เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ

9 วิธี เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ บอกเลยทำง่ายไม่ยาก

Alternative Textaccount_circle
event
เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ
เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ

เลี้ยงลูกให้ได้ดี

7.พ่อแม่พัฒนาสัมพันธภาพที่ดีกับลูกตั้งแต่วัยเล็ก ข้อนี้คงต้องอาศัยความสัมพันธ์ ความรัก และความใส่ใจ จากคุณพ่อคุณแม่มากกว่า มีการศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รับความเอาใจใส่ใกล้ชิดจากพ่อแม่ในช่วงอายุ 3 ปีแรกที่ได้ลืมตาดูโลก จะมีความสามารถในการทำข้อสอบได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพ่อแม่ นอกจากนี้ พวกเขายังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และประสบความสำเร็จทางการศึกษาที่ดีกว่าเมื่อพวกเขามีอายุได้ประมาณ 30 ปีอีกด้วย

8.พ่อแม่มีความเครียดน้อยกว่า บริจิด ชูลต์ที นักเขียนของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ อ้างงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า เราอย่าไปนับจำนวนชั่วโมงที่พ่อแม่หรือที่แม่อยู่กับลูก สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ใช้เวลาอย่างไรต่างหาก ถ้าพ่อแม่อยู่กับลูกทั้งวัน แต่อยู่ด้วยความเครียด เข้มงวดกวดขันดุด่ามากไป มันก็จะกลายเป็นการใช้เวลาที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร พ่อแม่ที่ฉลาดและเลี้ยงลูกเป็นต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สูง ไม่เครียดเกินไปในการเลี้ยงและดูแลลูก จึงจะได้ลูกที่มีสุขภาพจิตดีและมีสติปํญญาที่ดี สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี เข้าสังคมกับผู้อื่นได้ไม่มีปัญหา และทำงานได้ประสบความสำเร็จตามสมควร

9.พ่อแม่ที่มีขอบเขตจำกัดหรือผ่อนผันทางด้านความคิดธิบายได้ว่า พ่อแม่มีวิธีคิดที่มีผลกระทบต่อวิธีคิดและพฤติกรรมของลูก เช่น ลูกจะต้องได้เรียนกับครูคนนั้น หรือเรียนที่โรงเรียนนั้น ๆ แบบนี้เรียกว่ามีวิธีคิดที่จำกัด และเมื่อไรก็ตามที่ไม่สามารถได้เงื่อนไขตามที่ต้องการ พ่อแม่ที่มีความคิดจำกัดแบบนี้ก็จะคิดว่า “ถ้าไม่ได้ตามนี้ เป็นอันว่าหมดหวัง ไม่มีทางดิ้นแล้ว” ซึ่งจะมีผลให้ลูกติดอยู่กับข้อจำกัดต่าง ๆ เหล่านั้นไปด้วย ผิดกับพ่อแม่ที่มีความผิดที่ยืดหยุ่น ปรับวิธีคิดให้ยืดขยายหรือเปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์ แบบนี้มันก็เห็นหนทางในการก้าวข้ามหรือแก้ปัญหา หรือลดข้อจำกัดไปได้ พ่อแม่ที่คิดแบบนี้ก็จะหาหนทางใหม่ ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา ลูกก็มักจะได้รับอานิสงส์แบบนี้ด้วย ทำให้เขาคิดต่อยอดเก่ง ไม่สิ้นหนทางง่าย ๆ ทัศนะคติแบบนี้จะส่งเสริมให้ตนเราหาทางไขว่คว้าความสำเร็จมาอยู่ในมือจนได้

ไม่ว่าจะเป็นข้อไหนก็แล้วแต่ หากแต่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจ รับฟังความคิดเห็นและไม่กีดกันความคิดเห็นของลูก เท่านี้การ เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ นั้นก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วละค่ะ

ขอบคุณที่มา: krunoynews

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up