คนท้องขับรถ

คนท้องขับรถ ขับรถอย่างไรให้ปลอดภัย?

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องขับรถ
คนท้องขับรถ

ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะบอกว่า คนท้องขับรถ ระยะสั้นๆ ได้จนถึงช่วงใกล้คลอด ถ้าไม่มีภาวะผิดปกติ แต่มีเรื่องหนึ่งต้องใส่ใจคือ ความไม่ประมาท เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น แรงกระแทกอาจเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และเจ้าตัวเล็ก เวิร์กกิ้งมัมคนไหนต้องขับรถไปทำงานเองจนถึงไตรมาสสุดท้าย เรามีเทคนิคดีๆ มาฝากค่ะ

คนท้องขับรถ ขับรถอย่างไรให้ปลอดภัย?

คนท้องขับรถ ระยะไกลหรือใช้เวลานานมากกว่า 1 ชั่วโมง อาจทำให้ว่าที่คุณแม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมาก (ความจริงถึงไม่ได้ขับเอง แต่ต้องนั่งรถนานๆ ก็ทำให้ปวดเมื่อยได้เหมือนกัน) หากคุณจำเป็นต้องขับรถหรือนั่งรถระยะไกล ควรปรึกษาสูติแพทย์เสียก่อน ถ้าคุณหมออนุญาต ก็มาเตรียมตัวให้พร้อม

1.ปรับเบาะที่นั่งให้ถอยไปข้างหลังเพื่อเพิ่มที่พื้นให้มากขึ้นก่อน เท้าจะได้เหยียบคันเร่งและเบรคได้สะดวก แล้วถ้าพวงมาลัยของคุณปรับความสูงได้ ก็ปรับให้พวงมาลัยสูงขึ้นไปอีกนิด จะได้ไม่กดพุงโตๆ ที่ยื่นออกมา

2.แม่ท้องจะต้องขับรถอย่างมีสติ, ไม่ขับรถเร็วเกินไป, หลีกเลี่ยงการขับรถในสภาพทัศนะวิสัยไม่ดี, และตรวจดูความพร้อมของยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นยางหรือเบรกอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อยทุกครั้งที่ขึ้นรถ

3.หาข้อมูลจุดแวะพัก คุณแม่ควรหยุดพัก ออกมาเดินยืดเส้นยืดสายทุก 1-2 ชั่วโมง ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลไว้ก่อนว่า คุณจะแวะพักตรงจุดไหนได้บ้าง จุดไหนจะปลอดภัยและมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ

4.เตรียมกระดาษชำระสำหรับเข้าห้องน้ำ ช่วงไตรมาสสุดท้ายแม่ท้องจะกลับมาปัสสาวะบ่อยอีกแล้ว คุณอาจจะต้องเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่หยุดพักรถ เตรียมกระดาษชำระหรือทิชชู่เปียกติดรถไว้ได้เลย ถึงมาตรฐานห้องน้ำตามปั้มน้ำมันเมืองไทยจะพัฒนาแล้ว แต่ก็ไม่แน่ว่าทุกที่จะมีกระดาษชำระให้เราใช้

คนท้องขับรถอันตรายไหม
การขับรถระยะไกลหรือใช้เวลานานมากกว่า 1 ชั่วโมง อาจทำให้ว่าที่คุณแม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมาก

5.ฝึกท่าบริหารยืดกล้ามเนื้อ ถ้าคุณแม่คนไหนไม่ได้บริหารกล้ามเนื้ออยู่เป็นประจำ ก่อนเดินทางก็เป็นเวลาดีที่คุณจะได้ฝึกยืดกล้ามเนื้อต้นคอ, แผ่นหลัง, ต้นขา, น่อง ท่าบริหารจะช่วยแก้ปวดเมื่อยและทำให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้นเมื่อต้องกลับขึ้นไปนั่งหลังพวงมาลัย

6.ในกรณีที่มีอาการชาบริเวณขา เคลื่อนไหวลำบาก เป็นตะคริวบ่อย ๆ ก็ควรหยุดขับรถ ยิ่งถ้าคุณแม่เป็นโรคครรภ์เป็นพิษด้วยแล้วหรือมีอาการเจ็บครรภ์คลอดก็ยิ่งไม่ควรขับรถเองด้วยเช่นกัน เพราะความเร่งรีบและเจ็บปวดอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

7.การขับรถประจำวันเพื่อไปจับจ่ายซื้อของหรือขับไปทำงานในระยะใกล้ ๆ คุณแม่ยังสามารถขับรถได้ตามปกติ แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอดที่คุณแม่มักจะรู้สึกอึดอัดหรือรู้สึกหน่วงท้องบ้าง คุณแม่ก็ไม่ควรขับ

บทความจากเรื่อง “ขับรถตอนท้องแก่…ได้ไหม?” นิตยสารเรียลพาเรนติ้ง ฉบับที่ 86 เมษายน 255

อ่าน “คำแนะนำในการเดินทางขณะตั้งครรภ์” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up