ตั้งครรภ์ 5 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

ตั้งครรภ์ 5 เดือน

 

  • ท่านอนของแม่ท้อง

เมื่อคุณแม่ท้องใหญ่ขึ้น อาจทำให้มีปัญหาเวลานอนหลับ จึงขอแนะนำท่านอนที่จะช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้ง่าย และรู้สึกสบายเนื้อสบายตัว นั่นคือท่านอนตะแคง

ท่านอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับแม่ท้อง คือนอนตะแคงงอเข่าเล็กน้อย  โดยควรมีหมอนมาสอดรองรับส่วนคอ ไหล่ ท้องและขา ซึ่งการตะแคงซ้ายจะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายกว่าตะแคงขวา เพราะเส้นเลือดใหญ่ในท้องจะค่อนไปทางด้านขวา การนอนตะแคงซ้ายจึงทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกและดีกว่านั่นเอง  แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรนอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้ปวดหลัง ปวดเมื่อยร่างกาย เพราะไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ

ส่วนท่านอนหงาย ไม่แนะนำสำหรับแม่ท้องที่มีอายุครรภ์มาก หรือท้องใหญ่แล้ว  เพราะการนอนหงาย น้ำหนักของมดลูกที่โตขึ้น จะไปกดทับลงบนเส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ทางด้านหลังมดลูก จึงไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจได้น้อย และยังส่งผลทำให้เลือดไหลออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ รวมทั้งสมองน้อยลงด้วย  ทำให้คุณแม่เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ง่าย และรู้สึกอึดอัด นอนไม่หลับ ไม่สบายตัวนั่นเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

  • ดูแลตัวเองง่ายๆ ยามเจ็บป่วย

หากคุณแม่ท้องมีอาการเจ็บป่วยไม่สบายในขณะตั้งครรภ์ การกินยาต่างๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ได้ ดังนั้นเราจึงมาแนะนำวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น หากคุณแม่เจ็บป่วยไม่สบายมาฝาก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีอันตราย

ท้องเสีย – พยายามเพิ่มและทดแทนปริมาณน้ำที่สูญเสียไป ด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่

เป็นหวัด – ดื่มน้ำเยอะๆ หรือเปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้สดบ้าง ควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น ซุป ข้าวต้ม และควรนอนหลับพักผ่อนให้มากๆ

เป็นไข้ – ใช้วิธีนำผ้าขนหนูบิดหมาดมาเช็ดตัวบ่อยๆ โดยเช็ดตามใบหน้า ลำตัว ข้อพับ รักแร้และซอกแขน  แต่หากมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาและมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์

แผลฟกช้ำ – ให้ใช้แผ่นเจลทำความเย็น วางประคบบริเวณที่เขียวหรือฟกช้ำ ประมาณ 20-30 นาที โดยประคบเพียงเบาๆ เพื่อบรรเทาอาการบวม  หากไม่มีแผ่นเจลทำความเย็น สามารถใช้น้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อด้วยผ้าอีกชั้น ประคบบริเวณแผลได้

*หากคุณแม่มีอาการเจ็บป่วยผิดปกติหรือรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ที่ฝากครรภ์แล้วแจ้งอาการต่างๆ  เพื่อที่คุณหมอจะได้วินิจฉัยและจัดยาที่ปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

ติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือน คลิกต่อหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up