น้ำนมไหลมาเทมา

วิธีเพิ่มน้ำนม 5 STEPS! เรียกน้ำนมง่ายๆ เพื่อลูกน้อย

event
น้ำนมไหลมาเทมา
น้ำนมไหลมาเทมา

วิธีเพิ่มน้ำนม

STEP 5 : ปรับร่างกายตามกลไล “อุปสงค์-อุปทาน”

คนสมัยก่อนไม่มีเครื่องปั๊มนมช่วย เมื่อเอาลูกเข้าเต้า ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมได้น้อยตามปริมาณที่ลูกกิน แต่สมัยนี้คุณแม่สามารถใช้เครื่องปั๊มนมหลอกร่างกายได้ว่า คุณแม่มีลูกมากกว่า 1 คนและต้องการน้ำนมเพิ่มมากกว่านี้ เมื่อลูกกินอิ่มแล้ว คุณแม่จึงควรใช้เครื่องปั๊มนม ช่วยปั๊มน้ำนมออกมาเก็บไว้อีกทุกชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพไปตามกลไกอุปสงค์-อุปทาน คือ เมื่อปั๊มออกมามาก หมายความว่าเราต้องการน้ำนมมาก ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมออกมามากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้กระเพาะเด็กน้อยเล็กแค่ 5 ซีซี หรือขนาดเท่าลูกเชอร์รี่เท่านั้น ดูดนมนิดเดียวก็เต็มกระเพาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ย่อยเร็วหิวเร็วด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าเขาต้องกินนมบ่อย ๆ แล้วกระเพาะเด็กก็จะค่อย ๆ ขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ จนขนาดเท่าไข่ไก่ตอนอายุประมาณ 1 เดือน ระยะเวลาที่ให้นมก็จะค่อย ๆ ห่างกันออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ

4 ปัจจัย เพิ่มความเสี่ยงน้ำนมเหือดหาย

ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้น้ำนมของคุณแม่มีโอกาสเหือดแห้งลดน้อยลงหรือท่อน้ำนมเกิดการอุดตันได้ ลองมาสำรวจกันเลยค่ะ

  • ยาบางชนิด เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ หรือวิตามินบางตัว
  • ไม่ระบายน้ำนมออกตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีรสหวานหรือมัน มากจนเกินไป
  • สวมใส่ชุดชั้นในที่รัดแน่นจนเกินไป

หากคุณแม่สำรวจแล้วพบว่า ตัวเองมีพฤติกรรมซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงตามนี้ได้ ก็เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองใหม่ ให้นมลูกหรือปั๊มนมออกให้เป็นเวลา รับประทานอาหารมีประโยชน์และหลากหลาย สวมใส่ชุดชั้นในที่เหมาะสมกับสรีระของคุณแม่หลังคลอด และกินยาตามคำแนะนำของคุณหมอเท่านั้น เพียงเท่านี้น้ำนมของคุณแม่ก็จะไม่แห้งหายไปอย่างแน่นอน แต่หากคุณแม่ท่านใดเริ่มมีน้ำนมน้อยแล้ว สามารถปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญในคลินิกนมแม่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ ซึ่งคุณหมอก็จะคำแนะนำหรือวิธีให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับอาการ เช่น ให้ยาเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่ไม่มีโรคประจำตัว นวดเปิดท่อน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่ท่อน้ำนมอุดตัน หรือช่วยกรีดหัวนม (อาจฟังดูน่ากลัว แต่คุณหมอยืนยันว่าไม่เจ็บอย่างที่คิด) สำหรับคุณแม่ที่หัวนมแตก ฯลฯ ขอเพียงคุณแม่เข้าไปปรึกษาคุณหมอสักนิด คุณหมอก็พร้อมจะช่วยเหลือและหาวิธีกู้น้ำนมกลับมาให้ลูกน้อยได้อย่างแน่นอนค่ะ

