มี้จังและการสอนเรื่องความรับผิดชอบแบบคนญี่ปุ่น

ในวัย 5 ขวบที่เป็นช่วงต่อระหว่างวัยเด็กเล็กและเด็กโตอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกของตนมีศักยภาพในการทำอะไรได้บ้าง ในวัยนี้เด็กน้อยหลายคนคงเข้าอนุบาลกันหมดแล้ว และเมื่อต้องห่างไกลสายตาไป คุณพ่อคุณแม่ก็ย่อมมีความเป็นห่วงว่าลูกของตนจะช่วยเหลือตัวเองได้ขนาดไหน สามารถทำอะไรตามคำสั่งได้หรือเปล่า ซึ่งสิ่งนั้นก็คือลูกของเรานั้นสามารถรับผิดชอบตนเองได้มากขนาดไหนในวัยเท่านี้ คำถามคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเรานั้นรู้จักความรับผิดชอบ และหากว่ายังไม่รู้ จะเริ่มสอนได้เมื่อไหร่ และต้องสอนอย่างไร เมื่อพูดถึงเรื่องความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจมองเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่ เพราะคำนี้สื่อไปถึงบุคลิกที่เชื่อมโยงกับสังคมในอนาคตของเจ้าตัวน้อยด้วย แต่จริงๆ แล้วความรับผิดชอบเริ่มต้นด้วยความหมายง่ายๆ และใกล้ตัวมากกว่าที่คิดค่ะ เราลองมาดูการสอนให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบผ่านนิทานเรื่อง “งานแรกของมี้จัง” ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นกันดีกว่าค่ะ งานแรกของมี้จังเป็นเรื่องราวของเด็กหญิงมี้จังวัย 5 ขวบ ที่คุณแม่ได้ไหว้วานให้เธอช่วยออกไปซื้อนมที่ร้านชำใกล้บ้าน และมี้จังก็พยายามทำหน้าที่นั้นอย่างมุ่งมั่นและสำเร็จจนได้ แม้จะเจออุปสรรคบ้างก็ตาม อาจดูเป็นเรื่องที่ไม่ยากสำหรับผู้ใหญ่หลายๆ คน แต่การออกไปซื้อของนอกบ้านก็นับเป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็กคนหนึ่งเลยทีเดียว และหากมองตามเนื้อเรื่องเราก็จะเห็นได้ว่า ในประเทศญี่ปุ่นนั้นเด็กวัยเพียงเท่านี้ก็เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองได้แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะนำแนวทางมาปรับใช้และสั่งสอนลูกของเราได้ การสอนเรื่องความรับผิดชอบแบบคนญี่ปุ่น การสอนเรื่องความรับผิดชอบแบบคนญี่ปุ่นเริ่มต้นตั้งแต่เข้าโรงเรียนอนุบาล เมื่อพ่อแม่พาเด็กมาส่งให้คุณครูที่โรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ทางโรงเรียนจะให้เด็กทำหน้าที่ของตนเอง เช่นการนำสิ่งของของตัวเอง อย่าง รองเท้า กระเป๋าที่นอน ผ้ากันเปื้อน ไปเก็บไว้ในที่ที่จัดเตรียมไว้ หลังจากนั้นจึงจะเข้าไปร่วมเล่นของเล่นกับเพื่อนๆ ได้ แม้เด็กเล็กอาจจะยังทำไม่ได้ทันทีในวันแรกๆ แต่คุณครูก็จะคอยช่วยบอกและพาเด็กไปทำสิ่งนั้นอย่างใจเย็น เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าการช่วยเหลือตนเองเป็นสิ่งที่ควรทำ และเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำได้ ซึ่งสิ่งนี้จะสอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำวันของเด็กไปเรื่อยๆ ทำให้ตัวเด็กเกิดความคุ้นเคยและรับรู้หน้าที่ของตนเองได้ในที่สุด ให้เด็กดูแลรับผิดชอบเรื่องของตนเอง เช่นเดียวกับเรื่องมี้จังที่คุณแม่ของมี้จังไม่ได้บอกตรงๆ ว่าต้องทำอะไร แต่ใช้การมอบหมายงานง่ายๆ […]

keyboard_arrow_up