โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

เด็กๆ เฮลั่น! โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ประกาศเป็น “โรงเรียนปลอดการบ้าน”

event
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

อย่างไรก็ดี สำหรับ นโยบายของ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ที่ประกาศเป็น “โรงเรียนปลอดการบ้าน” นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาฯ กพฐ. ได้กล่าวชื่นชม โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ว่าดำเนินการได้ดี เพราะการประกาศลดการบ้านอย่างน้อยก็ไม่ทำให้เด็กเครียดจากการเรียนการสอนในห้องเรียน

ผลของการเป็น โรงเรียนปลอดการบ้าน

ทั้งนี้ช่องว่างของการเรียนรู้ของเด็กที่ไม่มีการบ้านหลังจากเลิกเรียนแล้ว อาจนำเวลาที่ว่างไปกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้น การปลอดการบ้านถือว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคต สพฐ.จะปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ดังนั้นการเรียนการสอนในห้องเรียนก็จะต้องปรับ และการให้การบ้านนักเรียนก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน โดยที่ไม่ใช่เป็นการให้บ้านแบบจำนวนมากๆ อีกต่อไป ดังนั้นจากนี้ไปโรงเรียนก็ต้องหาแนวทางที่จะลดการบ้านเด็กอย่างไร แต่อาจจะให้เด็กไปค้นคว้า หรือหาความรู้เพิ่มเติมในช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำการบ้าน

อย่างไรก็ดีสำหรับประเด็นการบ้านสำหรับเด็กยุคนี้ ที่มีเยอะไป ไม่ใช่แค่โจทย์ใหญ่สำหรับเด็กไทย แต่เป็นประเด็นใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะถ้าไปสำรวจประเทศที่ได้ชื่อว่าการศึกษาดีที่สุดในโลกอย่างฟินเเลนด์ จะพบว่าคุณครูแทบไม่มีการบ้านให้เด็กๆ หรือถึงมีเด็ก ๆ ก็ใช้เวลาทำไม่เกินวันละ 10 นาทีในการทำให้เสร็จ

Must read >> สอนลูกเก่งรอบด้าน ตัวอย่างจากประเทศฟินแลนด์

การบ้าน

ข้อเสียของการบ้าน VS ข้อดีของการไม่มีการบ้าน

ขณะที่ครูกับพ่อแม่กลุ่มหนึ่งเชื่อว่า การบ้าน ช่วยสร้างทักษะและช่วยให้เด็กทบทวนความรู้ อีกกลุ่มหนึ่งก็มองว่าการบ้านเป็นเรื่องไม่จำเป็น ทำให้เด็กหมดเรี่ยวแรงและไม่อยากไปโรงเรียน การบ้าน คือภาระของเด็ก ทำให้เด็กๆ เครียด ไม่มีเวลาออกไปเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ หรือใช้เวลาทำกิจกรรมกับครอบครัวเท่าที่ควร แต่งานวิจัยมากมายในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ปัญหานี้แตกต่างและซับซ้อนมากกว่าที่หลายคนคิด

Must read >> ถูกใจชาวเน็ตอย่างแรง! การบ้านลูก กับวิธีแก้ปัญหาคุณแม่ติดโทรศัพท์ ตามฉบับอริยสัจ 4

Must read >>  ถ้าลูกทำการบ้านไม่เสร็จ ให้ฝึกลูกรับผิดชอบชีวิตตัวเองใหม่!

แต่แทนที่จะถามแค่ว่า “ต้องมีการบ้านหรือไม่”
อีกคำถามที่ควรมีคือ หลังโรงเรียนเลิกควรมีอะไร
ที่ช่วยให้นักเรียนยังจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้และพร้อมจะเรียนเพิ่มเติม มากกว่า

 

เพราะงานวิจัยตลอดหลายทศวรรษบอกว่า การบ้านก็ยังมีประโยชน์ แต่ไม่ใช่กับทุกระดับชั้น และปริมาณการบ้านก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด

