หรือ ตัวร้อน
ไข้ หรือ ตัวร้อน

ควรดูแลลูกน้อยเมื่อมี ไข้ ตัวร้อน ในเบื้องต้นอย่างไร?

เวลาที่ลูกมีไข้ ตัวร้อน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักเกิดความกังวลใจมาก อาจเนื่องด้วยไม่เคยมีประสบการณ์ในการดูแลเด็กเล็กกันมากก่อน อย่างแรกที่จะขอแนะนำคือ ให้ตั้งสติ และวัดอุหภูมิร่างกายให้ลูกด้วยการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิตอล หรือจะใช้แบบปรอทวัดไข้ธรรมดาก็ได้ และเมื่อวัดไข้ให้ลูกแล้ว อุณหภูมิร่างกายมีไข้ต่ำๆ ก็สามารถดูแลบรรเทาอาการไข้ให้ลูกได้เองที่บ้าน แต่หากอาการไข้ลูกไม่ลดลง หรือเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ควรต้องพาลูกไปพบคุณหมอในทันทีนะคะ

 

ไข้ หรือ ตัวร้อน
Credit Photo : istock

 

สำหรับการวัดอุณหภูมิไข้ให้ลูกน้อย สามารถวัดได้ ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถเลือกวัดอุณหภูมิตามความเหมาะสมได้ ดังนี้

1. การใช้ปรอทวัดไข้วัดทางปากโดยวางปรอทวัดไข้ไว้ใต้ลิ้น

2. การใช้ปรอทวัดไข้วัดทางทวารหนัก

3. การใช้ปรอทวัดไข้วัดทางใต้รักแร้ ด้วยการใส่ปรอทวัดไข้ไว้บนสุดของซอกรักแร้

4. การใช้ปรอทวัดไข้วัดความดันทางหู

 

การวัดไข้ให้ลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามาถทำได้เองในเบื้องต้นนะคะ เพราะเวลาที่พาลูกไปส่งโรงพยาบาลทางคุณหมอ พยาบาลจะถามถึงอุณหภูมิที่วัดได้ล่าสุด เพื่อประเมินอาการไข้ และวัดอุณหภูมิไข้ให้ลูกอีกครั้งด้วยค่ะ  ระหว่างนี้หลังจากวัดไข้ให้ลูกแล้ว ก็ควรดูแลบรรเทาลดไข้ให้ลูก ตามนี้ค่ะ

  • ลูกอายุ 3-6 เดือน มีอุณหภูมิขึ้นสูงถึง 38 องศาเซลเซียส และลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป มีอุณหภูมิขึ้นสูงถึง 39 องศาเซลเซียส ระหว่างทางไปพบแพทย์ควรเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกด้วย
  • ถ้าลูกขวบปีแรกเป็นไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง ทำการลดไข้ด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว ไม่หาย มีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการกระสับกระส่าย ร้องไห้ไม่หยุด ซึมหายใจเร็วหอบ ชัก อาเจียน หรือท้องเสีย เป็นต้น
  • ระวังอาการชัก หากลูกไข้ขึ้นสูงเกิน 39 องศาเซลเซียส คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวังว่าลูกอาจเกิดอาการชักได้ ซึ่งต้องทำการลดไข้โดยด่วน ด้วยการนำผ้าขนหนูชุบน้ำมาไว้ตามข้อพับเพื่อการระบายความร้อน4

อ่านต่อ >> “วิธีรักษา ไข้ หรือ ตัวร้อน อย่างถูกต้องจากคุณหมอ” หน้า 4 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up