วิธีแนะนำลูกแสดง “ความเห็นต่าง” อย่างเหมาะสม

Alternative Textaccount_circle
event

รู้จักแสดง ความเห็นต่างอย่างเหมาะสม

 
ดร.ไมร์น่า ชูวร์ ผู้เขียนหนังสือ “Thinking Parent, Thinking Child” อธิบายว่า “ตอนเป็นเด็กก็มักจะคิดหรือเชื่อตามคำผู้ใหญ่พูด แต่พอเข้าวัยทวีน ลูกคุณเริ่มตั้งคำถามหรือมีความสงสัยต่อเรื่องอำนาจหรือกติกา นั่นแสดงว่าลูกคุณกำลังเริ่มพัฒนาค่านิยมเรื่องต่างๆ แล้ว”

 
อย่างเหตุการณ์นี้ เมื่อครูไม่อนุญาตให้เด็กๆ เล่นบอลช่วงพัก แคลร์ ลูกสาวอายุ 9 ขวบเล่าให้แม่ฟังว่า เธอไม่เห็นด้วยและต่อต้านด้วยการชวนเพื่อนๆ มายืนตะโกนเรียกร้อง “พวกหนูจะเล่นบอล เล่นบอล!!”

 
วิธีนี้ก็ดูน่าสนุก มีสีสันดีสำหรับเด็กๆ แต่ไม่น่าจะใช่วิธีที่ดีหรือเหมาะสม แม่จึงแนะนำอีกวิธีหนึ่ง ให้แคลร์ลองเขียนจดหมายถึงครูใหญ่เพื่อขออนุญาตเล่นบอลในช่วงเวลาพัก พร้อมบอกเหตุผลประกอบ แคลร์ทำตาม…

 
ได้ผล! ครูใหญ่อนุญาต นอกจากวิธีในเรื่องนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถช่วยลูกให้รู้จักวิธีการแสดง “ความเห็นแตกต่าง” อย่างมีประสิทธิภาพและวิธีที่เหมาะสมอื่นๆ ได้อีก

 
มองมุมคนอื่น ช่วยให้ลูกมีโอกาสคิดถึงเหตุผลของการตั้งกฎกติกาต่างๆ แก้ปัญหาให้เหมาะสม แนะนำวิธีที่ทำได้จริงและรับมือกับความเห็นของผู้ตั้งกฎ

 
จัดลำดับความสำคัญ เป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะต่อต้านทุกเรื่อง ลองช่วยลูกจัดลำดับความสำคัญของบรรดาเรื่องที่เขาไม่เห็นด้วยดู เริ่มด้วยคำถามง่ายๆ “ลูกคิดว่าเรื่องนี้สำคัญสำหรับลูกมากแค่ไหน จาก 1 ถึง 10 ลูกให้เท่าไร” จากนั้นค่อยๆ ถามถึงวิธีการที่เขาคิด ถ้าไม่เหมาะสม คุณอาจถามถึงผลที่ตามมา และนำไปสู่การถามคำถามถึงวิธีการอื่นๆ และคุณอาจเสนอวิธีให้เขาลองพิจารณา

 
การรู้จักจัดลำดับความสำคัญจะช่วยให้ลูกรู้ว่า “เขาสามารถเลือกได้” คือเลือกจัดการกับเรื่องที่เขาไม่เห็นด้วยมากๆ และจำเป็นจริงๆ กับตัวเขา ลูกจะรู้สึกผ่อนคลายขึ้น เพราะรู้สึกว่าตัวเองจัดการกับปัญหาได้

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up