ความซื่อสัตย์

9 วิธีสอนลูกเรื่อง ความซื่อสัตย์ ช่วยลูกปลอดภัยจากกิเลส

event
ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์

ความรู้สึกของเด็กทั้ง 2 ที่เก็บเงินได้

ก่อนหน้านั้น ด.ช.คำนนท์ แก่งวิจิตร และด.ช.นวพนธ์ โสภาเสรีสุข นักเรียนที่เก็บเงินได้ เล่าให้ฟังว่า…

ตอนนั้นเขาทั้ง 2 คนอยู่ชั้น ป.1 ดีใจที่เห็นเงิน และตกใจด้วย จึงเอาเงินไปคืนคุณครูเพื่อหาเจ้าของเงิน เพราะว่าพ่อกับแม่และคุณครูเคยสอนว่า หากไม่ใช่ของของเรา ให้เอาไปคืนให้เจ้าของ

“พอถึงตอนนี้ไม่มีเจ้าของเงินมารับคืน รู้ว่าตัวเองจะได้เงินจำนวนนี้ก็ดีใจมาก พวกผมจะเอาเงินที่ได้ไปใช้เรียนหนังสือต่อไปครับ”

ทาง Amarin Baby & Kids ก็ขอแสดงความยินดีกับน้องทั้ง 2 คนจริง ๆ ค่ะ และนั้นเป็นเพราะความดีและความซื่อสัตย์ จึงส่งผลถึงการกระทำของน้องทั้ง 2 คน ได้รับสิ่งตอบแทนอันสมควรค่านั้นไป

อย่างไรก็ดีสำหรับเรื่อง ความซื่อสัตย์ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรละเลยที่จะสอนลูก เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์-สุจริต ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลให้เกิดคอร์รัปชั่น โกงกินเรื้อรัง แนะพ่อแม่ปลูกฝังความซื่อสัตย์-สุจริตให้ลูกตั้งแต่ช่วงปฐมวัย พร้อมกับทำตัวเป็นต้นแบบที่ดี และไม่ควรพูดโกหกกับลูก

คุณธรรมพื้นฐานเรื่อง ความซื่อสัตย์ มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

การที่ลูกเป็นคนมีความซื่อสัตย์ พูดจริง ทำจริง เป็นคนจริงใจ เป็นคนตรง จะทำให้เขาเป็นที่เชื่อถือ เคารพนับถือของคนอื่น และเป็นผู้ที่เคารพนับถือตัวเองได้ การรักความจริง การทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ตรงกับความจริง จะทำให้เขาปลอดภัยจากกิเลส

สัจจะ คือ การพูดจริง ทำจริง จริงใจ เป็นความเข้มแข็งของจิตใจ การเสียสัจจะเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย การพูดเท็จเพราะกลัวครู กลัวผู้ใหญ่จะลงโทษ หรือว่ากลัวคนอื่นจะดูถูก เป็นนิสัยที่มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่ยังไม่เป็นที่พึ่งของตน ยังอ่อนแอ ยังต้องอาศัยคนอื่น จึงจะมีชีวิตได้ ต้องพึ่งพ่อแม่ พึ่งครู กรณีนั้นก็เป็นธรรมดาสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นอิสระ จึงต้องระแวงว่าสิ่งที่ตนพึ่งอาศัยนั้นจะทอดทิ้งหรือจะหายไป นั่นจะเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การพูดเท็จของเด็ก

วิธีแก้วิธีหนึ่ง คือ การทำให้เกิดความรักสัจจะว่า สัจจะมันงามอย่างไร และให้เห็นว่ามันเกิดความรู้สึกที่ดีอย่างไร ให้เห็นว่าถ้าเราไม่ปิดบังอำพราง ถ้าเราไม่พยายามสร้างภาพตัวเองอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะได้รับคำชมเชยหรือความรัก จะทำให้เราไม่แย่อย่างที่คิด ตรงกันข้าม คนที่เกิดนิสัยที่จะต้องคิดว่าตัวเองต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งตลอดเวลา จึงจะเป็นที่รักของคนอื่น หรือว่าจะไม่ถูกทอดทิ้ง จะเป็นคนที่มีความทุกข์ มีความเก็บกดตลอดเวลา เราสอนให้เด็กพูดความจริง เราทำอะไรผิด เราก็ยอมรับไปเลย และตั้งใจจะไม่ทำอีกในครั้งต่อไป

ทั้งหมดนี้อยู่ที่ว่าเด็กเชื่อว่าพ่อแม่เป็นผู้ยุติธรรม มีความหวังดีต่อเขา ให้อภัยเขาได้ และอยู่ที่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สอนให้ทำอะไรก็ทำจริงจังตั้งใจ ไม่ใช่ว่าเหลาะแหละทำแบบสนุกสบาย

สัจจะ เป็นฆราวาสธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมสำหรับการครองชีวิตของคฤหัสถ์ และเป็นบารมีข้อหนึ่ง คือ เมื่อเราตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ก็อยู่กับสิ่งนั้นจนสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียน ในการทำงานอย่างแน่นอน ฆราวาสธรรม 4 ประการ ประกอบด้วย

  • สัจจะความจริง คือ ดำรงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง จะทำอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
  • ทมะฝึกตน คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
  • ขันติอดทน คือ มุ่งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อ ถอย
  • จาคะเสียสละ คือ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ ชอบช่วยเหลือเกื้อกูล บำเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับคนอื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน

 

อ่านต่อ >> “9 ตัวช่วยคุณพ่อคุณแม่ ปลูกฝังความซื่อสัตย์ให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก  : taamkru.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up