ผ้าห่อตัวเด็ก

สลด! ผ้าห่อตัวเด็ก พรากชีวิตทารกวัย 3 เดือน

Alternative Textaccount_circle
event
ผ้าห่อตัวเด็ก
ผ้าห่อตัวเด็ก
ผ้าห่อตัวเด็ก
เครดิต: The Baby Sleep Site

 

ห่อตัวลูกอย่างไรให้ปลอดภัย

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ได้ให้คำแนะนำในการห่อตัวทารกน้อยเพื่อความปลอดภัยในการนอนของทารกในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนไว้ดังนี้
  1. ให้ทารกนอนหลับในท่านอนหงาย เฝ้าติดตามดูลูกน้อยเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยไม่ผลิกตัวนอนคว่ำหรือนอนตะแคงข้าง ในระหว่างที่ห่อตัวทารกไว้ขณะนอนหลับ
  2. จัดผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนบนเตียงของลูกน้อยให้ตึงอยู่เสมอ เนื่องจากผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนที่หย่อนรวมถึงผ้าห่อตัวทารกที่ห่อไว้หลวมๆ อาจหลุดออกจากเตียงหรือตัวของทารกน้อยและอาจเป็นสาเหตุทำให้อุดปากหรือจมูกขัดขวางทางเดินหายใจและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตจากการขาดอากาศได้
  3. วัสดุรองนอนของทารกต้องปราศจากแผ่นรองนอนที่นิ่มจนบุ่มลงเป็นแอ่ง ปราศจากของเล่นชนิดต่างๆ หมอนและเครื่องนอนอื่นๆ ควรแยกที่นอนของทารกออกจากที่นอนหลักของพ่อแม่เพื่อลดความสูญเสียทารกจากการนอนทับหรืออุบัติเหตุอันไม่คาดคิด
  4. การห่อตัวอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายของทารกสูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตร่างกายของทารกน้อยอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการห่อตัว อาการที่บ่งบอกถึงสภาพของทารกที่ร้อนกว่าปกติ เช่น มีเหงื่อออกตามตัว ผมเปียกชื้น แก้มแดงกว่าปกติ มีผื่นขึ้นจากความร้อน หายใจเร็ว เป็นต้น

 

ทำไมต้องห่อตัวทารก?

จะสังเกตได้ว่าทารกแรกคลอดหลังจากทำความสะอาดร่างกายแล้ว จะมีการใช้ผ้าห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจกำลังสงสัยว่าทำไมจะต้องใช้ผ้าห่อตัวเด็กด้วยซึ่งเหตุผลของการห่อตัวเด็กก็เพราะในช่วงเดือนแรกหลังคลอด ทารกต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากครรภ์ของแม่ ทำให้ผ้าห่อตัวทารกจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับทารกเป็นอย่างมากเพราะการห่อตัวสามารถช่วยกระชับแขนขาของทารกให้แนบแน่นกับลำตัวไม่ให้เคว้งคว้างทำให้ทารกรู้สึกเสมือนว่ากำลังนอนคู้ตัวอยู่ในครรภ์ของแม่ที่สำคัญยังช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนคุยกัน หรือเสียงลม และการห่อตัวทารกยังช่วยให้เกิดความอบอุ่น ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ทารกไม่รู้สึกหนาวเย็น

อ่านวิธีการเลือกผ้าห่อตัวเด็กได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up