น้องแย่งของพี่ แย่งของเล่น พี่น้องทะเลาะกัน

พี่ยังไม่ทัน “มี” จะให้เอาอะไรไป “เสีย” และ “สละ”

Alternative Textaccount_circle
event
น้องแย่งของพี่ แย่งของเล่น พี่น้องทะเลาะกัน
น้องแย่งของพี่ แย่งของเล่น พี่น้องทะเลาะกัน

พ่อแม่ควรส่งสัญญาณให้ลูกๆ ทราบว่าพี่ใหญ่นั้นใหญ่ที่สุดและเป็นผู้ช่วยพ่อแม่ในการดูแลน้องๆ ดังนั้นพี่ต่างหากที่ควรได้รับสิทธิมากกว่าในตอนแรก เช่น เมื่อจะซื้อไอศกรีมให้ลูก ให้พี่สองก้อนและให้น้องหนึ่งก้อน ด้วยวิธีนี้น้องๆ ทั้งหลายจะได้เรียนรู้ว่าใครใหญ่และควรเชื่อฟังใคร ส่วนคนพี่นั้นเมื่อเขาพบว่าเขามีมากกว่าคนอื่น เขาพบว่าพ่อแม่ให้เกียรติเขามากกว่าคนอื่นๆ เราจึงบอกเขาได้ว่า “อยากจะแบ่งให้น้องมั่งก็ได้นะลูก” ส่วนเขาจะแบ่ง ไม่แบ่ง แบ่งแล้วจะรู้สึกอย่างไร เช่น เห็นแววตาน้องๆ ที่มองมาด้วยความเทิดทูน อะไรแบบนี้พ่อแม่ควร (ใจแข็ง) ปล่อยให้เด็กเรียนรู้เอง

11411936_10204802841774257_2019116833482538984_oย้ำว่าเรื่องไอศกรีม เป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ มิได้แปลว่าต้องทำตามนี้จริงๆ

เวลาพี่น้องทะเลาะกันเพราะแย่งของเล่น ที่พ่อแม่ควรทำคือแยกวง ให้คนหนึ่งไปอยู่ที่มุมห้องหนึ่ง และให้อีกคนหนึ่งไปอยู่ที่อีกมุมห้องหนึ่ง บอกทั้งสองคนอย่างชัดๆ ช้าๆ ว่า ดีกันเมื่อไรก็ออกมาเล่นด้วยกันได้อีก ของเล่นที่แย่งกันจะวางอยู่ตรงกลางห้องนี้เหมือนเดิม จากนั้นพ่อแม่ต้อง (ใจแข็ง) ไปทำอย่างอื่น อย่าพูดมากและอย่าแทรกแซง พวกเขาจะค้นพบกระบวนการปรองดองด้วยตนเองในที่สุด ขอให้มั่นใจ

 

บทความโดย : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์ แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ภาพ : Shutterstock

banner300x250-1

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up