ฝากท้อง

รวมคำถามที่แม่ต้องตอบ! เมื่อไปฝากท้องครั้งแรก

event
ฝากท้อง
ฝากท้อง

ฝากท้อง

และหลังจากตื่นเต้นดีใจ ทีนี้ก็ถึงเวลาเตรียมตัวเป็นว่าที่คุณแม่ สิ่งแรกที่สูติแพทย์และผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำก็คือ ควรไปฝากท้องกับคุณหมอทันทีที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะต้องตรวจสอบว่าเป็นภาวะตั้งครรภ์ผิดปกติ เช่น ท้องนอกมดลูก หรือครรภ์ไข่ปลาอุกหรือไม่ และคุณหมอจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลครรภ์ และสั่งวิตามินและแร่ธาตุเสริมที่จำเป็นให้ด้วย ก่อนจะขึ้นรถไปคลีนิคหรือโรงพยาบาล คุณแม่คนใหม่อย่าลืมเตรียมข้อมูลเหล่านี้ติดตัวสำหรับการฝากท้องครั้งแรก ด้วยนะคะ

1. ประจำเดือนครั้งสุดท้าย

ในการ ฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอจะถามถึงวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อใช้คำนวนอายุครรภ์และกำหนดคลอด กรณีที่ประจำเดือนของคุณมาไม่ปกติก็ควรแจ้งสูติแพทย์ ถ้ามีผลการตรวจเลือดก่อนแต่งงานก็นำติดตัวไปด้วย เพราะในผลการตรวจเลือดจะมีข้อมูลที่สูติแพทย์จำเป็นต้องทราบ เช่น กรุ๊ปเลือด ABO และ Rh ของคุณแม่ ความเสี่ยงต่อโรคธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน และไวรัสตับอักเสบบี ฯลฯ

2. ประวัติสุขภาพ

ถ้าคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน ฯลฯ ควรขอประวัติการรักษาจากแพทย์ผู้ดูแลติดมาด้วย รวมถึงคุณแม่ที่เป็นหรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หรือหนองใน ฯลฯ หรือมีวิถีชีวิตที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็ควรแจ้งให้สูติแพทย์ที่ฝากครรภ์ทราบ

3. ประวัติการตั้งครรภ์และการเจ็บป่วยทางนรีเวช

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองขึ้นไป หรือเคยตั้งครรภ์แต่เกิดภาวะผิดปกติ เช่น แท้งบุตร รกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด คลอดก่อนกำหนด หรือทารกอยู่ในท่าผิดปกติทำให้คลอดลำบาก ฯลฯ หรือหากคุณแม่เคยเป็นโรคทางนรีเวช เช่น ซีสต์หรือเนื้องอกในมดลูก ถึงแม้จะผ่าตัดจนหายดีแล้ว ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

4. ประวัติสุขภาพครอบครัว

กรณีที่ในครอบครัวของคุณพ่อคุณแม่มีประวัติของโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด (ฮีโมฟีเลีย) หรือสมาชิกหญิงในครอบครัวของคุณแม่เคยมีภาวะการตั้งครรภ์บางอย่างที่อาจส่งต่อทางพันธุกรรม เช่น แท้งบ่อย คลอดลูกพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือคลอดเร็ว ฯลฯ ควรสอบถามและจดรายละเอียดต่างๆ เช่น ใครบ้างที่เป็น  ใครบ้างที่มีภาวะเหล่านี้  ความถี่ที่อาการนี้เกิดในครอบครัว และความรุนแรงของอาการ ฯลฯ เพื่อให้แพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัยว่า คุณแม่จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเหล่านี้มากเท่าใด และควรวางแผนการดูแลอย่างไรบ้าง

อ่านต่อ >> “การดูแลลูกในครรภ์ให้ปลอดภัยครบ 32 ตลอดเวลา 9 เดือน” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up