เตือนพ่อแม่!! สารดูดความชื้นทำให้ลูกน้อยตาบอด

Alternative Textaccount_circle
event

สารดูดความชื้นคืออะไร?

สารดูดความชื้นที่ใส่อยู่ในห่อขนม เด็กๆ ก็คงรู้สึกสงสัยว่าสิ่งนี้มันคืออะไร? แล้วกินได้หรือเปล่า? คุณพ่อ คุณแม่ หลายคนก็คงจะสอนลูกน้อยว่า “กินแล้วชักแหง็กๆ นะลูก” และเด็กๆ ก็คงสงสัยต่อว่า แล้วจะทำออกมาเพื่ออะไร?

สารดูดความชื้น หรือซิลิก้าเจล สกัดได้จากทรายขาวผสมกำมะถัน มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอนไดออกไซด์ มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ มีหลายสี  ซึ่งนอกจากจะพบในขนมแล้ว ยังพบได้ในซองยา หรือเฟอร์นิเจอร์หนัง ใช้สำหรับกันชื้นในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อไม่ให้คุณสมบัติของสินค้าเปลี่ยนไป หรือป้องกันการเกิดเชื้อรา หรือความกรุบกรอบของขนมไม่ให้เสียไป

สารดูดความชื้นมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท แต่ต้องมีการระบุไว้ว่า “ห้ามรับประทาน” ปรากฏอยู่ด้วย แต่ถึงแม้ว่าจะมีคำเตือน คุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องระมัดระวัง และคอยเตือนลูกน้อยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจจะเอามาเล่น โดยที่ไม่รู้ถึงอันตรายได้

สารดูดความชื้นสารดูดความชื้นมีกี่ชนิด?

สารดูดความชื้นที่เห็นโดยทั่วไป มีหลากหลายชนิด เช่น สารดูดความชื้นที่ทำจากปูนขาว สารดูดความชื้นประเภทดินธรรมชาติ และซิลิก้าเจล ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้

1.สารดูดความชื้นที่ทำจากปูนขาว มีต้นทุนต่ำที่สุด แต่ประสิทธิภาพสูงมาก จึงนิยมใช้กันในอดีต แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้ในอาหาร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ น้อยลง

2.สารดูดความชื้นประเภทดินธรรมชาติ นิยมนำมาใส่ไว้ในกระเป๋า หรือกล่องใส่เสื้อผ้า

3.ซิลิก้าเจล สารดูดความชื้นสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่มีประสิทธิภาพด้อยกว่าสารดูดความชื้นที่ทำจากปูนขาว ซึ่งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยา นิยมใช้ซิลิก้าเจล เพราะปลอดภัยกว่า และในปัจจุบันอาหารหลายๆ ชนิดก็เริ่มหันมาใช้ซิลิก้าเจลมากขึ้น เพราะไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เมื่อโดนน้ำ และสามารถนำมาใช้ได้ใหม่

นอกจากนี้ยังพบสารดูดความชื้นชนิดใหม่ ซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลัง โดย ดร.ปัญญา วงศ์พานิชย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า จากงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์คุณลักษณะของสารดูดความชื้นของแป้งมันสำปะหลัง พบว่ามีความไวต่อความชื้นในอากาศอย่างมาก และมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบสารดูดความชื้นชนิดซิลิก้าเจลจากต่างประเทศ พบว่ามีราคาสูงกว่าแป้งมันสำปะหลังมาก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “สารดูดความชื้นอันตรายแค่ไหน” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up