ลูกกินนมเก่ง อย่าหลงดีใจ สุดท้ายต้องแอดมิทเพราะ กินนมมากเกินไป

Alternative Textaccount_circle
event

ความจุกระเพาะทารก

ความจุกระเพาะทารก หลังคลอดถึง 1 เดือน

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ  ได้อธิบายถึง ความจุกระเพาะทารกไว้ดังนี้

  • วันแรกหลังคลอด กระเพาะทารกมีขนาดเท่ากับลูกแก้ว หรือผลเชอรี ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 5 – 7 ซีซี หรือ 1 – 1.4 ช้อนชา
  • 3 วันหลังคลอด กระเพาะทารกมีขนาดเท่ากับลูกวอลนัท ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 22 – 27 ซีซี หรือ 0.75 – 1 ออนซ์
  • 7 วันหลังคลอด กระเพาะทารกมีขนาดเท่ากับผลแอปปริคอต ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 45 – 60  ซีซี หรือ 1.5 – 2 ออนซ์
  • 30 วันหลังคลอด กระเพาะทารกมีขนาดเท่ากับไข่ไก่ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 80 -150  ซีซี หรือ 2.5 – 5 ออนซ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เมื่อคุณแม่ทราบถึง ขนาดกระเพาะของลูกน้อยแล้ว จะได้ระวังไม่ป้อนนมเกินปริมาณที่ลูกจะรับได้ เพราะหากคุณแม่เห็นลูกร้องบ่อย คิดว่าลูกหิว ลูกกินนมเก่ง จึงให้ลูกกินนมมากเกินไป อาจทำให้กระเพาะ ลำไส้ดูดซึมนมไม่ทัน และเกิดการ Overfeeding ได้ค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกจากเต้าอาจเกิดคำถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกดูดนมไปมากน้อยแค่ไหน เพียงพอหรือยัง คุณหมอมีคำแนะนำ ดังนี้

ให้นมลูก ต้องแบบนี้ ป้องกันการ overfeeding

  1. ปกติเด็กแรกเกิดจะตื่นขึ้นมากินนมแม่ทุก 2-3 ชั่วโมง หลักการให้นมแม่คือชั่วโมงละ 1 ออนซ์ ถ้าให้ 2 ออนซ์ ลูกจะอิ่มท้องอยู่ไปได้ราว 2 ชั่วโมง
  2. สังเกตอึลูก ถ้าลูกอึครบ 2 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งมีปริมาณอึกว้างเท่ากับแกนของม้วนกระดาษชำระ คือ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. หรือฉี่ครบ 6 ครั้ง ในหนึ่งวัน (24 ชม.) แสดงว่าได้รับนมเพียงพอ
  3. ลูกร้องไม่ใช่เพราะหิวเสมอไป คุณแม่ควรเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ด้วยการอุ้มพาออกไปเดินเล่น หรือให้ลูกดูดจุกหลอก หรือให้ลูกอยู่ในเปลไกว แทนการให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกทำท่าขยับปากหรือร้องไห้
  4. ในบางครั้งลูกอาจร้องอยากดูดเต้าเพราะต้องการความอุ่นใจ ในกรณีนี้คุณแม่อาจปั๊มนมออกสักนิด ก่อนเอาลูกเข้าเต้า เพื่อป้องกันลูกกินนมมากเกินไปค่ะ

อ่านต่อ อาการแบบไหนเรียกว่า ลูกกินนมมากเกินไปแล้ว คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up