คำนวณส่วนสูง

ประสบการณ์ตรงของคุณแม่ เมื่อลูกน้อย “ไม่สูง”

Alternative Textaccount_circle
event
คำนวณส่วนสูง
คำนวณส่วนสูง

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่คนอื่นๆ ที่เป็นกังวลเรื่องความสูงของลูกน้อย เรามาดูวิธีคำนวณส่วนสูงของลูกน้อยกันค่ะ ว่าแบบไหนเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อหาทางแก้ไข และรักษาอย่างถูกต้อง ถ้าพบว่าลูกน้อย “ไม่สูง”

การคำนวณส่วนสูง และดัชนีมวลกายของลูกนั้น สามารถคำนวณได้จากความสูงของพ่อแม่ โดยมีหลักการคิดอยู่หลากหลายสูตร อาจมีการคลาดเคลื่อนกันบ้างเล็กน้อย ส่วนการคำนวณดัชนีมวลกายสามารถคำนวณได้จาก น้ำหนัก และส่วนสูง ควบคู่กัน เพราะปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการความสูง และพัฒนาการทางร่างกาย ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน การออกกำลังกาย โภชนาการ และการนอนหลับ

สูตรคำนวณความสูง (เมื่อลูกโตเต็มที่)

ความสูงลูกชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) / 2 ได้ความสูงบวกลบประมาณ 8 เซนติเมตร

ความสูงลูกสาว = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) / 2 ได้ความสูงบวกลบประมาณ 6 เซนติเมตร

สูตรคำนวณความสูง
สูตรคำนวณความสูง (เมื่อลูกโตเต็มที่)

สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก / (ส่วนสูง/100) ยกกำลัง 2

  • 40 หรือมากกว่านี้: โรคอ้วนขั้นสูงสุด
  • 0 – 39.9: โรคอ้วนขั้นที่ 2 ถ้ามีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนสูง ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
  • 5 – 34.9: โรคอ้วนขั้นที่ 1 ถ้ามีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. (ชาย) 80 ซม. (หญิง) จะมีโอกาสเป็นโรคความดัน เบาหวาน ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
  • 5 – 28.4: น้ำหนักเกินแล้ว ถ้ากรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
  • 5 – 23.4: น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ค่อยมีโรคร้าย ความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้อยกว่าคนอ้วน
  • น้อยกว่า 5: น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ถ้าออกกำลังกายมาก รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีพลังงานเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ค่า BMI คือค่าที่แสดงถึงดัชนีความอ้วน หรือผอมของร่างกาย วัดเพื่อดูว่ามีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี และเด็กที่ผอมเกินไปก็เสี่ยงติดเชื้อเพราะร่างกายมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ฉะนั้นควรรักษาน้ำหนักส่วนสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “ภาวะเด็กตัวเตี้ย และคำแนะนำจากคุณหมอ” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up