เลิกขวดนม ก่อน 1 ขวบ

5 วิธีช่วยคุณแม่ เลิกขวดนม ให้ลูกตอน 1 ขวบ

Alternative Textaccount_circle
event
เลิกขวดนม ก่อน 1 ขวบ
เลิกขวดนม ก่อน 1 ขวบ

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจะได้กินนมแม่เป็นอาหารหลัก พอลูกอายุได้ 6 เดือนก็จะได้รับอาหารเสริมเป็นข้าวบด  ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่ที่ต้องกลับไปทำงานอาจจะให้ลูกกินนมแม่จากขวด และเมื่อลูกอายุได้ 1 ขวบขึ้นไป ก็ถึงเวลาที่จะให้ลูกได้ทานนม ดื่มน้ำจากแก้วหัดดื่มกันได้แล้ว ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีเทคนิควิธีช่วยลูก เลิกขวดนม มาฝากค่ะ

เลิกขวดนม

Must Read >> เทคนิค การเก็บรักษานมสต็อก ให้ลูกได้กินนมแม่นานถึง 2 ขวบ

จากเต้าแม่สู่จุกนมขวด ก็ได้เวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามพัฒนาการของลูกที่เมื่อเขาเติบโตขึ้นเข้าสู่วัยเตาะแตะ นั่นก็คือช่วงอายุ 1-3 ขวบ ที่ลูกเริ่มจะทำอะไรได้เองถนัดมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้มือทั้งสองข้างที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในการหยิบ จับ และเพื่อเป็นการเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับก้าวใหม่ๆ ของชีวิต คุณแม่ส่วนใหญ่เริ่มที่จะให้ลูกเลิกขวดนม เพราะถ้าลูกพร้อมที่จะเข้าสู่วัยอนุบาลในช่วง 3-4 ขวบขึ้นไป คุณแม่คงไม่อยากให้ลูกต้องพกขวดนมใส่กระเป๋าไปโรงเรียนทุกวันด้วยอย่างแน่นอน ฉะนั้นทางแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ การเริ่มฝึกให้ลูกเลิกขวดนม แล้วฝึกให้ลูกได้ดื่มนม ดื่มน้ำจากแก้วกันดูบ้าง ฝึกบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ลูกก็จะเลิกขวดนมได้ในที่สุดค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

การเตรียมพร้อมลูกให้ เลิกขวดนม มากินจากแก้ว 

เป็นที่รู้กันดีว่าถ้าลูกลองได้ติดอะไรไปแล้วสักอย่าง กว่าแม่จะฝึกให้เลิกได้ก็ใช้เวลาอยู่พอสมควร ยิ่งกับเรื่องการเลิกขวดนม แม่หลายๆ คนไม่รู้จะเริ่มต้นฝึกลูกด้วยวิธีใด

หากอยากให้ลูกเลิกขวดนมได้สำเร็จและไม่ดูเป็นการทำร้ายใจลูกมากเกินไป แนะนำว่าให้ลูกเลิกขวดนมตอนที่อายุได้ 1 ขวบ โดยที่คุณแม่ต้องค่อยๆ ฝึกอย่างใจเย็น เพราะไม่เช่นนั้นลูกอาจต่อต้านและไม่ยอมลองวิธีใหม่ๆ ในการกินนม กินน้ำขึ้นมาได้ค่ะ

อายุ 6   เดือน เป็นช่วงเวลาที่แม่จะเริ่มป้อนอาหารเสริมให้ลูกกันแล้ว หากสังเกตเวลาป้อนข้าวบดให้ลูก เขาจะดันลิ้นเข้าออก เพื่อรับกับอาหารที่แม่ป้อนให้ ช่วงนี้แม่อาจป้อนน้ำจากช้อนให้ลูกทีละนิด หรือให้ลูกกินนมจากช้อน เพื่อที่เขาจะได้เริ่มคุ้นชินว่านมแม่รสชาติที่เคยได้กินจากเต้าแม่ ก็กินได้จากที่อื่นด้วยเหมือนกัน

