ลูกติดใจนมแม่ที่สุด

Alternative Textaccount_circle
event

เขาจะได้รับนมน้อยเกินไปหรือเปล่า ให้กินชีสแผ่นทดแทนนมชงได้ไหม และเด็กวัยนี้ควรมีน้ำหนักตัวสักเท่าไร

 
หมอขอแสดงความยินดีที่คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะปัจจุบันมีเด็กไทยแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีโอกาสเช่นนี้ นอกนั้นเป็นเด็กที่ดูดนมชงอย่างเดียวหรือดูดร่วมกับนมแม่

 
การที่ลูกได้ดูดนมแม่อย่างเดียวล้วนๆ ย่อมลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้และโรคอ้วน และทำให้สามารถให้นมแม่ไปได้นานเท่าที่ต้องการเพราะถ้าดูดร่วมกับนมชง เมื่อลูกอิ่มเสียแล้ว การดูดกระตุ้นที่เต้านมก็จะยิ่งน้อยลง ทำให้น้ำนมแม่ลดและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งลูกได้ดูดนมแม่นานๆ ก็จะยิ่งแข็งแรงและฉลาด

 
คนเราไม่จำเป็นต้องดื่มนมวัว ยิ่งถ้ามีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวก็ยิ่งควรหลีกเลี่ยงนมวัวในช่วงขวบปีแรกเพื่อลดโอกาสเสี่ยง คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าการปฏิเสธนมวัวจะทำให้ลูกไม่สูง เพราะเราสามารถกินอาหารอื่นที่มีธาตุแคลเซียมทดแทนได้ เช่น ถั่วเหลืองเต้าหู้ ถั่วเมล็ดแห้ง งาดำ บรอกโคลี กะหล่ำปลี ผักคะน้า ปลาป่น ปลากระป๋อง และกุ้งแห้ง เป็นต้น

 
การกินชีสแผ่น (1 แผ่นให้แคลเซียมเท่านม 1 แก้ว) หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากนม ก็ช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเช่นกัน (ไม่แนะนำให้ดื่มนมเปรี้ยวหรือกินโยเกิร์ตรสอื่น เพราะน้ำตาลสูง) นอกจากนี้ยังมีน้ำผลไม้เสริมธาตุแคลเซียมให้เลือกด้วย หรือถ้าลูกเป็นเด็กที่ค่อนข้างกินยาก การเคี้ยวแคลเซียมเม็ดก็ช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเช่นกัน

 
เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนต้องการแคลเซียมวันละ400 มิลลิกรัม อายุ 6 – 12 เดือนต้องการ 600 มิลลิกรัม อายุ 1 – 5 ขวบต้องการ 800 มิลลิกรัม อายุ 6 – 10 ขวบ ต้องการ 800 – 1,200 มิลลิกรัม และอายุ 11 ขวบขึ้นไป ต้องการ 1,200 – 1,500 มิลลิกรัม หากกินเกินปริมาณที่ต้องการ ร่างกายก็จะขับออกมาทางอุจจาระและปัสสาวะ

 
ปริมาณแคลเซียมที่ได้จากน้ำนม ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ นมวัว หรือนมถั่วเหลือง จะใกล้เคียงกัน แต่ชนิดที่อยู่ในนมแม่ ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้มากที่สุด คือ 250 – 300มิลลิกรัมต่อนม 8 ออนซ์ (240 ซี.ซี.) แต่คุณแม่ไม่ต้องเครียด ถ้าลองปั๊มนมดูแล้วพบว่าได้นมไม่ถึงครั้งละ 8 ออนซ์เพราะการปั๊มจะได้นมน้อยกว่าให้ลูกดูดจากเต้าโดยตรงค่ะ

 
ถ้าลูกดูดนมแม่วันละ 2 ครั้ง เขาก็จะได้รับแคลเซียมประมาณ 400 – 500 มิลลิกรัม ให้คุณแม่หาอาหารที่มีแคลเซียมสูงเสริมให้อีกนิดหน่อย เขาก็จะได้รับแคลเซียมในปริมาณตามที่ร่างกายต้องการอย่างไรก็ดี แม้ว่าชาวเอเชียจะดื่มนมหรือรับแคลเซียมเข้าร่างกายน้อยกว่าชาวยุโรปอยู่มาก แต่กลับพบปัญหากระดูกพรุนน้อยกว่า แสดงว่าแคลเซียมจากลำไส้มีการดูดซึมแล้วไปจับที่กระดูกได้มากกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะบ้านเรามีแสงแดดมาก จึงช่วยสังเคราะห์วิตามินดีซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้างกระดูกให้แข็งแรง

 
หมอไม่อยากให้คุณแม่ยึดติดกับตัวเลขว่าลูกต้องดื่มนมได้เท่านั้นเท่านี้ แต่ควรกำหนดอาหารให้เขากินเฉพาะของที่มีประโยชน์เท่านั้น และไม่ให้กินขนมหวานถ้าหิว เขาจะได้กินข้าวหรือนมแม่มากขึ้น ลูกของคุณแม่อาจเป็นเด็กที่ไม่กินจุบจิบ จึงไม่ค่อยอ้วน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีค่ะ ตรงกันข้ามกับเด็กที่น้ำหนักมากเพราะกินของไม่มีประโยชน์และทำลายสุขภาพ ซึ่งน่าเป็นห่วงมากกว่า

 
อย่าหวั่นไหวไปกับคำพูดของคนอื่น เช่น เพราะให้นมแม่นานไป ลูกจึงไม่ชอบนมวัว ก็เลยไม่โตŽ หรือ ถ้ากินนมวัวต้องน้ำหนักดีกว่านี้และสูงกว่านี้แน่Ž เพราะความเป็นจริงคือ ถ้าเด็กจะผอม ให้กินนมอะไรก็ผอมค่ะ กรรมพันธุ์ต่างหากที่เป็นตัวกำหนด

 
แม้แต่ลูกสองคนของหมอก็ยังไม่เหมือนกันเลยค่ะคนโตน้ำหนักตกเกณฑ์ตลอด ทั้งที่กินนมไม่น้อยเลย แต่รับพันธุกรรมของคุณพ่อมา (คุณพ่อน้ำหนักตกเกณฑ์เหมือนกันและกินข้าวไม่ค่อยเก่ง) ตรงกันข้ามกับลูกชายซึ่งน้ำหนักดี เพราะรับพันธุกรรมด้านการกินมาจากหมอซึ่งเป็นคนกินเก่ง (ขอเบิ้ลตลอด)

 
หมอเชื่อว่าลูกของคุณแม่ต้องเป็นเด็กฉลาด ร่าเริง อารมณ์ดี เรียนรู้เร็ว และแข็งแรงมาก ไม่ค่อยเป็นหวัดหรือท้องเสีย เมื่อลูกไม่ป่วย ถึงน้ำหนักตัวจะขึ้นแบบช้าๆไม่หวือหวา แต่ก็ไม่ได้ลดลงเพราะการเจ็บป่วยบ่อยๆเขาจะโตไปได้เรื่อยๆ ค่ะ ไม่ต้องกังวล

 
ถ้าคุณแม่อยากทราบว่าน้ำหนักตัวลูกควรเป็นเท่าไร หมอเคยเขียนไว้ใน Real Parenting ฉบับเดือนกันยายน2548 เรื่อง ลูกกินนมน้อยเกินไปไหมŽ ลองกลับไป

 

 

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up