เกือบ 1 ขวบหนูก็รู้ความแล้วนะ

Alternative Textaccount_circle
event

สักครู่เจ้าป่านก็จับกล่องกระดาษยื่นให้ คุณหมอฮาร์วี่ คาร์พ กุมารแพทย์ผู้เขียนหนังสือ the Happiest Toddler on the BlockŽ บอกว่า พัฒนาการทางภาษาที่สำคัญที่สุดคือเรื่องความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงแค่การพูดออกเสียง และจังหวะที่เขาอายุครบขวบพอดี เป็นช่วงแรกที่เด็กๆ จะเริ่มจับคำพูดแม่ได้ชัด และทักษะนี้จะ ค่อยๆ ฉายชัดขึ้น พอเห็นลูกเริ่มรู้ความ พ่อแม่มักมุ่งดูว่าลูกจะพูดได้กี่คำ แต่สิ่งสำคัญที่หมออยากเน้นมากกว่าคือ การสนใจสังเกตและช่วยเหลือเมื่อลูกเริ่มเข้าใจคำแล้วŽ

 
การพัฒนาความเข้าใจคำของวัยเตาะแตะ มีขั้นตอนให้คุณสังเกตได้ แรกสุด ลูกจะเริ่มเข้าใจจากสิ่งที่เขาคุ้นและใกล้ชีวิตเขามากก่อน เช่น ถามว่าพ่ออยู่ไหน ถ้าเขาเข้าใจ คุณจะเห็นลูกน้อยหันหาพ่อได้ถูก จากนั้นเขาจะพัฒนาขึ้น ชี้รูปสัตว์ สิ่งของตามที่พ่อแม่บอกได้ เช่น เวลาอ่านหนังสือนิทานด้วยกัน ไหน พี่วัว อยู่ตรงไหนนะŽและถ้าคุณแม่สังเกตต่อจะเห็นว่า ลูกแยกแยะของอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของคุ้นเคยในชีวิตเขาได้ แสดงว่าลูกก้าวหน้าไปอีก พ่อแม่ช่วยกระตุ้นต่อด้วยคำสั่งง่ายๆ ได้ อย่างเช่น เก็บรถไฟกลับเข้าในกล่องนะŽ

 
การช่วยลูกวัยนี้ให้เข้าใจภาษาได้ดีที่สุด คือ การพูดกับเขาบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้ บอกให้เขารู้ว่ารอบๆ ตัวเขามีอะไรบ้าง หรือจะคุยจะเล่าว่าคุณกำลังทำอะไร ไปไหน ได้ทั้งนั้น ยิ่งลูกโตขึ้น คุณควรฝึกให้เขาเข้าใจความหมายคำพูดได้ถูกต้อง พ่อแม่จึงควรใช้คำพูดและน้ำเสียงให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะเรื่องที่คุณต้องการปราม ห้าม น้ำเสียงควรสื่อให้ลูกเข้าใจได้ว่า คุณไม่ต้องการให้เขาทำอย่างนั้นจริงๆ เช่น ลูกกำลังเล่นเส้นบะหมี่หยิบมาวางบนหัว คุณแม่ห้ามเขา อย่าทำลูกŽ แต่ก็หัวเราะไปด้วย ลูกจะเข้าใจผิด แทนที่ลูกจะหยุด เขากลับยิ่งสนุกหยิบมาเล่นอีกเท่านั้น คุณเดือนเพ็ญ และด.ญ.นมิดา ศักดิ์ทองสิริ

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up