ลูกดื้อยา

ลูกดื้อยา เพราะเชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกดื้อยา
ลูกดื้อยา

คุณพ่อ คุณแม่อาจจะเคยสงสัย ว่าทำไมให้ลูกน้อยรับประทานยาปฏิชีวนะแล้ว ลูกดื้อยา ไม่หายจากโรคที่เป็นอยู่สักที ทำไมหายแล้วกลับมาเป็นอีก ไม่หายขาด แล้วทำไมต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบกำหนด ทั้งๆ ที่ไม่มีอาการป่วยแล้วก็ตาม เรื่องเหล่านี้พ่อแม่อาจจะยังไม่เข้าใจ

โรคใหม่จากเชื้อเก่า

ในปัจจุบันมีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย คู่ขนานกับพัฒนาการทางเทคโนโลยี เชื้อแบคทีเรียดื้อยา หรือโรคดื้อยา ได้กลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพของคนทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยที่พบว่า คนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา 88,000 คนต่อปี และเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา 38,000 คนต่อปี

banner300x250

นพ.กำธร มาลาธรรม คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี ประธานคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล อธิบายว่า ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น โลกร้อน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือคนทำให้เกิดขึ้น เช่น การรับประทานสัตว์ป่า หรือยุ่งเกี่ยวกับสัตว์ป่า ทำให้ติดโรคมาด้วย ประกอบกับการเดินทางไปมาที่สะดวกขึ้นข้ามซีกโลก ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วอย่างรวดเร็ว

มีโรคชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งในบ้าน ชุมชน และโรงพยาบาล ซึ่งเชื้อนั้นคือเชื้อแบคทีเรียดื้อยา หรือเชื้อดื้อยาที่มีความรุนแรงมากขึ้น เพราะเชื้อดื้อยาบางชนิดยังไม่มียารักษา และควบคุมยาก เมื่อร่างกายกำจัดเชื้อแบคทีเรียไม่ได้ จึงต้องรับประทานยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้น ซึ่งพบเชื้อดื้อยาที่รุนแรงที่ไม่มียารักษาได้แล้ว อาจทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ 80% เพราะถ้าเชื้อไปอยู่ในที่ที่มีการใช้ยาฆ่าเชื้อมากๆ ก็จะกลายเป็นเชื้อดื้อยารุนแรง

ลูกดื้อยา

ความเข้าใจผิดเรื่องการใช้ยา

เด็กที่รับประทานยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ จะมีเชื้อดื้อยามากกว่า เด็กที่ไม่ค่อยรับประทาน การรับประทานยาฆ่าเชื้อที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดการดื้อยา หลายโรคไม่จำเป็นต้องรักษา คนไทยมักเข้าใจผิดว่าถ้าเกิดอาการอักเสบต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะเสมอ และเข้าใจผิดว่ายาแก้อักเสบ กับยาฆ่าเชื้อเป็นตัวเดียวกัน นำไปสู่การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น

ความเข้าใจผิดเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยเป็นหวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และมีอาการเจ็บคอ คุณพ่อ คุณแม่จำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าลูกคออักเสบ จึงให้ลูกรับประทานยาฆ่าเชื้อ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด ทำให้เกิดการดื้อยาขึ้น

นพ.กำธร มาลาธรรม กล่าวว่า ในโรงพยาบาลก็มีการใช้ยาฆ่าเชื้อกับคนไข้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดเชื้อดื้อยารุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล ต้องรักษาตัวนาน มีค่าใช้จ่ายสูง และมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตได้มากกว่า

อ่านต่อ “เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล, 7 โรคเสี่ยงดื้อยา และวิธีสู้กับการดื้อยา” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up