อายุ 8 เดือน พัฒนาการด้านร่างกายลูกแข็งแรงขึ้น และลูกยังนั่งได้เองแล้วด้วย ลูกสามารถที่จะถือของด้วยมือข้างเดียวได้บ้างแล้ว  แนะนำว่าให้คุณแม่ลองหาแก้วหัดดื่มใบเล็กๆ น้ำหนักไม่มากมาให้ลูกลองจับ โดยที่คุณแม่อาจใส่น้ำเปล่า น้ำวส้มลงไปด้วยนิดหน่อยในแก้ว เพื่อที่เมื่อลูกยกแก้วขึ้นจ่อที่ปากเขาจะได้ลองกินน้ำจากแก้วกันค่ะ

อายุ 10 เดือน  เป็นวัยเริ่มตั้งไข่ หัดเดินกันแล้วค่ะ เชื่อว่าพ่อแม่ทุกครอบครัวต้องตื่นเต้นกับพัฒนาการอีกหนึ่งสเต็ปใหม่ของลูกนี้กันอย่างแน่นอน และลูกจะมีทักษะการใช้มือทั้งสองข้างที่มั่นคงขึ้นจากเมื่อสองเดือนที่แล้ว ลูกจะสนุกกับการหยิบอาหารเข้าปากเองได้มากขึ้น ถึงจะหกเลอะเทอะมากกว่าจะเข้าไปในปาก คุณแม่ก็ต้องยอมปล่อยให้ลูกได้เลอะแต่ได้เพิ่มทักษะกันนะคะ แนะนำให้คุณแม่เตรียมแก้วน้ำพลาสติกที่ปลอดภัยต่อการสัมผัสกับปากลูกมาใบเล็กๆ เลือกสีที่ทำให้ลูกสะดุดตา เพื่อที่เขาจะได้หยิบแก้วกินนม กินน้ำที่อยู่ในแก้วค่ะ

อายุ 1 ขวบ ลูกเข้าสู่วัยเริ่มเตาะแตะกันแล้วค่ะ เขาจะเริ่มเดิน เริ่มวิ่งได้มั่นคงขึ้นมาอีกนิด ที่สำคัญยังเป็นวัยที่ชอบให้คนชม ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ชม เชียร์ว่า “น้องเพลงเก่งจังกินนมจากแก้วด้วย” แล้วตบมือให้กำลังใจลูก เขาจะยิ่งทำเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำแล้วดีไม่โดนดุ ไม่โดนห้าม ดังนั้นแนะนำว่าคุณแม่ควรฝึกให้ลูกกินนมแม่จากขวด จากเต้า มาเป็นกินจากแก้วให้มากขึ้น  โดยที่ระหว่างวันที่ต้องให้ลูกกินนม ก็เตรียมนมให้ลูกกินจากแก้ว อยากให้ลูกเห็นขวดนม หรือให้กินจากเต้าแม่เด็ดขาด

เมื่อลูกกินนมจากแก้วได้ทุกวันๆ เขาก็จะลืมขวดนม ลืมจุกนมไปได้ค่ะ แต่ทั้งนี้ต้อทำไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และแม่ก็ต้องฝึกอย่างจริงจังด้วยนะคะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

5 วิธีช่วยคุณแม่ เลิกขวดนม ให้ลูกตอน 1 ขวบ

การดูดขวดนมนานๆ เป็นเหตุของฟันผุได้ โดยเฉพาะการนอนดูด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ ในหูอย่างคาดไม่ถึงด้วย

คุณแม่หลายคนอาจผ่านเรื่องนี้ได้สบาย เพราะลูกเลิกดูดขวดนมง่าย แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังติดขัดกับเรื่องนี้ เรามีคำแนะนำเพื่อช่วยลูกให้หย่าขาดจากขวดนมได้อย่างไม่ทรมานจนเกินไป ดังนี้ค่ะ

