เสริมหน้าอก

ปัญหาของผู้หญิงเสริมหน้าอกหลังให้นมบุตร แก้ได้

Alternative Textaccount_circle
event
เสริมหน้าอก
เสริมหน้าอก

นายแพทย์ธันยพงษ์ เตชะวัฒนากุล Plastic Surgeon ประจำ Dermaster กล่าวว่า  การทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกนั้นช่วยแก้ปัญหาได้หลายประการไม่ว่าช่วยกระชับเต้านมที่หย่อนคล้อย ปัญหาหน้าอกไม่เท่ากัน ปัญหาหน้าอกใหญ่ ปัญหาหน้าอกเล็ก การผ่าตัดศัลยกรรมทุกอย่างนั้นมีความเสี่ยงถึงแม้จะทำโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ก็ตาม แต่ผลบางอย่างนั้นก็อยู่เหนือการควบคุมของแพทย์ หรือบางครั้งอาจเป็นเพราะสรีระของตัวคนไข้นั่นเองที่จะทำให้เกิดผลของการศัลยกรรมไม่ได้ดั่งใจ การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนนั้นเป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่นิยมใช้ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายสะดวกเห็นผลได้ชัดเจนและมีข้อแทรกซ้อนน้อยที่สุด วัสดุที่ใช้ในการผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้นมีหลายแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันเช่นถุงซิลิโคนที่บรรจุน้ำเกลือ ถุงซิลิโคนที่บรรจุด้วยซิลิโคนเหลว หรือการเสริมหน้าอกด้วยไขมันตัวเอง

 

การผ่าตัดเสริมหน้าอก โดยใช้ถุงซิลิโคนบรรจุซิลิโคนเจล

ที่ใช้ในการผ่าตัดเสริมหน้าอก จะเป็นซิลิโคน Medical Grade ที่มีความคงตัวสูงแม้เราผ่าครึ่งถุงซิลิโคน เนื้อซิลิโคนที่อยู่ข้างใน ก็จะไม่มีการไหลไปไหน นอกจากนี้ถุงซิลิโคนยังมีหลายชั้นและมีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วซึมที่อยู่ด้านใน และลักษณะของเปลือกหุ้มของซิลิโคนก็จะมีหลายลักษณะ อาจจะเป็นผิวเรียบหรือผิวขรุขระ ซึ่งมีผลต่อการเกิดพังพืดหุ้มรอบซิลิโคน ส่วนขนาดซิลิโคนที่จะเลือกใช้สำหรับการผ่าตัดเสริมหน้าอกจะแตกต่างตามความต้องการของคนไข้ และความเหมาะสม ข้อดีของการเสริมด้วยซิลิโคนจะดูเป็นธรรมชาติ ยับย่นได้ยากเนื่องจากซิลิโคนมีความคงตัวสูง สามารถขยับเคลื่อนไหวได้อย่างสบายตัว และยังใช้ระยะเวลาการพักฟื้นสั้น หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกก็จะอยู่กับตัวได้ในระยะยาวและสามารถกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติ ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

OR 1

การผ่าตัดเสริมหน้าอกโดยใช้ถุงน้ำเกลือ

มีลักษณะคล้ายการผ่าตัดเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนเจล แต่ลักษณะของถุงจะมีความหนาและแข็งกว่าถุงซิลิโคนเจล โดยถุงซิลิโคนจะอยู่ชั้นนอกและถุงจะมีความหนาและแข็งกว่าถุงซิลิโคนเจล โดยถุงซิลิโคนจะอยู่ชั้นนอกและถุงน้ำเกลือจะอยู่ในชั้นใน ระหว่างผ่าตัดหลังสอดถุงซิลิโคนเข้าไปแล้ว สามารถเติมน้ำเกลือเข้าไปตามที่ต้องการได้ ข้อดีของการเสริมด้วยถุงน้ำเกลือจะมีรอยแผลเป็นที่เล็กกว่า สามารถวินิจฉัยการรั่วของถุงซิลิโคนได้ง่าย หากเกิดการรั่วไหล น้ำเกลือจะซึมเข้าร่างกายได้โดยไม่เป็นอันตราย ข้อเสียคืออาจจะมีการรั่วซึมของน้ำเกลือออกมาบริเวณวาวล์  (ฝาเปิด-ปิด เติมน้ำเกลือ ) ทำให้ต้องผ่าตัดแก้ไขใหม่ ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ บางครั้งอาจจะได้ยินเสียงน้ำเกลือกระทบในถุงได้ในปัจจุบันใช้กันน้อย

