โรคหน้าฝนในเด็ก

โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง

Alternative Textaccount_circle
event
โรคหน้าฝนในเด็ก
โรคหน้าฝนในเด็ก

4.อีสุกอีใส

โรคหน้าฝนในเด็ก

โรคนี้เกิดขึ้นบ่อย และเป็นกันบ่อย เมื่อเป็นแล้วจะติดกันเป็นทอดๆ

อาการ มีไข้ เป็นผื่นแดง มีตุ่มน้ำใสตามตัว โดยเฉพาะท้อง ต้นแขน ขา ใบหน้า หลังจากนั้นจะเกิดเป็นสะเก็ด และแผลเป็นขึ้นได้ มักหายไปเอง 2 – 3 สัปดาห์

การป้องกัน ดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันอย่าให้ลูกเข้าใกล้ผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ หรือฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส เริ่มฉีดตั้งแต่ 1 ขวบ และกระตุ้นอีกครั้งตอน 4 ขวบ ซึ่งเป็นวัคซีนเสริม

5.ท้องเสีย ท้องร่วง

โรคหน้าฝนในเด็ก

เกิดขึ้นเพราะลำไส้อักเสบ ติดเชื้อโรต้าไวรัส มาจากของเล่น อาหาร ของใช้ที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ที่ชอบเอาของเข้าปาก จากนั้นจะถูกขับออกมาทางอุจจาระ เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย เด็กแรกเกิด – 5 ขวบเกือบทุกคนเคยติดเชื้อนี้มาแล้ว โรคนี้ทำให้เด็กป่วยและเสียชีวิตมาแล้ว 6 แสนคน

อาการ ท้องเสีย อาเจียน บางคนเป็นไข้สูง กินน้อย งอแง เกิดภาวะขาดน้ำ เด็กทารกควรดื่มนมแม่จะช่วยได้ระดับหนึ่ง ดูแลลักษณะการกิน การเล่น ต้องสะอาดปลอดภัย ไม่ควรพาไปเนอสเซอรี่เร็วเกินไป เพราะอยู่ด้วยกันเยอะๆ ยิ่งแพร่เชื้อได้ง่าย

การป้องกัน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน 2 ชนิด คือ วัคซีนที่มีเชื้อโรต้า 1 สายพันธุ์ และ 5 สายพันธุ์ เป็นวัคซีนแบบหยอดรับประทาน ใช้ได้ตั้งแต่ทารก 6-12 สัปดาห์

 

6.ไอพีดี และปอดบวม

โรคหน้าฝนในเด็ก

เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงจากแบคทีเรีย นิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ปอดบวม ปอดอักเสบ (ปอดบวมคร่าชีวิตเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ อันดับ 1 ของโลก – WHO) ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมอง มีความรุนแรงทำให้พิการ และเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ

อาการ ถ้าติดเชื้อที่ระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง เด็กเล็กจะงอแง ซึม และชัก ถ้าติดเชื้อในกระแสเลือด จะมีไข้สูง งอแง อาจช็อก และเสียชีวิต

การป้องกัน ฉีดวัคซีนให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ควรฉีดเมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไป และฉีดเข็มต่อไม่เมื่อ 4, 6 และ 12-15 เดือน เด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ ที่มีโรคประจำตัว หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีความเสี่ยงสูงการฉีดวัคซีนจึงสำคัญ ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สร้างอนามัยที่ดีให้ลูก ก็จะช่วยได้

ในหน้าฝนถ้าลูกมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ กินอาหารน้อย อาเจียน อ่อนเพลีย ขาดน้ำ มีปัญหาการหายใจ เช่น ไอบ่อย หายใจเร็ว ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที และป้องกันด้วยการล้างมือก่อนกินอาหารเพื่อสุขอนามัยที่ดี

เครดิต: ผู้จัดการออนไลน์

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up