วัยประถม – อ่านอย่างเดียวก็พอ >> การบ้านอาจทำให้เสียเวลา เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่มีทักษะการเรียนพอที่จะได้รับประโยชน์เต็มที่ สำหรับวัยนี้จึงควรเน้นฝึกให้รักการเรียนรู้ และการบ้านก็อาจเป็นศัตรูตัวฉกาจ

การบ้านที่เข้ากัน : อ่านหนังสือตอนค่ำกับพ่อแม่เป็นกิจกรรมที่เหมาะที่สุด เพราะยิ่งเด็กๆ อ่านออกช้าเท่าไหร่ โอกาสจบมัธยมก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย

วัยมัธยมต้น – มีได้แต่อย่าเยอะ >> เมื่อเริ่มโตและค้นข้อมูลเป็นแล้ว การบ้านจึงช่วยให้จำสิ่งที่เรียนได้ แต่ก็ไม่ควรมีมากเกินไปเพราะผลวิจัยปี 2015 พบว่าเด็กวัยนี้ที่ต้องทำการบ้านวันละ 90-100 นาทีมีโอกาสเรียนแย่ลงเพราะหมดแรงจูงใจและความสนใจ

การบ้านที่เข้ากัน : นักวิจัยหลายคนแนะนำว่า การบ้านควรท้าทายความสามารถแค่ระดับหนึ่ง ไม่ต้องยากเกินไปจนทำให้เด็กๆ หมดกำลังใจและความพยายาม

มัธยมปลาย – มีประโยชน์มากแต่ความเสี่ยงสูง >> การบ้านช่วยเรื่องการเรียนในวัยนี้ได้มาก ตราบเท่าที่ไม่เกินคืนละสองชั่วโมงหรือกัดกินเวลาพักผ่อน รวมถึงเวลาที่ใช้กับครอบครัวและเพื่อน งานวิจัยปี 2013 พบว่านักเรียนมัธยมปลายที่มีระดับความเครียดสูงเพราะทำการบ้านจนนอนไม่พอจะมีปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและใจอย่างหนัก

การบ้านที่เข้ากัน : เมื่อถึงโรงเรียน พวกเขาควรได้เรียนรู้อย่างอิสระ การบ้านจึงควรเชื่อมโยงกับบทเรียนและทำได้เองโดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือ เน้นคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ ผลการตรวจจากครูก็ควรเปิดเผยและชัดเจน

ทั้งนี้หลักสูตร  “ไม่มีการบ้าน” (No Homework) ที่ฟินแลนด์ ในความเป็นจริงก็ใช่ว่าไม่มีการบ้านเลยซะทีเดียว แต่ การบ้านของนักเรียน คือ การออกไปเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่ตัวเองได้พบเจอนั่นเอง  โดยส่วนใหญ่เด็ก ๆ ที่ฟินแลนด์ จะใช้เวลาทำการบ้านเพียง 5 – 20 นาทีเท่านั้น และให้ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนครอบครัว เล่นกีฬา หรือให้ฝึกฝนความรู้ด้านศิลปะมากขึ้น เช่น การเล่นดนตรี วาดรูป เย็บปัก หรือแม้กระทั่งการเขียนบทกวี ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่หลายคนมองว่าไร้สาระ และควรเอาเวลาไปตั้งใจเรียนในสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่า แต่ทั้งหมดนี้แหละคือสิ่งที่กลับช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจจริง ๆ แถมได้แลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ระหว่างกันอีกด้วย

ดังนั้น สุดท้ายแล้วจาการประกาศนโยบาย ของ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ว่าจะเป็น “โรงเรียนปลอดการบ้าน” ซึ่งแท้จริง การบ้าน นั้นอาจไม่ใช่ยาขมที่คุณครูหยิบยื่นให้เด็กๆ เสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับว่าการบ้านที่คุณครูสั่งนั้นช่วยจุดประกายให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และนำทักษะจากห้องเรียนไปต่อยอดสู่ชีวิตจริงได้หรือไม่นั่นเอง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก : thepotential.org , www.globish.co.th และอ้างอิงที่มาข่าวจาก : www.thaipost.net , เพจ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ (Wat Bowonniwet School) , ภาพจากเพจ BN Photo Gallery

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up