การกอดลูก

3 ข้อดีของ การกอดลูก สิ่งอุ่นใจที่สุดที่พ่อแม่ควรมอบ!

Alternative Textaccount_circle
event
การกอดลูก
การกอดลูก

การกอดลูก ทำได้ตอนไหนบ้าง?

การกอดลูก ทั้งอ้อมกอดและการจุ๊บ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างอารมณ์ในทางบวก ทำให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองได้มากขึ้น ทีมแม่ ABK จึงอยากให้คุณแม่เพิ่มเติมความรักด้วย การกอดลูก กันค่ะ โดยสามารถกอดลูกได้ในช่วง

• ยามลูกเสียใจ

ดร.เคนเน็ธ รูบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการมนุษย์จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจ  พาร์ค  อธิบายว่า “ส่วนใหญ่แล้วความพ่ายแพ้มักจะให้บทเรียนชีวิตกับเด็กๆ ได้มากกว่าชัยชนะ ดังนั้นเมื่อลูกทำผิดพลาดขอให้คุณเข้าใจและพร้อมจะอยู่กับลูกด้วยอ้อมกอดและความรัก”

• กอดเมื่ออยากกอด

ทุกช่วงเวลาที่ดี หรือแม้แต่เวลาเครียดๆ หรือหลังการทะเลาะครั้งใหญ่เวลาก่อนออกจากบ้านไปทำงาน ก่อนนอน หรือเวลาลูกเสียใจ หรือตอนลูกทำให้คุณหัวเราะได้ระหว่างรับประทานมื้อเย็น  ทุกช่วงขณะล้วนเป็นเหตุผลที่คุ้มค่าของการกอดแล้วละ หรือจะกอดในรถระหว่างรถติดไฟแดงก็ได้ ไม่มีข้อห้ามใดๆ เลย

• ปรับเปลี่ยนวิธีแสดงความรัก

ถ้าหากว่าลูกเริ่มรู้สึกเขินๆ เวลาถูกกอดหรือจูงมือ  คุณแม่อาจจะเปลี่ยนวิธีการแสดงออกเป็นการขยี้ผมยุ่งๆ ลูบหัวเบาๆ ชวนลูกเต้นรำ หรือยิ้มให้บ่อยขึ้นก็ได้เหมือนกัน

7 วิธีสร้างสัมพันธ์ หากลูกเบบี๋ไม่ให้กอด

อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กเล็กๆ ท่าทางไร้เดียงสา น่ามันเขี้ยว น่าฟัดน่าหอมทั้งนั้น แต่บางคนก็ไม่ชอบให้ใครมาถูกหรือสัมผัสตัวมากๆ (แม้แต่พ่อแม่!) ถ้าเข้าไปกอดเขาตอนนั้น เขาอาจจะแอ่นหลัง ดิ้น หรือแสดงท่าทางสีหน้าว่ารำคาญจนสังเกตเห็นได้ คุณแม่บางคนที่เจอแบบนี้อาจเสียความรู้สึกนิดๆ ว่า ถูกลูกปฏิเสธ แต่เรื่องนี้แก้ไม่ยากเพราะยังมีเทคนิคให้คุณสร้างความใกล้ชิดผูกพันกับลูกได้อีกหลายวิธี เช่น

1. ทดลองเปลี่ยนวิธีสัมผัสหรือกอด เด็กทารกบางคนอาจไม่ชอบการสัมผัสที่แผ่วเบาอ่อนโยนเป็นจังหวะ เพราะพื้นนิสัยเป็นเด็กขี้รำคาญ ลองเปลี่ยนวิธีสัมผัสให้มีการลงน้ำหนักมือมากขึ้น เช่น ลองลูบเนื้อตัวขณะที่สวมเสื้อผ้าให้เขา หรือเปลี่ยนมาเป็นการนวดสัมผัสแบบต่างๆ ดูก็ได้ เผื่อลูกจะชอบ

2. นอนเล่นด้วยกันบนพื้น แค่คุณนอนข้างๆ เขา แล้วพูดคุย หรือร้องเพลง เป่าปาก สายสัมพันธ์แม่ลูกก็แน่นแฟ้นขึ้นได้นะ

3. ฉวยโอกาสกอดเล่นขณะทำกิจกรรมอื่น เช่น ช่วงขณะเปลี่ยนผ้าอ้อมหรืออาบน้ำ เป็นโอกาสให้ได้ทั้งสัมผัสและเล่นกัน หากลูกไม่ชอบให้กอดอย่างเป็นทางการ ฉวยจังหวะนี้แหละเอาคืนเสียเลย

4. เต้น การกอดเฉยๆ อาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หากเคลื่อนที่ไปด้วยอาจช่วยได้ เช่น กอดและเต้นไปด้วยพร้อมกับร้องเพลงสนุกๆ ไปพลาง พอให้ลูกรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวบ้าง อาจช่วยลูกให้อึดอัดน้อยลงก็ได้

5. อ่านหรือเล่านิทาน การได้เห็นภาพและได้ยินเสียงของแม่ แม้อยู่ในอ้อมแขนคุณ จะช่วยให้เขาสบายใจ และลดความรู้สึกอึดอัดลงได้

6. ห่อผ้า การห่อผ้าทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย คราวนี้ใครจะกอดละก็ พอหยวนๆ ยอมกันได้

7. เปลี่ยนท่า บางทีท่าอุ้มทั่วไปที่ลำตัวด้านหน้าหรือด้านข้างของเขาหันเข้าหาตัวคุณแม่อาจทำให้เด็กอึดอัด (เพราะพุงเกิดชนพุง) ลองอุ้มหันหน้าออกให้ลูกสำรวจโลกรอบตัวบ้าง เขาอาจจะชอบแถมสัมผัสแม่ลูกก็ไม่จืดจางด้วย

เพราะการกอดลูก หนึ่งในการแสดงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีได้ทั้งสมอง ร่างกายและจิตใจ จึงถือเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูกที่สำคัญ หากลูกไม่ชอบให้กอด พ่อแม่ก็สามารถสร้างสัมพัมธ์มอบความรักในแบบอื่นกับลูกดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ เพื่อให้ลูกได้รับรู้ถึงความรักที่พ่อแม่มีให้

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก : 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up