ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง

ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง ให้ทำไรก็ไม่ทำ พบ 9 วิธีสยบความดื้อ

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง
ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง

ปิดบทสนทนา

เด็กหลาย ๆ คนเถียง ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง ไม่ยอมที่จะทำตาม เพราะคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่เปิดทางให้พวกเขาได้พูดนั่นเองค่ะ ดร. ริชาร์ด กล่าวว่า เด็กส่วนใหญ่เถียงเพราะพ่อแม่เปิดช่องว่างให้ ยกตัวอย่างเช่น หากถึงเวลานอนแล้วลูกไม่ยอมนอน พอคุณบอกพวกเขาก็เถียงเสียงดังว่า ยังไม่ง่วง ไม่นอน! สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำทันทีเลยก็คือ ปิดบทสนทนานั้นด้วยการพูดว่า “แม่เป็นแม่ของลูก และแม่ก็บอกให้นอน” แค่ประโยคสั้น ๆ เท่านี้จะช่วยให้ลูกทำทันที โดยไม่พูดอะไรตามมาอีก

นิ่งสยบความเคลื่อนไหว

ความเงียบมักจะทำให้คู่สนทนาด้วยกลัวเสมอ ดังนั้น แทนที่คุณจะไปตะโกน ไปดุลูกให้ทำนู่นทำนี่ซ้ำไปซ้ำมาละก็ เปลี่ยนเลยค่ะ เปลี่ยนมาเป็นเงียบทันที หากพบว่าลูกยังไม่ทำ พร้อมกับเดินไปจากตรงนั้นโดยไม่พูดอะไร แรก ๆ ลูกอาจจะยังไม่รู้ตัว แต่พอเวลาผ่านไปไม่นาน พอเขาอยากได้ความช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ คุณก็อาจจะแกล้งทำเป็นไม่ได้ยินบ้าง สักครั้งนึง แล้วลูกจะรู้สึกตัวเองค่ะว่า ที่คุณไม่พูดกับเขานั้น ต้องมีอะไรผิดปกติแน่นอน แล้วเขาก็จะฉุกคิดขึ้นมาได้ทันทีเลยว่า อ่อ! ที่คุณไม่พูดคุยไม่ตอบสนองเขา เพราะคุณโกรธที่เขาไม่ยอมทำในสิ่งที่คุณบอกนั่นเอง

ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง

ใช้เหตุและผล

ไม่มีเด็กคนไหนหรอกค่ะ ที่อยากจะเป็นเด็กดื้อหรือเด็กไม่ดีในสายตาของคุณพ่อคุณแม่ แต่บ่อยครั้งที่เราจะพบว่า เด็กส่วนใหญ่ที่ไม่ทำเพราะปราศจากความเข้าใจว่า ถ้าพวกเขาไม่ทำในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่บอกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องอธิบายเหตุผลที่มาที่ไปให้ลูกได้เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณพ่อคุณแม่พยายามบอกให้ลูกเก็บขวดน้ำที่วางอยู่บนพื้นให้ดี ลูกหรือแม้แต่คุณพ่อคุณแม่เองก็อาจจะเผลอไปเหยียบจนทำให้ลื่นหกล้มได้ แล้วก็อันตรายเป็นอย่างมากหากล้มแล้วศีรษะไปโขกกับพื้นหรือสิ่งของแข็ง ๆ เข้า

ให้ตัวเลือก

หากคุณพ่อคุณแม่หยิบของให้ลูกโดยการใช้การตัดสินใจของตัวเองเป็นหลัก คุณพ่อคุณแม่คิดว่าลูกจะทำตามไหมละคะ ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปเลือกซื้อของ แทนที่เราจะเป็นฝ่ายบอกว่า “พ่อ/แม่ เอาตัวนี้นะ” ปรากฎลูกเงียบไม่ตอบ พอถามอีกก็ไม่ตอบอีก หากเจอเหตุการณ์แบบนี้ละก็ บอกลูกเลยค่ะว่า “ลูกคิดว่าตัวไหนสวย ไปหยิบมาดูตัวนึง” เท่านี้ลูกก็จะรีบวิ่งไปค้นหาสิ่งของที่พวกเขาต้องการทันที แถมไปอย่างง่ายดายอีกด้วย

ให้คำแนะนำ

เด็กส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ตัวเราเอง ไม่ชอบให้ใครมาตะคอกใส่หรอกใช่ไหมคะ ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้แทนที่การตะคอกก็คือ การให้คำแนะนำที่ดีกับลูกนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ลูกไปจับของเล่นชิ้นนึงแรงๆ และไม่ถูก แทนที่เราจะบอกว่า “หยุด!! อย่าทำแบบนี้!” ก็ให้เปลี่ยนเป็น “ลองจับแบบนี้แทนสิลูก เขาเล่นหรือจับกันแบบนี้นะ” เป็นต้น

วิธีที่กล่าวมาทั้งหมด อาจจะค่อนข้างยาก เพราะส่วนใหญ่อารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ก็มักจะขึ้นก่อน ดังนั้น ค่อย ๆ ค่ะ หากรู้ว่าตัวเองกำลังร้อน ให้สูดหายใจเข้าไปในปอดก่อนทีหนึง สูดหายใจลึก ๆ แล้วค่อยพูดกับลูกดี ๆ เท่านี้ละค่ะ คุณพ่อคุณแม่จะเห็นเลยว่า การพูดหรือให้คำแนะนำกับลูกดี ๆ ลูกจะยอมทำทันที โดยที่เราไม่ต้องบ่นให้ปากเปียกปากแฉะเลย เท่านี้ปัญหา ลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง ก็หมดไปอย่างง่ายดายแล้วละค่ะ

ขอบคุณที่มา: Parents

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up