เลิกขวดนม
Credit Photo : Shutterstock
  1. อายุที่เหมาะให้ลูกหย่าขวดนม คือตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
  2. การค่อยๆ ลดปริมาณนมจะช่วยลดการร้องขอได้ เมื่อจะให้นมมื้อเย็นแก่ลูก ลองใส่นมในขวดให้น้อยลงๆ จนในที่สุดเหลือแค่จิบเล็กๆ และบางมื้อก็งดไปบ้าง
  3. หาอย่างอื่นมาแทน ส่วนใหญ่เด็กจะติดดูดขวดนมก่อนนอน ลองพยายามเปลี่ยนนิสัยก่อนนอน โดยอาจให้เขาอ่านหนังสือนิทาน หรือร้องเพลงก่อนนอนแทนดูดขวดนม เวลาอื่นๆ ก็ทำได้เหมือนกัน เช่น ชวนกันออกไปเดินเล่น พบปะทักทายต้นไม้ ดอกไม้ ดวงอาทิตย์ สัตว์เลี้ยง พอถึงเวลาเขาร้องจะดูดนมหรือน้ำจากขวดก็ให้ดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้จากแก้วแทน
  4. ร่วมกันเป็นกำลังใจให้ลูกอำลาขวดนม โดยหาโอกาสวันพิเศษ เช่น วันคล้ายวันเกิด มาชักชวนเขาบอกลาขวดนม โดยคุณเป็นผู้ช่วยลูกพาเขาไปทิ้งขวดนมในถังขยะ ตบมือให้เขา และเตรียมตัวเวลาลูกถามหาขวด บอกเขาว่าขวดไม่มีแล้ว เพราะเขาไม่ต้องใช้แล้ว
  5. อดทน อดทน และอดทน ลูกอาจตกใจบ้าง เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับเขา ต้องให้เวลาลูกบ้าง เด็กส่วนมากใช้เวลาไม่นานก็รับรู้ และปรับตัวได้ เพียงแต่ผู้ใหญ่ต้องใจเย็นและอดทนเท่านั้น1

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เลิกขวดนม
Credit Photo : Shutterstock

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกติดขวดนม 

ฝึกลด/เลิกนมมื้อดึก (หมายถึงเวลาประมาณ 24.00-04.00 น.)  ตั้งแต่อายุ 4-6 เดือน  เพราะเด็กเริ่มนอนหลับยาว 6-8 ชั่วโมง สามารถทำได้ ดังนี้

  1. ให้นมมื้อกลางวันแต่ละมื้อให้อิ่ม นมมื้อดึกกินพอหายหิว ค่อยๆลดจนเลิกได้ ไม่บังคับหรือคะยั้นคะยอให้กินทั้งที่ไม่หิว
  2. ฝึกกินนมให้อิ่ม ก่อนนอน หลังทำความสะอาดฟันแล้ว ไม่ควรให้ดูดนมอีก ไม่ปลุกเด็กกินนมมื้อดึก
  3. ฝึกจิบน้ำทุกชนิด-นมจากแก้ว หรือช้อน สลับกับการดูดจากขวด เมื่ออายุ 4-6 เดือน เพื่อให้เริ่มคุ้นเคย
  4. ฝึกลูกใช้ขวดนมเมื่อเวลาหิว ไม่ใช้เป็นของเล่นเดินถือไปมา
  5. สร้างบรรยากาศ “กินอาหาร”  อย่างมีความสุข แม้เลิกใช้ขวดนม ก็กินอาหารอื่นได้ อย่างสุขใจ2

 

ความสุขของคนเป็นแม่ไม่มีอะไรมากไปกว่าเห็นลูกมีความสุข ขอแค่ลูกกินอิ่มนอนหลับ มีพัฒนาการที่สมวัยทุกด้าน เพียงเท่านี้แม่ก็อิ่มใจแล้ว ผู้เขียนหวังเป็นที่สุดว่า คุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงฝึกลูกกินนมจากขวด จะสามารถฝึกลูกกันอย่างได้ผลดีกันทุกคนนะคะ และอย่าลืมลองนำเอาเทคนิคต่างๆ ที่นำมาฝากนี้ไปลองปรับใช้กันค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

วิธีฆ่าเชื้อ ล้างขวดนมลูก ให้สะอาดปลอดเชื้อโรค
ทำอย่างไรดี ป่านนี้หนูยังติดขวดนม
10 อันดับ ของใช้ใกล้ตัว ที่ซ่อนความสกปรก ถูกใช้บ่อยที่สุด

 


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
1กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids
2th-th.facebook.com , สถาบันสุขภาพแห่งชาติมหาราชินี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up