นิสัยกินน้อย กินยาก

นิสัยกินน้อย กินยาก ทำเด็กวัย 1-3 ปีมีโอกาสขาดสารอาหารมากกว่าวัยอื่น

Alternative Textaccount_circle
event
นิสัยกินน้อย กินยาก
นิสัยกินน้อย กินยาก

เด็กเล็กในช่วงวัย 1-3 ปีมีโอกาสขาดสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ  ลองสังเกตดูสักนิดว่าลูกรักที่อยู่ในวัยเด็กเล็กกำลังมีพฤติกรรมกินยาก เลือกกิน และชอบปฏิเสธอาหารที่คุณแม่จัดให้กินบ่อยๆ หรือเปล่า

นิสัยกินน้อย กินยาก

แพทย์หญิงกิติมา ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก  ให้คำตอบว่า ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินของเด็กในวัยนี้ที่เริ่มไม่เป็นไปตามที่คุณแม่คาดหวัง จากเดิมที่ในช่วงก่อนขวบ ไม่ว่าคุณแม่จะจัดอาหารตามวัยแบบไหนให้ ลูกมักจะไม่ปฏิเสธเพราะว่ายังกินเองไม่ค่อยได้ คุณแม่ยังต้องคอยป้อน คอยกระตุ้นให้กินอาหารดีมีโภชนาการ กินผักกินผลไม้ แต่พอช่วงหนึ่งขวบไปแล้วไปจนครบสองขวบ เป็นช่วงวัยที่ลูกเริ่มมีความเป็นตัวเอง รู้จักเลือก รู้จักปฏิเสธ อะไรชอบจะกิน อะไรไม่ชอบก็ส่ายหน้า เลือกกินแต่เมนูที่ชอบซ้ำๆ แม้แต่ผักที่เคยกินกลับไม่กิน และไม่ค่อยยอมลิ้มลองรสชาติอาหารใหม่ๆ

ด้วยวัยที่สามารถกินอาหารได้คล้ายผู้ใหญ่เกือบทุกอย่าง อาหารที่เด็กวัย 1-3 ปีกินได้จึงมีมาก ทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ถ้าหากคุณแม่ยึดหลักการจัดอาหารมื้อหลัก 3 มื้อที่มีคุณค่าโภชนาการครบห้าหมู่ ให้กินนมรสจืดเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน ขนมกรุบกรอบ  น้ำอัดลม ฯลฯ ก็วางใจได้ว่าจะไม่ประสบปัญหาการขาดสารอาหารในช่วงวัยนี้ คุณแม่จึงต้องใส่ใจเรื่องกินของลูกวัยเด็กเล็ก 1-3 ปีให้มาก ควรฝึกนิสัยการกินที่ดี สร้างวินัยเรื่องกินหากเริ่มสังเกตพบว่าลูกกำลังมีพฤติกรรมกินยาก ปฏิเสธอาหารมีคุณค่าที่คุณแม่จัดให้

นิสัยกินน้อย กินยาก

“การขาดสารอาหารในที่นี้หมายถึงปริมาณสารอาหารที่ช่วงวัยของลูกควรได้รับนั้น เขาได้รับไม่พอในแต่ละวัน โดยเฉพาะสารอาหารกลุ่มรอง (Micronutrient) จำพวกวิตามินแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งพบในเด็กที่มีภาวะโภชนาการขาด เช่น ผอมมาก เตี้ยมาก และเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินคือ เริ่มมีน้ำหนักมากและเด็กอ้วน” แพทย์หญิงกิติมากล่าว

สอดรับกับข้อมูลสำรวจพฤติกรรมการกินและภาวะโภชนาการเด็กไทยจากแหล่งอ้างอิง เช่น SEANUTS โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Thailand MICS 20152016 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับสปสช.และองค์การยูนิเซฟ ที่ให้ข้อสรุปถึงปัญหาโภชนาการเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีพบว่าขาดสารอาหารในกลุ่มไมโครนูเทรียนต์ซึ่งเป็นสารอาหารกลุ่มรองจำพวกวิตามินและแร่ธาตุ โดยสารอาหารที่พบว่าเด็กเล็กประสบภาวะขาดหรือพร่องไปมาก ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ  วิตามินซี และสังกะสี ในผลสำรวจ SEANUTS ยังพบว่าเด็กไทยขาดวิตามินดีอีกด้วย

