ความปลอดภัยจากภัยอันตราย

รับมือดูแลเมื่อเกิดภัยกับลูกทุกสถานการณ์

Alternative Textaccount_circle
event
ความปลอดภัยจากภัยอันตราย
ความปลอดภัยจากภัยอันตราย

อาการชัก

1.การชักในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • จากการขาดยา
  • ถูกกระตุ้นในเด็กที่ป่วยด้วยโรคลมชักเป็นทุนเดิม
  • ชักจากอาการไข้

2.เมื่อไหร่ที่ลูกเกิดอาการชัก คุณพ่อ คุณแม่ ควรปฏิบัติดังนี้

ความปลอดภัยจากภัยอันตราย

  • โทร.เรียกรถพยาบาล แม้เด็กจะชักเพียงไม่นาน แต่อาจมีการชักซ้ำ หรืออาจชักยาวนานเกิน 5 นาทีซึ่งเป็นอันตรายต่อสมองของเด็กได้ เมื่อเด็กเริ่มชัก คุณแม่จึงควรเรียกรถพยาบาลไว้ก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • ป้องกันไม่ให้เด็กบาดเจ็บจากการดิ้น และการกระแทก โดยจัดพื้นที่บริเวณที่เด็กชักให้ปลอดภัย เอาสิ่งของที่กีดขวางออก และหาผ้านุ่มๆ มาปูบริเวณนั้น
  • หากเด็กชักจากอาการไข้สูง ให้เช็ดตัวลูกตามข้อพับต่างๆ ของร่างกาย เมื่อไข้ลดลงเด็กจะหยุดชักได้เอง
  • โดยทั่วไปเด็กจะหยุดชักภายใน 5 นาที และเมื่อหยุดชักแล้ว ลูกน้อยจะยังไม่รู้สึกตัว คุณแม่ควรจัดตัวลูกให้อยู่ในท่านอนตะแคง (ท่าพักฟื้น) จนกว่าทีมช่วยเหลือจะไปถึง

*สิ่งนี้ห้ามทำเด็ดขาดเมื่อลูกชัก

  • ไม่กดตัว หรือแขนขาเด็ก เพื่อพยายามหยุดอาการชัก เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้หยุดชักแล้ว ยังอาจทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บมากขึ้น
  • ห้ามยัด หรือนำสิ่งใดเข้าไปในปากลูก รวมทั้งห้ามใช้มือของ คุณพ่อ คุณแม่ ยัดเข้าไปด้วย ทั้งนี้กรณีเด็กกัดลิ้น อาจทำให้เลือดออกก็จริง แต่คุณหมอยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ขณะที่หากสิ่งของที่ใช้ยัดเข้าไปหักหลุดติดทางเดินหายใจ กรณีนี้ถือเป็นอันตรายอย่างแน่นอน

กองบรรณาธิการ

นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับคู่มือระวังภัย โลกยุคใหม่อันตรายรอบด้าน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Save

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up