จิตแพทย์แนะ! ขอบเขตการลงโทษเด็ก ป้องกัน “เด็กบอบช้ำหลังถูกลงโทษ”

Alternative Textaccount_circle
event

การลงโทษเด็ก

6. พ่อแม่ที่ทำไม่เป็นมักจะพูดยาว อธิบายเหตุผลมาก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สำเร็จ เพราะเด็กไม่มีเหตุผลในเวลาหรืออารมณ์นั้นอยู่แล้ว ปัญหาของเด็กอยู่ที่อารมณ์ มิได้อยู่ที่เหตุผล ดังนั้นเวลาพบการกระทำรุนแรงเราหยุดการกระทำของเด็กให้ได้ก่อน  และรอให้อารมณ์เหือดหายไปเอง

7. หากสนใจ จิตวิทยาเชิงบวก สามารถเรียนรู้และช่วยให้เด็กเท่าทันอารมณ์ตนเองได้

8. หากสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง คำพูด หยุดเด็กไม่ได้ ที่ควรทำคือ จำกัดขอบเขต ภาษาอังกฤษเรียกว่า Limit Setting เมื่อพบเด็กกระทำรุนแรง เราต้องหยุดเขาทันทีไม่วิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่เพิกเฉย ไม่เฉยเมย

การลงโทษเด็ก

9. การจำกัดขอบเขตที่ชะงัดที่สุดคือมัดหรือจับใส่กรง ซึ่งเราไม่ทำกับลูกหรือเด็ก การเอาออกจากบริเวณนั้นทันทีเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเป็นการจำกัดขอบเขตวิธีหนึ่งแต่จะทำได้เมื่อพ่อแม่เห็นความสำคัญ กล่าวคือพ่อแม่ยอมทิ้งภารกิจตรงหน้าคว้าเด็กออกไป ปัญหามักกลับมาอยู่ที่พ่อแม่ไม่ว่าง ไม่กล้าทำ ไม่คิดว่าต้องทำ หรือมัวแต่อายสายตาคนอื่นเสียมากกว่า

10. การจำกัดขอบเขตที่ดี พ่อแม่ยังคงอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เมื่อลูกสงบพอคุยได้แล้วจะได้คุยกัน

การที่พ่อแม่จะอบรมสั่งสอนลูก สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การระงับสติอารมณ์และใช้เหตุผลให้มาก และพ่อแม่ก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กๆ ได้เห็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กจะซึมซับพฤติกรรมของคนรอบข้างได้เร็ว และเมื่อลูกทำสิ่งที่ดี พ่อแม่ก็ต้องไม่ลืมที่จะให้กำลังใจเพื่อให้ลูกมีกำลังใจที่จะทำดีต่อไปค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


เรื่องโดย :  นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up