เครียดตอนท้อง

เครียดตอนท้อง ระวัง 7 ผลร้ายที่แม่ท้องต้องเจอ..หากเครียดเกิน!

Alternative Textaccount_circle
event
เครียดตอนท้อง
เครียดตอนท้อง

คุณหนิง-ปณิตา หรือคุณแม่สุดสวยของน้องณิริน ได้โพสต์ให้กำลังใจคุณแม่เป้ย ผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว “ningpanita” โดยบรรยายภาพว่า…

“ในวันนี้ทุกสิ่งอาจจะยากนะ มันสับสน กังวล ท้อแท้ ทุกอย่างวนอยู่ในหัว แต่ขอให้เชื่อว่ามันจะผ่านไปได้ อุปสรรคมีไว้ให้ข้ามผ่านไม่ได้มีไว้ให้ล้ม และไม่ใช่เราคนแรกบนโลกใบนี้ที่เจอเรื่องแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร ไม่ผิดที่วันนี้จะเป็นแบบนี้ เข้าใจที่สุดว่ามันทรมาน ผ่านมาแล้วถึงพูดได้ แค่เราคิดว่าเราจะรักษาและประคองให้รอดมันก้อยอดเยี่ยมที่สุดละ ใครจะว่าอย่างไรไม่ต้องไปสน ขอแค่เราเชื่อมั่นในสถาบันครอบครัวของเราก้อพอ (ใครจะพูดงัยคอมเม้นท์แย่ๆยังงัยไม่ต้องไปรับรู้ ไม่ต้องไปสนใจ มันก้อแค่ผ่านปาก หรือ ตัวหนังสือที่สำหรับบางคนเม้าท์เอาสนุกไม่แม้จะคิดไตร่ตรองว่าคนที่อ่านจะรู้สึกอย่างไร)

สัญญากันแล้วนะว่าจะเข้มแข็ง ต้องทำให้ได้ตามที่สัญญา “อย่าเครียด” พูดมันง่ายแต่ทำยาก แต่ยังงัยก้อต้องทำ …. เครียด ท้องแข็ง พี่เป็นห่วงลูกสาวในท้อง อย่าลืมนะลูกพี่เหมือนกัน ตีก้นแม่ชีเลย ❤❤❤❤ รักนะ เป็นห่วงมากด้วย เจอกันเร็วที่สุด ส่งกำลังใจมาให้  #ใจอยู่ใกล้ตลอดนะถึงตัวไม่อยู่ ใครอยากเมนต์ ถ้าไม่สร้างสรรค์ ไปเล่นที่อื่นนะ แม่ขอ คนเค้าต้องการกำลังใจไม่ใช่…… นะ @ppanward

คนท้องเครียด
หนิง ปณิตา โพสต์ภาพเป้ย ถูกหามเข้ารพ. เพราะท้องแข็ง เนื่องจาก เครียดตอนท้อง

ขอบคุณภาพจาก IG @ningpanita

อย่างไรก็ดีทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่เป้ยผ่านมรสุมชีวิตครั้งนี้ไปได้ด้วยดีนะคะ

ทั้งนี้ที่ความเครียดของแม่เป้ย ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง นั่นเป็นเพราะเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้น และการบีบตัวก็จะมีมากขึ้น จนทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องหรือท้องแข็งนั่นเอง ซึ่งเกิดจากเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด คุณแม่จึงรู้สึกเจ็บๆ ตึงๆ ที่ท้อง

ซึ่งธรรมชาติมดลูกจะบีบตัวมากที่สุดตอนจะคลอดค่ะ แต่ถ้าคุณแม่มีอาการท้องแข็งหรือปวดท้องมากทั้งๆที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด อาจเป็นสัญญาณเตือนของการคลอดก่อนกำหนดได้นั่นเองค่ะ

เครียดตอนท้อง ภัยเงียบสำหรับว่าที่คุณแม่และลูกน้อย

เมื่อคุณแม่ต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือความคิดที่ทำให้รู้สึกไม่ดี ร่างกายก็จะปรับไปอยู่ในโหมดระวังภัย ระบบประสาทและกล้ามเนื้อจะตื่นตัว มีการหลั่งฮอร์โมนบางตัวออกมา ได้แก่ ฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนตัวนี้มีประโยชน์ช่วยสร้างสมดุลให้กับระบบในร่างกายเมื่อเกิดความเครียดระยะสั้น แต่หากเวลาผ่านไปแล้วเรายังไม่สามารถปิดสวิทช์ความเครียดนั้นลงได้ (ความเครียดสะสม) เมื่อนั้นร่างกายก็จะเริ่มเกิดปัญหา เช่น ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง ความดันและน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ปวดหัวไมเกรน เป็นสิว โรคอ้วน อารมณ์แปรปรวน ปลีกตัวออกจากสังคม ก้าวร้าว ฯลฯ

นอกจากผลกระทบโดยตรงต่อคุณแม่แล้ว ลูกน้อยก็ได้รับผลเช่นกัน มีหลายๆ งานวิจัยที่เห็นพ้องต้องกันว่าความเครียดของแม่ท้องเป็นเหมือนภัยเงียบที่เราไม่ควรละเลย เพราะส่งผลให้เพิ่มอัตราการคลอดก่อนกำหนด คือก่อน 37 สัปดาห์มากขึ้น น้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ เพิ่มโอกาสให้ทารกติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์ และมีแนวโน้มว่าเด็กจะมีปัญหาด้านอารมณ์ พฤติกรรม และการเรียนรู้ตามมาด้วย อีกทั้งยังอาจกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติได้ในอนาคต

จากวารสาร Health Psychology ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องแม่ท้องกับความเครียดไว้ว่า “พัฒนาการของเด็กในครรภ์ในแต่ละช่วง เกิดจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายในครรภ์เป็นตัวตัดสินว่าจะสร้างหรือพัฒนาตัวลูกอย่างไร โดยมีพันธุกรรมของพ่อแม่เป็นตัวกำหนด” ดังนั้นหากแม่เครียด ลูกน้อยก็จะเติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความเครียดไปด้วยนั่นเอง 

>> จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หากคุณแม่เครียดเกินไป คลิกอ่านต่อหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up