แปรความคลั่งไคล้ ให้กลายเป็นกิจกรรมดีๆกัน

Alternative Textaccount_circle
event

มีครูคนใหม่ หรือเพื่อนคู่ใจเกิดย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่น กลไกการป้องกันจิตใจจะทำให้พวกหนูๆ มองหาสิ่งทดแทน และความรู้สึกยึดเหนี่ยวนี้ก็ยิ่งเหนียวแน่น จนบางครั้งกลายเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมไปโดยอัตโนมัติ

 
ตามปกติเด็กทั่วไปมักมีโลกฝันหรือภาพฮีโร่ที่ตนเองชื่นชม ไม่ว่าจะเป็นโจรสลัดอัศวินเจได หรือเจ้าหญิงบาร์บี้ และพวกเขาก็ใช้เวลาเป็นวันๆ หรือเป็นเดือนๆ เล่นสวมบทบาทเป็นตัวละครเหล่านั้น คุณหมอเคร็ก ดอนเนลลี่ หัวหน้าแผนกจิตเวชเด็กของศูนย์การแพทย์ดาร์ตเมาท์ฮิตช์ค็อกในเมืองแฮนโนเวอร์ รัฐนิวแฮมป์ตัน กล่าวว่า ความสนใจคลั่งไคล้ของลูกไม่ได้มีแต่

 
ข้อเสียอย่างเดียว เพราะความชอบนี้อาจช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะของการค้นหาข้อมูล รวมทั้งอาจทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ชอบไปเลย

 
เรามีไอเดียให้คุณลองนำสิ่งที่ลูกคลั่งไคล้มาสร้างกิจกรรมดีๆ ด้วยกัน

 
เปลี่ยนความชอบให้กลายเป็นผลงาน ชวนลูกมาเขียนนิทานหรือบทละครเกี่ยวกับฮีโร่ของเขา คุณอาจช่วยเริ่มต้นให้ด้วยประโยคสุดคลาสสิก กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เพนกวินอีวานได้ลงไปเล่นน้ำเย็นเจี๊ยบŽ แล้วปล่อยให้ลูกเล่าเรื่องต่อ(ที่จริงแม่จะแอบเนียนเปลี่ยนนิทานก่อนนอน เป็นชั่วโมงช่วยกันเล่าเรื่องก็ได้นะ)

 
สร้างสรรค์เกมสนุก เปลี่ยนมุมต่างๆ ของสวนสาธารณะให้กลายเป็นโลกจูราสสิกที่เหล่าไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่ หรือลองหาข้าวของอุปกรณ์ในบ้านที่ไม่ใช้แล้วมากองให้เขาลองประกอบร่างสร้างของแปลกๆเหมือนเจ้าหนูนักประดิษฐ์ ตัวละครที่ลูกชื่นชอบ จะช่วยให้เขาสนใจเกมเหล่านี้ได้ง่ายและนานขึ้น

 
เป็นพวกเดียวกับลูก มาเรียนรู้กันว่าฮีโร่ของลูกมีดีตรงไหน ทำไมถึงได้ชอบนักหนา เปิดห้องเรียนสอนที่มาที่ไปกันเลยก็ได้ คุณครูก็ไม่ใช่ใครที่ไหน พ่อหนูแม่หนูพลพรรคคนรักฮีโร่เหล่านั้นแหละ เด็กๆ จะรู้สึกตื่นเต้นที่ได้โชว์ความรอบรู้ของตนให้ผู้ใหญ่เห็น และเขาก็จะรู้สึกว่าพ่อแม่กลายเป็นพวกเดียวกันแล้ว

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up