อุทาหรณ์เตือนใจทุกครอบครัว! ทารกวัย 7 เดือนเสียชีวิต หลังพ่อแม่หวังดีให้ดื่มนมชนิดนี้แทน ‘นมแม่’

event

1. โปรตีน

  • ควรให้ลูกทารกได้รับโปรตีน 2-3 มื้อต่อวัน แหล่งโปรตีนได้แก่
  • ถั่วต่างๆ เมล็ดพืช
  • ไข่สุก (คุณหมอสุธีราเคยแนะนำให้ลูกเริ่มไข่ขาว 1 ขวบขึ้นไปเพื่อเลี่ยงการแพ้)
  • ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้
  • โปรตีนจากธัญพืช เช่น ขนมปัง ข้าว และข้าวโพด
  • นมและผลิตภัณฑ์นม

โปรตีนประกอบด้วยกรดอะมิโน ทั้งแบบจำเป็นและไม่จำเป็น เราจะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นจากอาหารเท่านั้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้

ทารกน้อยต้องการทั้งกรดอะมิโนจำเป็นและกรดอะมิโนไม่จำเป็นเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต ควรให้ลูกกินอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นแต่ละตัวในปริมาณที่เพียงพอพร้อมๆ กัน ทารกจะได้รับกรดอะมิโนทั้งสองชนิดพร้อมกันได้จาก ถั่วเหลือง เมล็ดควินัว (Quinoa) เมล็ดกัญชง (Hemp seed) และไข่ แต่วิธีที่ง่ายกว่าคือคละอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนเข้าด้วยกันในหนึ่งมื้อ เช่น ข้าวบดใส่เต้าหู้หั่นจิ๋ว ข้าวต้มผสมนมแม่ สำหรับทารกไม่ควรใช้แหล่งโปรตีนเพียงแหล่งใดแหล่งหนึ่งเท่านั้น เช่น ชีส

2. เหล็ก

ทารกต้องการธาตุเหล็กเพื่อช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน สารสีแดงในเลือดซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย เหล็กที่สะสมในร่างกายลูกจากค่อยๆ ลดลงหลังจากลูกอายุ 6 เดือน ถ้าลูกได้รับไม่เพียงพอจะเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโลหิตจางได้ แหล่งธาตุเหล็กที่ดีสำหรับลูกได้แก่

  • ถั่วเมล็ดแบน เช่น ถั่วเลนทิล ถั่วลูกไก่ (chick peas)
  • ผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี ผักบุ้ง ผักโขม
  • ขนมปัง ทั้งขนมปังขาวและโฮลวีท
  • อาหารเสริมที่มีการเติมธาตุเหล็ก (ดูที่ฉลาก)

ลูกน้อยจะดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้นหากกินอาหารอุดมวิตามินซีด้วย ดังนั้นควรให้ลูกกินผลไม้ เช่น ส้ม มะละกอ หรือน้ำผลไม้ด้วย

3. วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 จะช่วยให้ลูกทารกสร้างเม็ดเลือดแดงและมีระบบประสาทที่สมบูรณ์ใช้พลังงานจากอาหารที่กินเข้าไป นำกรดโฟลิกซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญไปใช้งานอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินบี 12 ชั้นดีได้แก่

  • อาหารเสริมที่มีการเติมวิตามินบี 12 (ดูที่ฉลาก)
  • ไข่สุก
  • นมและผลิตภัณฑ์นม

นมแม่และนมผสมต่างก็เป็นแหล่งวิตามินบี 12 เช่นกัน ดังนั้นลูกทารกควรได้รับนมแม่หรือนมผสมไปจนอายุครบ 1 ขวบเป็นอย่างน้อย แต่ Amarin Baby & Kids อยากแนะนำว่า ถ้าทำได้ควรให้นมแม่ไปจนลูกอายุ 1 ขวบครึ่งหรือ 2 ขวบเลยยิ่งดีค่ะ

4. ซีลีเนียม

ทารกจำเป็นต้องได้รับซีลีเนียมเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้ดี ถั่วเปลือกแข็งเป็นแหล่งซีลีเนียมที่ดี สามารถลองให้เนยที่ทำจากถั่วเปลือกแข็งกับลูกดูได้ เช่น อัลมอนด์บัตเตอร์ เชียบัตเตอร์ ถ้ากลัวลูกแพ้ให้ปรึกษากุมารแพทย์เสียก่อน ไม่ควรให้ถั่วทั้งเมล็ดกับทารกและเด็กต่ำกว่า 5 ขวบเพราะจะทำให้ติดคอจนสำลักได้ แหล่งซีลีเนียมอื่นได้แก่ ขนมปัง ไข่ และเมล็ดทานตะวัน

ทั้งนี้แม้ ธัญพืช จะให้พลังงานสูง และมีเส้นใย ช่วยในการควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือด มีวิตามินบี และมีส่วนช่วยในความจำ รวมไปถึงช่วยบำรุงสมองของเด็กก็ตาม แต่หากได้รับในปริมาณหรือช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้ประโยชน์เหล่านี้กลายเป็นโทษร้ายแรงไปในที่สุด ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ หากคุณพ่อคุณแม่มีปัญหาเรื่องการกินหรือสุขภาพของลูกน้อย ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดีกว่า มาตัดสินใจเองจนทำให้เกิดเรื่องร้ายขึ้นได้แบบนี้นะคะ

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up