มือเคาะประจำบ้าน

Alternative Textaccount_circle
event

เพราะคุณหนูๆ จะเริ่ม เคาะŽ ทุกอย่างที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นของเล่น ขวดนม ถ้วยใส่อาหารเสริมหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เผอิญเหลือบเห็นเข้าพอดี

 
การเคาะหรือทำท่าเหมือนตีกลองถือเป็นพัฒนาการก้าวใหญ่สำหรับลูก เพราะต้องอาศัยทักษะหลายอย่างประกอบกัน ทั้งการจับสิ่งที่จะใช้เคาะให้มั่นๆ จะได้ไม่หลุดมือ และการเล็งเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดเสียง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้กิจกรรมนี้น่าสนุกมากยิ่งขึ้น (อย่างน้อยก็ในสายตาของคนเคาะละน่า)

 
ลูกจะภาคภูมิใจกับทักษะใหม่ที่เพิ่งทำได้นี้เป็นอย่างมาก คุณจึงต้องพยายาม ยิ้มรับŽ ไปให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ พอรู้สึกว่าชักจะทนต่อไปไม่ไหวแล้ว ก็ต้องหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจ (ลองจับมือลูกไว้ทั้งสองข้างซึ่งทำให้เขาต้องรามือจากฝาหม้อที่กำลังเคาะอย่างเมามันไปโดยปริยาย แล้วโยกตัวไปมาขณะร้องเพลงเด็กที่เขาโปรดปรานมากที่สุด)

 
และต้องไม่ลืมว่าลูกยังเล็กเกินกว่าจะแยกแยะได้ว่า ไม่ควรเคาะโต๊ะกาแฟที่พื้นเป็นกระจก แต่ถ้าเป็นถาดข้าวพลาสติกก็ได้เลย คุณจึงต้องคอยระวังให้ลูกด้วย หรือไม่ก็พูดกับเขาว่าห้ามเคาะตรงนี้นะ !!(แต่กว่าลูกจะเข้าใจและทำตามที่คุณบอก อาจต้องคอยเตือนกันไปเรื่อยๆ อีกหลายครั้ง)

 
พออายุได้ราว 8 เดือน การเคาะของลูกจะมีที่มาที่ไปหรือดูมีเหตุผลมากขึ้น ไม่ใช่เคาะไปเรื่อยเปื่อยเหมือนตอนยังเล็กๆ…คราวนี้เสียงดนตรีฝีมือลูกคงฟังรื่นหูขึ้นมาบ้างแล้วละนะ

 

 

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up