 

ภาวะเต้าซ้อนหรือ Double bubble

เป็นความผิดปรกติอย่างหนึ่งบริเวณเต้านมหลังการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกบริเวณใต้กล้ามเนื้อหน้าอก เมื่อเสริมซิลิโคนเข้าไปบริเวณเนื้อเยื่อใต้กล้ามเนื้อแล้ว ถุงซิลิโคนใต้บริเวณเต้านมก็จะเกิดการหย่อนลงมาจะมีลักษณะคล้ายเต้านมอีกคู่หนึ่งและอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถเกิดได้คือ คนไข้มีการทำศัลยกรรมหน้าอกมาก่อน เมื่ออายุมากขึ้นหรือหลังจากการตั้งครรภ์ก็สามารถเกิดเป็นเต้าซ้อนได้ เพราะเนื้อเต้านมมีการหย่อนคล้อยตัวลงมานั่นเองอย่างไรก็ตาม กรณี “เต้าซ้อน” อาจไม่ได้เป็นผลมาจากการเสริมซิลิโคนหน้าอกบริเวณหลังกล้ามเนื้อเต้านมเสมอไป หากลักษณะฐานเต้านมก่อนทำศัลยกรรมมีเนื้อน้อย สังเกตได้จากความห่างระหว่างหัวนมกับรอยพับใต้ฐานนมไม่ปรากฏเนื้อนูนขึ้นมา

ลักษณะหน้าอกที่มีโอกาสพัฒนาเป็นเต้าซ้อนหลังการศัลยกรรมเสริมหน้าอก ได้แก่ หน้าอกเดิมมีลักษณะฟีบแบน หรือเรียกว่าไม่มีเนื้อเต้า (Snoopy Breast) มีการเสริมซิลิโคนผิดตำแหน่ง เช่นเสริมในตำแหน่งสูงเกินไปไม่พอดีกับฐานเต้าเดิม หรือเลือกซิลิโคนเสริมใหญ่เกินกว่าฐานเต้านมเดิม การมีแผลเป็นบริเวณเนื้อเต้านม จนกระทั่งการเกิดพังพืดหดรัดหลังการศัลยกรรมหน้าอก (Capsular Contracture)

 

เกิดภาวะแคปซูลหรือผังผืดหดรัด

เมื่อมีการใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะมีการสร้างพังพืดขึ้นมาห่อหุ้มตรงบริเวณนั้นโดยรอบ จะมีลักษณะเหมือนแคปซูล ที่แยกเป็นถุงอยู่ภายในกับเนื้อเยื่อที่อยู่ภายนอก  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นกลไกในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่างๆ และสารที่เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นถุงซิลิโคนจะถูกล้อมไปด้วยพังผืด แต่ถ้าพังผืดมีการหดรัดตัวและมีความหนาก็จะทำให้เต้านมโดยรวมมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง และผิดรูปไม่เป็นธรรมชาติได้ อาการแคปซูลหรือ พังผืดหดรัดซิลิโคน เป็นอาการข้างเคียงที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุดหลังจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก มักจะเกิดตอนไหนก็ได้ หรือเร็วที่สุด 1-2 เดือน

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดพังพืดหรือแคปซูลจะคล้ายๆกับปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลเป็น สำหรับบางคนที่ปฏิกิริยาร่างกายไวต่อสิ่งแปลกปลอมก็จะทำให้แผลเป็นขึ้นได้ง่าย ซึ่งการเกิดพังผืดหรือแคปซูลในการเสริมหน้าอก มีดังนี้  มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคบริเวณถึงซิลิโคน จนทำให้เกิดการอักเสบและมีการเกิดพังผืดตามมา ต่อมาตำแหน่งที่วางถุงซิลิโคนส่วนใหญ่จะวางไว้เหนือกล้ามเนื้อ จึงทำให้มีโอกาสเกิดพังพืดได้มากกว่า การมีภาวะเลือดคั่งทำให้เกิดการอักเสบและเกิดพังผืดตามมาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยระดับของการเกิดพังผืดในการเสริมหน้าอกนั้น มีด้วยกันสี่ระดับ ระดับที่หนึ่งเต้านมยังคงนิ่มและดูเป็นธรรมชาติตามปกติ ในระดับที่สองเต้านมแข็งขึ้นเล็กน้อยแต่ยังดูเป็นธรรมชาติอยู่ ในระดับที่สามเต้านมแข็งขึ้น เริ่มผิดรูปร่าง ในระดับที่สี่ เต้านมแข็งแรงและผิดรูปร่างอย่างชัดเจน