 

สารอาหารกลุ่มรอง..ต้องการไม่มากแต่ขาดไม่ได้

นางสาวเพชรนภา องค์ตระกูลกิจ นักกำหนดอาหาร สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารกลุ่มรองซึ่งจำเป็นสำหรับวัยเด็กเล็ก 1-3 ปีว่า เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตในช่วงวัยที่ร่างกายและสมองกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต สารอาหารกลุ่มวิตามินแร่ธาตุเป็นโภชนาการที่ร่างกายเด็กเล็กต้องการในแต่ละวันไม่มากนักแต่ก็จะขาดไม่ได้ หากไม่ได้รับสารอาหารกลุ่มนี้บ่อยๆ เป็นเวลานาน จะมีผลต่อการพัฒนาทั้งด้านร่างกายและสมอง

นิสัยกินน้อย กินยาก

สารอาหารไมโครนูเทรียนต์หลายชนิดจะทำงานร่วมกัน เช่น แคลเซียมทำงานร่วมกับฟอสฟอรัสและวิตามินดี ร่างกายจึงจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดี กระดูกและฟันจะเติบโตแข็งแรง เช็คความสูงของลูกเมื่ออายุครบสองขวบคูณด้วยสอง ก็จะบอกได้ว่าหากลูกโตเต็มศักยภาพ เขาจะมีความสูงเท่าใด การเติบโตได้เต็มศักยภาพนั้นคุณแม่ต้องดูแลเรื่องโภชนาการที่ดีและการออกกำลังกายสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วยตลอดระยะเวลาช่วงวัยเด็กเล็กไปจนถึงวัยรุ่น

ธาตุเหล็กทำงานร่วมกับแมงกานีสและสังกะสี เป็นสารอาหารกลุ่มรองที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาสมอง ระบบความคิด  ความจำ และสติปัญญา

“โดยทั่วไปหากเด็กได้รับอาหารมื้อหลักครบคุณค่าห้าหมู่ ก็จะได้รับสารอาหารไมโครนูเทรียนต์ร่วมด้วยอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่คุณแม่มักจะมาปรึกษาก็คือ ลูกกินผักผลไม้น้อยมากหรือแทบจะไม่กินเลย จึงทำให้กังวล สิ่งที่จะแนะนำได้ก็คือ พยายามใช้วัตถุดิบอาหารที่มีความหลากหลายมาปรุงอาหารให้ลูก ไม่ควรทำเมนูซ้ำๆ หรือให้ลูกกินอะไรเหมือนเดิมทุกมื้อเพียงเพราะลูกชอบ

นิสัยกินน้อย กินยาก

ตรงนี้เป็นภารกิจคุณแม่ที่ต้องใช้ความพยายามและอดทนที่จะปรับเปลี่ยนอาหารและฝึกนิสัยการกินที่ดีให้ลูก เพราะหากลูกกินอย่างมีโภชนาการ รู้จักเลือกอาหารมีคุณค่า มีวินัยการกิน เขาจะไม่มีปัญหาสุขภาพและโภชนาการเมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น”   นักกำหนดอาหาร กล่าวและเสริมว่า การให้ลูกกินนมเสริมสารอาหารที่มีการเติมสารอาหารกลุ่มไมโครนูเทรียนต์เพิ่มเติม เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่างๆ ก็ถือเป็นตัวช่วยคุณแม่ให้คลายกังวล ให้ลูกกินนมรสจืดวันละ 2-3 แก้วเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตครบถ้วนและสมดุล

นิสัยกินน้อย กินยาก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up