ลูกน้อยฆ่าตัวตาย

ลูกน้อยฆ่าตัวตาย ปัญหาสังคมที่พ่อแม่ต้องรีบแก้ไข

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกน้อยฆ่าตัวตาย
ลูกน้อยฆ่าตัวตาย

ลักษณะของเด็กที่พยายามฆ่าตัวตาย

เด็กที่พยายามฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี วิธีการที่นิยมใช้คือการกินยาแก้ปวด หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งพบว่าเด็กเหล่านี้ไม่ใส่ใจว่าจะอยู่หรือตาย เหตุผลที่ทำให้เกิดการพยายามยามฆ่าตัวตายที่พบบ่อยที่สุดคือ ความขัดแย้งกับผู้อื่น เช่น คนในครอบครัว หรือเพื่อน ส่วนเหตุกระตุ้นอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาที่โรงเรียน ปัญหาการติดยาเสพติด หารถูกกระทำทารุณ ทำร้ายร่างกาย และล่วงเกินทางเพศ การสูญเสียคนที่รัก ปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคร้ายแรง ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ

วิธีแก้ปัญหาการฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตายไม่ใช่โรคติดต่อ ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีเด็กฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้นจนน่าตกใจ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่าเด็กชายที่ขาดพ่อ จะควบคุมอารมณ์ได้ยาก และควบคุมความก้าวร้าวของตัวเองไม่ได้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ ให้ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูก ให้โอกาสพูดคุย เพราะพ่อแม่ยุคใหม่ไม่มีเวลาให้ลูก ต่างคนต่างทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง การขาดผู้ใหญ่คอยสนับสนุน ดูแลเอาใจใส่ทั้งร่างกาย และจิตใจ อาจทำให้เด็กมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้ง่าย

ลูกน้อยฆ่าตัวตาย

เครดิตภาพ: กลุ่มคนอาสา กู้ชีพ กู้ภัย Thailand

การป้องกันการฆ่าตัวตาย สอนลูกให้มีใจที่เข้มแข็ง

ครอบครัวคือ เกราะป้องกันที่ดี ที่จะทำให้ลูกน้อยมีความเข้มแข็งในจิตใจ ควรฝึกฝนลูกน้อยตั้งแต่ยังเล็ก ด้วยการพัฒนาทักษะความสามารถ ให้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ได้ พ่อแม่คือคนสำคัญที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้อย ซึ่งความเข้มแข็งในจิตใจประกอบด้วย 4 อย่าง ได้แก่

1.ความรู้สึกที่ดีกับตัวเอง ให้ความรัก ความเข้าใจ ส่งเสริมพัฒนาลูกน้อยตามความถนัด ให้ภูมิใจในตัวเอง

2.สอนให้รู้จักจัดการ และแก้ปัญหาชีวิต เผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน แล้วสามารถดูแลตัวเองได้

3.มีสายสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว โดยการให้ความรัก ความเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจ และไว้วางใจ

4.สอนให้ลูกรู้จักมีจุดมุ่งหมายในชีวิต จะทำให้ลูกรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า และพยายามประคับประคองชีวิต

banner300x250

เครดิต: ข่าวสด, Panatungthirawit Pan, หนังสือคู่มือเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up