วิธีการแก้ไขปัญหาหน้าอกไม่เท่ากันมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าคนไข้มีปัญหาอยู่ในประเภทไหน โดยชั้นแรกควรปรึกษาศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร อีกทั้งยังป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย การแก้ไขการเสริมหน้าอกที่เต้านมต่ำข้าง สูงข้าง ในกรณีที่เสริมหน้าอกแล้วดูต่ำเกินไปจะใช้วิธีการเย็บเต้านมข้างที่ต่ำให้เท่ากับอีกข้างเพราะในกรณีที่ใส่เต้านมต่ำนั้นจะทำให้หัวนมเชิดขึ้น ดูไม่สวยแต่ถ้าหากเสริมหน้าอกไปแล้วเต้านมอยู่สูงเกินไปซึ่งจะจะทำให้หัวนมทิ่มลงมา วิธีแก้ก็จะแตกต่างกัน โดยวิธีการนี้จะใช้การเลาะราวนมลงมา เพื่อทำให้ถุงนมย้อยลงมาในตำแหน่งที่ถูกต้องในส่วนของการแก้ไขปัญหาเต้าซ้อนหรือ Double bubble จากการศัลยกรรมเสริมหน้าอกสามารแก้ไขได้โดยการผ่าตัดเอาเต้าซ้อนออกแล้วอาจต้องทิ้งระยะเวลานานเกือบ สามถึงหกเดือนในการพักฟื้น สำหรับคนที่เป็นพังผืดถ้าเป็นในระยะแรก ๆ จะเริ่มมีผิดรูปบ้างศัลยแพทย์จะใช้การบีบเพื่อให้พังผืดฉีกขาด ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้พังผืดฉีกขาดออกจากกันจะใช้ได้ในกรณีที่พังผืดไม่หนามาก แต่ในกรณีที่แคปซูลหนามากจึงจำเป็นที่ต้องใช้วิธีผ่าตัดโดยการผ่าตัดจะต้องเลาะเข้าไปในแคปซูลและเปิดขยายช่องโดยผ่านพังผืดเดิมในช่องให้กว้างขึ้นหลังจากนั้นก็จะใช้วิธีการฉีกแคปซูลออก และเต้านมให้อยู่คนละจากของเดิม เพื่อป้องกันการเกิดแคปซูลอีกครั้งได้

 

แต่ในปัจจุบันก่อนที่จะศัลยกรรมเสริมหน้าอก ศัลยแพทย์จะทำการฉีคยาเพื่อป้องกันการเกิดแคปซูลหรือพังผืดอยู่แล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามรถป้องกันได้ 100 % เพราะร่างกายของคนเราไม่เหมือนกันและมีปฏิกิริยาที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นจึงทำให้บางคนเป็นแคปซูลที่ทรวงอกเนื่องจากบางคนไวต่อสิ่งแปลกปลอมนั่นเองแม้ในปัจจุบันจะมีวัสดุซิลิโคนแบบใหม่ ที่นำมาใช้การทำศัลยกรรมเต้านมที่ช่วยลดอัตราการเสี่ยงของการเกิดพังผืดให้น้อยลงได้ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเกิดพังผืดหรือแคปซูลทั่วเต้านมได้ 100%และที่สำคัญถ้าหากคนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมเสริมหน้าอก แล้วเกิดพังพืดหลายครั้ง ควรจะหยุดพักทำศัลยกรรมหน้าอกไปก่อน 1-2 ปีหรือถ้าหาก หลายปีผ่านไป กลับมาเสริมหน้าอก แล้วยังเกิดพังผืดอยู่ก็ไม่ควรที่จะทำ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเอง ข้อควรระวังคือการผ่าตัดทำศัลยกรรมความงามนั้น ต้องทำโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ควรศึกษา เลือกสถานที่และห้องปฏิบัติการที่ปลอดเชื้อมาตรฐานสากลก่อนการตัดสินใจ www.dermaster-thailand.com Tel: 02 71 444 71

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up