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูกน้อย

เคล็ดลับการจัดการสต๊อกนมแม่

จริงๆ ถ้าเป็นคุณแม่ทำงานนอกบ้านไม่ต้องกังวลว่าลูกจะไม่กินนมสต๊อก ลูกกินแน่ๆ จะมากจะน้อยอย่างไรก็กิน ที่สต๊อกเก็บไว้อย่างไรก็หมด แต่เด็กบางคนจะกินนมสต๊อกในปริมาณที่น้อยเพราะเก็บท้องไว้รอดูดเต้าแม่ แม่ก็ชะล่าใจเอานมไปบริจาค ซึ่งจริงๆหมอไม่แนะนำนะคะ เพราะอาจจะมีโรคไวรัสอะไรบางอย่างที่ส่งผ่านนมแม่ได้ สำหรับเด็กที่ผ่านการฝึกกินนมสต๊อกมา เมื่อถึงเวลาที่ลูกเลิกเต้าแล้ว เขาก็จะกินนมสต๊อกมากขึ้นแน่นอน คุณแม่ก็ไม่ต้องควักเงินซื้อนมกล่องให้ลูกกิน ก็ช่วยให้ประหยัดเงินได้เยอะ

ประเด็นอยู่ที่เราต้องฝึกให้ลูกรู้จักนมสต๊อกไว้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากนมที่เราเก็บสต๊อกไว้ได้อย่างเต็มที่ วิธีการฝึกลูกกินนมสต๊อกที่หมอแนะนำคือ เมื่อลูกอายุครบ 1 เดือน ต้องฝึกให้เขาเจอขวดวันละครั้ง โดยคุณแม่ย้ายนมจากช่องฟรีซลงมาตั้งแต่กลางคืนให้ละลายในตู้เย็น ถ้าเราไม่ได้เก็บถุงหนามาก วันรุ่งขึ้นก็ละลายแล้ว แล้วก็เทจากถุงใส่ขวด และใช้จุกเบอร์ S เท่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนขนาดเลยนะคะ

ที่สำคัญเวลาที่ป้อนนมอย่าถือขวดแบบตั้งฉากเพราะว่านมจะไหลเร็ว ให้ถือขวดแนวราบ นมจะได้ไหลช้าๆหมดช้าๆ แต่ทีนี้ทั้งนมและลมจะเข้าท้องลูกด้วย ไม่เป็นไรเพราะเราจะมีการจับเรอทุกออนซ์ คือครั้งหนึ่งเราให้นมประมาณ 3 ออนซ์ ครบ 1 ออนซ์ปุ๊บเอาขวดออก อุ้มลูกเดินรอบบ้านให้เขาเรอ ป้อนออนซ์ที่ 2 แล้วก็อุ้มให้เรอ ป้อนออนซ์ที่ 3 แล้วก็อุ้มให้เรอ ใช้เวลาในการหมดขวดประมาณ 20 นาที

แต่ถ้าเทียบกับการป้อนแนวตั้งฉาก แค่ 3 นาทีหมดแล้ว 3 ออนซ์ พุงใหญ่แล้ว แต่ปากยังขมุบขมุบอยู่ แบบนี้ก็ทำให้คุณแม่คิดว่าลูกยังไม่อิ่ม ต้องเอานมมาเพิ่มอีก ทีนี้ก็เยอะเกิน เด็กก็อาเจียนออกมาเพราะว่าความอยากดูดกับความอิ่มมันไม่แมทซ์กัน เพราะฉะนั้นก็คือต้องให้ช้าๆ พอกินครบ 3 ออนซ์ ต้องอยู่ได้ 3 ชั่วโมง จำสูตร ชั่วโมงละ 1 ออนซ์ใช้สูตรนี้ตลอด ตั้งแต่ 1 เดือนจนถึงโตเลยค่ะ ถ้ากินจากขวดนะคะ แต่ถ้ากินจากเต้าก็บุฟเฟต์เลยค่ะสำหรับเด็กแรกเกิด แต่พอเริ่มโตก็ฝึกให้กินเป็นเวลา ไม่ใช่ขอกินทุกชั่วโมง เพราะจะทำให้เด็กติดนมแม่งอมแงม ต้องดึงให้ได้ประมาณ 3 ชั่วโมง/ครั้ง นี่คือสูตรสำหรับเด็กที่โตขึ้น

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up